วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๙๓ : ทวิภาวสนธิ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๓ : ทวิภาวสนธิ    

ทวิภาวสนธิ คือ การเชื่อมสนธิโดยการทำอักษรให้เป็นสองตัว. ทวิภาวะ คือ การมีพยัญชนะ ๒ สองตัวอยู่ติดกัน โดยไม่มีสระอยู่ระหว่างเรียกว่า สังโยค ดังนั้น การเข้าสนธิโดยวิธีการเช่นนี้ เรียกว่า สัญโญคะ ก็มี ดังนั้น คำว่า ซ้อน เป็นคำแปลของคำว่า ทวิภาวะ โดยอรรถ ส่วนคำแปลว่า ความเป็นอักษรสองตัว จึงเป็นคำแปลโดยพยัญชนะ.
สรุป จะเรียกว่า ซ้อน ก็ได้ เรียกวา ทวิภาวะ  ก็ได้ ไม่ผิด แต่ในที่นี้จะเรียกว่า ซ้อน. พึงทราบว่า การซ้อน หรือ ทวิภาวะ  ได้แก่การนำพยัญชนะวางไว้ข้างหน้าพยัญชนะตัวเดิมนั่นเอง.
โดยทั่้วไปการซ้อน จะมีทั้งการซ้อนพยัญชนะ พยัญชนทวิตตะ ซ้อนบทมีวิภัตติ วิภัตตยันตทวิตตะ และซ้อนธาตุ ธาตุปททวิตตะ ดัง คัมภีร์นิรุตติทีปนี แสดงไว้ว่า