วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๘๗. ย อาคม

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๘๗  : พยัญชนอาคม : การลง ย อาคม

ย อาคม มีหลักการใช้ตามข้อกำหนดของสูตร ว่า
๕๐ วนตรคา จาคมา
เพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, น, ต, ร, ค (กลุ่มหนึ่ง), และ ย ท (อีกกลุ่มหนึ่ง) เป็นอักษรอาคม. 
(ดูสูตรในคัมภีร์นิรุตติทีปนี http://niruttitepanee.blogspot.com/2016/05/blog-post_17.html )

ตัวอย่างการใช้ย อาคมตามที่คัมภีร์นิรุตติทีปนียกมาแสดงประกอบในสูตรนั้น ดังต่อไปนี้

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๘๖. ม อาคม

โม
ลง ม เป็นอาคม

ลหุเมสฺสติ[1], ครุเมสฺสติ, มคฺคมตฺถิ[2], อคฺคมกฺขายติ[3], อุรคามิว[4], อรหตามิว [5] อิจฺจาทีนิฯ
ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ลหุเมสฺสติ
ลหุ + เอสฺสติ
จักถึง ช้า
ครุเมสฺสติ,
ครุ + เอสฺสติ
จักถึง เร็ว
มคฺคมตฺถิ
มคฺโค + อตฺถิ
หนทาง มีอยู่
อคฺคมกฺขายติ
อคฺโค + อกฺขายติ
อันเรา ย่อมกล่าวว่าเป็นเลิศ
อุรคามิว
อุรคา + อิว
เหมือนงู
อรหตามิว  อิจฺจาทีนิฯ
อรหตา + อิว
ดังพระอรหันต์

ตถา เกน เต อิธ มิชฺฌติ[6], รูปานิ มนุปสฺสติ[7], อากาเส มภิปูชเย, อญฺญมญฺญสฺส[8], เอกเมกสฺส[9], สมณมจโล, อทุกฺขมสุขา เวทนา[10] อิจฺจาทิฯ
แม้ตัวอย่างเหล่านี้ ก็ลง ม อาคมเหมือนกัน

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๘๕ : น อาคม

โน
น เป็น พยัญชนอาคม

อิโต นายติ, จิรํ นายติ, กมฺเม สาธุ กมฺมนิยํ กมฺมญฺญํ, อตฺตโน อิทํ อตฺตนิยํ, อทฺธานํ ขมตีติ อทฺธนิยํ, โลภสฺส หิตํ โลภนิยํ โลภเนยฺยํ, โทสนิยํ โทสเนยฺยํ, โมหนิยํ โมหเนยฺยํ, โอฆนิยํ, โยคนิยํ, คนฺถนิยํ, นิทฺธุนนํ นิทฺธุนนโก, สญฺชานนํ, สญฺชานนโก, สญฺญาปนโก อิจฺจาทิฯ

๘๔. : ท อาคม

โท
ท เป็น พยัญชนอาคม

อุทคฺโค, อุทพฺพหิ, อุทปาทิ, อุทโย, อุทาหโฏ, อุทิโต, อุทีริโต, ทุภโต วุฏฺฐานํ[1], ทุภยานิ วิเจยฺย ปณฺฑรานิ[2], โตเทยฺยกปฺปา ทุภโย[3]เทฺว อิสโยติ อตฺโถฯ กิญฺจิเทว, โกจิเทว, กิสฺมิญฺจิเทว, ยาวเทว, ตาวเทว, วลุตฺเต-ยาวเท, ตาวเทติ สิทฺธํ, ปุนเทว, สกิเทว, สมฺมเทว-ทาคเม รสฺโส, สมฺมทกฺขาโต[4],   สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต[5], พหุเทว รตฺติํ[6], อหุเทว ภยํ [7] อิจฺจาทิฯ

