ปาริชุญฺญ ความเสื่อม ๔ ประการ

ญาติปาริชุญฺญํ = ญาติ + ปาริชุญฺญํ
ปาริชุญญํ ศัพท์เดิมมาจาก ปริ + ชิน เสื่อม+ ณฺย (ภาวสาธนะ หรือ ภาวตัทธิต ตามควรแก่มติของพระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์) เมื่อลง ณฺย ปัจจัยท้าย ปริชิน. (ปริชิน หมายถึง ปริหาน แปลว่า ผู้เสื่อม คือ เป็นผู้หมดสิ้นแล้ว) ได้รูปเป็น ปาริชินย แปลง น เป็น ญฺ = ปาริชิญฺย ด้วยมหาสูตร (ดูวิธีการได้ในครั้งที่ ๔๙)  แปลง ย เป็น ญ ปุพพรูป เป็น ปาริชิญฺญ, ลง อุ อาคม ระหว่าง ปาริชิ และ ญฺญ ลบ อิ ข้างหน้า สำเร็จรูปเป็น ปาริชุญฺญ  แปลว่า ภาวะแห่งผู้เสื่อมจากญาติ ได้แก่  ความเสื่อมญาติ นั่นเอง

ปาริชุญฺญ มาในพระบาฬีรัฐปาลสูตร มัชฌิมปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย
๓๐๔. ‘‘จตฺตาริมานิ, โภ รฏฺฐปาล, ปาริชุญฺญานิ เยหิ ปาริชุญฺญานิ สมนฺนาคตา อิเธกจฺเจ เกสมสฺสุํ โอหาเรตฺวา กาสายานิ วตฺถานิ อจฺฉาเทตฺวา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชนฺติฯ กตมานิ จตฺตาริ? ชราปาริชุญฺญานิ, พฺยาธิปาริชุญฺญานิ, โภคปาริชุญฺญานิ, ญาติปาริชุญฺญานิ ฯ (ป)

[๓๐๔]      “พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวกในโลกนี้ประสบเข้าแล้ว ย่อมโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ความเสื่อม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเสื่อมเพราะชรา .ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้ ๓.ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติ          .ความเสื่อมจากญาติ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น