วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๙๕ : ทวิภาวสนธิ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๕ : ทวิภาวสนธิ


ฐานะอันควรซ้อนได้ ลำดับที่ ๓
๓) พยัญชนะต้นของบทที่มี อุ, ทุ และนิอุปสัคเป็นบทหน้า  เป็นตัวซ้อน
๓.๑ พยัญชนะต้นของธาตุที่มี อุ เป็นบทหน้า เช่น
อุกฺกํสติ, ย่อมยกย่อง
อุกฺกํโส, การยกย่อง
อุคฺคโห, การยกขึ้น, การเล่าเรียน
อุจฺจาเรติ, ย่อมออกเสียง
อุจฺจาโร, การออกเสียง
อุจฺจโย, สะสม
สมุจฺจโย, สะสม
อุชฺชโล, โชติช่วง
สมุชฺชโล, โชติช่วงขึ้น
อุณฺณมติ, ย่อมฟูขึ้น
อุตฺตรติ ย่อมข้าม

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๙๔ : ทวิภาวสนธิ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๔ : ทวิภาวสนธิ

ฐานะอันควรซ้อนได้ ลำดับที่ ๒
๒) พยัญชนะต้นของธาตุเหล่านี้ คือ กี กุธ, กมุ, กุส, คห, ชุต, ญา, สิ, สุ, สมฺภุ, สร, สส  -
๒.๑ กีธาตุ เช่น
วิกฺกินาติ =  ย่อมขาย
วิกฺกโย =การซื้อขาย
ธนกฺกีโต = ผู้ที่ถูกซื้อมาด้วยทรัพย์