วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๙๑ ห อาคม

ครั้งที่ ๙๑  : พยัญชนอาคม : การลง ส และ ห อาคม
คัมภีร์นิรุตติทีปนีแสดงการลง ส และ ห เป็นพยัญชนอาคมไว้ด้วยหลักการของมหาสูตร ว่า
๑. ส เป็นอาคม ลงท้าย มน ศัพท์เป็นต้น
๒. ห เป็นอาคม จะลงหน้าสระ โดยมาก
ดูนิรุตติทีปนีตามลิงค์นี้
 http://niruttitepanee.blogspot.com/2016/06/blog-post_27.html
ส อาคม มีตัวอย่างการใช้ดังนี้
มนสิกาโร = มน + อิ (สฺมิํ วิภัตติ) + กาโร
กระทำไว้ในใจ

มานสิโก = มน + ณิก + อิก
ธรรมอันมีในใจ

เจตสิโก = เจต + ณิก
เจตสิก (ธรรมมีในจิต)

อพฺยคฺคมนโส นโร = อพฺยคฺคมน  + โอ (สิวิภัตติ)
มีจิตปราศจากความลังเลสงสัย

ปุตฺโต ชาโต อเจตโส = อเจต + โอ (สิวิภัตติ))
พระราชบุตรเป็นเหมือนกับคนไม่มีจิต

อุเร ภโว โอรโส = อุร + ณ + โอ (สิวิภัตติ)
บุตรผู้มีในอุระ ชื่อว่า โอรส

*******

ห อาคม มีตัวอย่างการใช้ดังต่อไปนี้

มา เหวํ อานนฺท = มา + เอวํ
ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้

โน เหตํ ภนฺเต = โน + เอตํ + ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เป็นอย่างนั้น

โน หิทํ โภ โคตม = โน +อิทํ โภ โคตม
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่เป็นอย่างนี้

น เหวํ วตฺตพฺเพ = ห + เอวํ  วตฺตพฺเพ
ไม่พึงกล่าวอย่างนี้

เหวํ วตฺตพฺเพ = เอวํ วตฺตพฺเพ
พึงกล่าวอย่างนี้

เหวํ วทติ = เอวํ วทติ
ย่อมกล่าวอย่างนี้

อุชู จ สุหุชู จ = อุชู จ สุ  + อุชู จ
ตรงด้วย ตรงด้วยดี ด้วย

สุหุฏฺฐิตํ สุขโณ = สุ + อุฏฺฐิตํ สุขโณ
การลุกขึ้นด้วยดี, ขณะที่ดี

เป็นอันจบวิธีการลงพยัญชนอาคมไว้เพียงเท่านี้
สรุปว่า การลงพยัญชนะเป็นอาคมเท่าที่กล่าวไว้ในคัมภีร์นิรุตติทีปนีมีทั้งหมด คือ
, , , , ค, ย, ท
ด้วยสูตร  วนตรคา จาคมา ในเพราะสระเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, , , , ค และ ย ท เป็นอักษรอาคม.
ด้วยสูตร ฉา โฬ ลง ฬ อาคมท้าย ฉ (๖) ในเพราะสระหลัง
ส และ ห ด้วยมหาสูตร คือ ไม่มีสูตรลงเฉพาะแต่สำเร็จรูปโดยอาศัยแนวทางพระบาฬี

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช



[1] [ที. นิ. ๒.๙๕]
[2] [ที. นิ. ๑.๑๘๕-๑๘๖]
[3] [ที. นิ. ๑.๒๖๓]
[4] [กถา. ๑]
[5] [ขุ. ปา. ๙.๑]