๘๓. : ต อาคม

อาคม

อชฺชตคฺเค[1], ตสฺมาติห[2], กตโม นาม โส รุกฺโข, ยสฺส เตวํ คตํ ผลํ [3]-เตวนฺติ เอวํฯ
ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
อชฺชตคฺเค (๑)
อชฺช + ต + อคฺเค
วันนี้เป็นวันแรก, เริ่มแต่วันนี้เป็นต้นไป
ตสฺมาติห
ตสฺมา + ต + อิห
เพราะเหตุนั้น ในที่นี้
กตโม นาม โส รุกฺโข,
ยสฺส เตวํ คตํ ผลํ (๒)
เอ + ต + วํ (เอวํ+ต)
ต้นไม้ของท่านที่มีผลเป็นรูปอย่างนี้ พวกไหน
(แปลตามปาฐะปัจจุบ้นว่า “ดูก่อนท่านผู้เจริญ” ในที่นี้แปลตามปาฐะในคัมภีร์นี้)
คำว่า เตวํ คือ เอวํ เมื่อลง ต อาคม จึงเป็น เตวํ

(๑)อชฺชตคฺเค คัมภีร์อรรถกถาทั้งหลายกล่าวว่า มาจาก อชฺชตํ + อคฺเค แต่บางปาฐะเป็น อชฺชทคฺเค ในปาฐะนี้ตัดเป็น อชฺช + อคฺเค โดยลง ทอาคม (ม.มู.อ. ๑/๕๖ สัพพาสวสูตร-อุปาสกวิธิกถาวณฺณนา).

ม.มู.อ. ๑/๕๖ สัพพาสวสูตร - อุปาสกวิธิกถาวณฺณนา
ตสฺมา อชฺชตคฺเคติ อชฺชตํ อาทิํ กตฺวา, เอวเมตฺถ อตฺโถ เวทิตพฺโพฯ อชฺชตนฺติ อชฺชภาวํฯ อชฺชทคฺเคติ วา ปาโฐ, ท-กาโร ปทสนฺธิกโร, อชฺช อคฺคํ กตฺวาติ อตฺโถฯ

๘๒. พยัญชนอาคม : ค อาคม

๕๐. วนตรคา จาคมา
สเร ปเร ว น, , , คา จ ม, , ทา จ อาคมา โหนฺติฯ
๕๐ วนตรคา จาคมา
เพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, น, ต, ร, ค (กลุ่มหนึ่ง), และ ย ท (อีกกลุ่มหนึ่ง) เป็นอักษรอาคม.

โค, โต, โท, โน, โม, โย, โร, โว,
(สูตรนี้ มีพยัญชนะเหล่านี้ คือ)  ค ต ท น ม ย ร และ ว (เป็นอักษรอาคม)

ตตฺถ โค
อริเยหิ ปุถเควายํ ชโนติ ปุถุชฺชโน[1],อิธ ปน ปโคสทฺโท เอว, ปเคว วุตฺยสฺส, ปเคว มนุสฺสิตฺถิยาติ[2].
บรรดาพยัญชนอาคมเหล่านั้น  ค เป็นอักษรอาคม (ในตัวอย่างเหล่านี้)

๘๑ : โอ อาคม

โอ
(สระ) โอ เป็นอาคม

ปโรสตํ, สรโทสตํ, ทิโสทิสํ[1] อิจฺจาทิฯ
ตัวอย่าง

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ปโรสตํ,
ปร + โอ + สตํ
เกินกว่าร้อย
สรโทสตํ,
สรท + โอ + สตํ
เกินร้อยปี
ทิโสทิสํ
ทิส + โอ + ทิสํ
ทิศน้อยทิศใหญ่, (ความหมายคือ ทั่วทุกทิศ)


อติปฺปโค โข ตาว ปิณฺฑาย จริตุ[2]นฺติ เอตฺถ ปาโตตฺโถ ปโคสทฺโท เอวฯ
ในพระบาฬีนี้ อติปฺปโค โข ตาว ปิณฺฑาย จริตุํ “เช้าเกินไปที่จะไปบิณฑบาตร”. คำว่า ปโค มีความหมายว่า เช้า เท่านั้น

