ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๑๐๑:
ทวิภาวสนธิ /ปทวากยทวิตตะ / อภิกขัญญะ
เมื่อคราวที่แล้วแสดงอรรถวิจฉาจบไป
บัดนี้จะแสดงเหตุให้ใช้คำซ้ำลำดับที่ ๒ คือ เมื่อต้องการแสดงความหมายว่า อภิกขัญญะ
คือ กิริยาการทำซ้ำๆ สามารถซ้อนคำนั้นเป็นสองคำได้
ดังสูตรนี้ว่า
หลักการ :
สูตรกำกับวิธีการ
๕๕.
วิจฺฉาภิกฺขญฺเญสุ เทฺว.
ทำบทซ้ำ
ในอรรถวิจฉา (แผ่ไป) และ อภิกขัญญะ (การทำบ่อย, ซ้ำๆ)
หลักเกณฑ์ : ข้อกำหนดของสูตรและคำอธิบายโดยสังเขป
สูตรนี้ใช้ครอบคลุมหลักการสองอย่าง
กล่าวคือ วิจฉา และอภิกขัญญะ ที่จะแสดงต่อไปนี้. อรรถวิจฉา ได้กล่าวไปแล้ว
ในที่นี้จะได้กล่าวอรรถอภิกขัญญะ ต่อไป
คำว่า อภิกขัญญะ
คือ การกระทำซ้ำๆ.
หลักการใช้ : อุทาหรณ์ของสูตร
ภตฺตํ ปจติ ปจติ
ย่อมหุงข้าวซ้ำซาก.
อปุญฺญํ ปสวติ
ปสวติ
ย่อมประสบบาป
แล้วๆเล่าๆ.
ภุตฺวา ภุตฺวา นิปฺปชฺชนฺติ
เอาแต่กินแล้วก็นอน
กินแล้วก็นอน.
ปฏํ ปฏํ กโรติ,
ส่งเสียง ปฏะ
ปฏะ ซ้ำๆ
ข้อสงสัย
บทวิจฉา ที่เห็นมักจะเขียนแยกกัน แต่จะเขียนติดกันได้ไหม
ตอบ ได้
มีตัวอย่างที่ท่านยกมาให้ดูดังนี้.
ปฏปฏายติ ย่อมประพฤติปฏะปฏะ
(เปล่งเสียงปฏะๆ)
เอกเมกํ (ทำ) อย่างเดียวอยู่นั่นแหละ
เอกเมกานิ ทำหลายอย่างอยู่นั่นแหละ
นอกจากนี้ในรูปเหล่านี้
มีการลบสิวิภัตติเป็นต้นที่บทต้นในวิจฉาเหล่านี้ กล่าวคือ แทนที่จะเป็นรูปว่า ปฏํ
ปฏํ อายติ หรือ เอกํ เอกํ (กโรติ) เอกานิ เอกานิ กลับเขียนเป็น ปฏปฏายติ, เอกเมกํ,
เอกเมกานิ โดยลบวิภัตติที่บทหน้านั่นเอง
เห็นจะจบอรรถวิจฉาและอภิกขัญญะไว้เพียงเท่านี้
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น