วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๑๐๐ : ทวิภาวสนธิ / ปทวากยทวิตตะ / วิจฉา

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๑๐๐ : ทวิภาวสนธิ / ปทวากยทวิตตะ / วิจฉา
          เมื่อคราวที่แล้วมา แสดงวิจฉา ในความหมายว่า แผ่หรือกระจายในสิ่งหลายสิ่งจนทั่วทุกสิ่ง โดยใช้กิริยาเป็นต้น.
          คัมภีร์นิรุตติทีปนี ยังแสดงวิจฉา โดยมีความหมายว่า อานุปุพพิยะ คือ มีโดยลำดับอีกด้วย หมายความว่า นอกจากจะแผ่ไปทุกๆส่วนแล้ว การแผ่ไปนั้นยังมีความเป็นไปตามลำดับอีกด้วย.
          ตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้มีดังนี้

มูเล มูเล ถูลา
อ้วนที่โคนตามลำดับ

อคฺเค อคฺเค สุขุมา
ละเอียดบนยอดตามลำดับ

เชฏฺฐํ เชฏฺฐํ อนุปเวเสถ
เข้าไปตามลำดับคนโต

อิเมสํ เทวสิกํ มาสกํ มาสกํ เทหิ
จงให้แก่ชนเหล่านี้ทุกวันทุกเดือน

มญฺชูสกรุกฺโข ปุปฺผํ ปุปฺผํ ปุปฺผติ
ต้นมัญชูสก (ชื่อต้นไม้สวรรค์ชนิดหนึ่ง มีกลิ่นหอม) ผลิดอกไปตามลำดับ

อิเม ชนา ปถํ ปถํ อจฺเจนฺติ,
ชนเหล่านี้ ย่อมไปตามลำดับหนทาง

สพฺเพ อิเม อฑฺฒา,  กตรา กตรา อิเมสํ อฑฺฒตา, กตมา กตมา อิเมสํ อฑฺฒตา.
ชนเหล่านี้ทั้งหมดเป็นคนรวย, ความร่ำรวยของชนเหล่านี้ เป็นอย่างไรๆ, ความมั่งคั่ง ของชนเหล่านี้ เหล่าไหนๆ (หมายถึง ร่ำรวยโดยลำดับอย่างไร, ทรัพย์สมบัติเหล่าไหนๆ ที่เรียงตามลำดับ)

นี้เป็นอุทาหรณ์ที่ท่านแสดงไว้ในคัมภีร์นั้น ควรสดับไว้เป็นเครื่องประดับสติปัญญา
----------------
ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๙๙ : ทวิภาวสนธิ ปทวากยทวิตตะ / วิจฉา (๑)

การใช้บทซ้ำ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๙ : ทวิภาวสนธิ ปทวากยทวิตตะ / วิจฉา (๑) 

*** ดูคัมภีร์นิรุตติทีปนี แปล ***
http://niruttitepanee.blogspot.com/2016/05/blog-post_37.html


ในภาษาบาฬีมิได้จำกัดเฉพาะพยัญชนะเท่านั้น แม้บทและประโยค ก็สามารถนำมาซ้อนเพื่อแสดงความประสงค์ต่างๆของผู้กล่าว ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การซ้อน มี ๓ ชนิด. คือ
๑. ซ้อนพยัญชนะ เช่น
ปกฺกโม พากเพียร
ปรกฺกโม บากบั่น.