อิติ สราคมราสิฯ
กลุ่มศัพท์ที่มีการสนธิโดยลงสระเป็นอาคม อย่างนี้


ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๘๑  : การลง โอ อาคม
การลงสระ โอ เป็นอักษรอาคม เป็นอาคมตัวสุดท้ายในสระอาคม ซึ่งการลง โออาคม นี้สามารถทำได้ด้วยมหาสูตรเช่นกัน ตัวอย่างเช่น
ปโรสตํ เกินร้อย ...  =  ปร (อติเรก) เกิน + สตํ ร้อย
ปร เกิน สตํ ซึ่งร้อย ชื่อว่า ปรสตํ เมื่อควรจะกล่าว ปรสตํ ก็ลง โอ อาคม เป็น ปโรสตํ

สรโทสตํ  เกินร้อยปี =  สรท ปี + สตํ ร้อย

ทิโสทิสํ ทิศน้อยทิศใหญ่, ทิศนั้น ฯลฯ = ทิส + ทิส
ทิโสทิสํ ตัดบทเป็น ทิส ทิส แล้วลงโออาคม เช่นกัน โดยเป็นบทสมาส สามารถกระจายศัพท์ตั้งวิเคราะห์เป็นสมาสชนิดต่างๆ โดยให้สอดคล้องกับความหมายที่ต้องการควรแก่พระบาฬีนั้นๆ เช่น
กรณีนี้เป็น ทวันทสมาส
ทิสานุทิสํ แปลว่า ทิศและทิศเฉียง (อป.อ. ๒๓๗)
ทิส ทิส  ทุกทิศ (เถร.อ.๒๒๑)

กรณีนี้เป็นการใช้คำซ้ำกันในอรรถวิจฉา คือ แผ่ไปทั่ว ความหมายคือ ทุกทิศ จัดเป็นทวันทสมาส
ตาย ตาย ทิสาย ทิศนั้น ๆ (ที.ปา.อ. ๑๔๗)

กรณีนี้เป็นตัปปุริสสมาส
ทิสโต ทิสํ (ไป) สู่ทิศหนึ่งจากทิศหนึ่ง คือ เที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ (เปต.อ. ๑๖๐)
ดังนี้เป็นต้น

-----

มีตัวอย่างที่คล้ายกับเป็นการลง โอ อาคมในที่นี้ คือ อติปฺปโค ในพระบาฬีว่า
อติปฺปโค โข ตาว ปิณฺฑาย จริตุํ
“เช้าเกินไปที่จะไปบิณฑบาตร”.
ปโค ในพระบาฬีนี้ มาจาก อติ + ปค + โอ (สิ) จึงเป็นนามศัพท์ที่ลงปฐมาวิภัตติ ซึ่งมีความหมายเท่ากับ ปาโต เวลาเช้า เท่านั้น ไม่ได้มาจาก อติปฺปค + โอ อาคม. มตินี้ ต่างจากมติของปทรูปสิทธิที่ให้ลง คฺ และ โอ เป็นอาคม ท้าย อติปฺปป ศัพท์ (จศัพท์ในสูตร ๓๔ ยวมทนตรลา จาคมา)

ในการลงโออาคม นี้ อาจมองว่า เป็นการแปลง อ เป็น โอ ได้บ้าง ดังที่ท่านเคยแสดงแล้วในอัปปวิธาน (วิธีการแห่งศัพท์เล็กน้อย)
สำหรับ การลงสระอาคมนี้ มีเพียง ๕ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ และ โอ ซึ่งเป็นวิธีการที่มาในคัมภีร์นี้ อาจแตกต่างไปจากมติของคัมภีร์อื่นๆ บ้าง เหมือนบ้าง แม้ในคัมภีร์นี้เอง ก็ยังสามารถใช้วิธีการอื่นๆได้อีก แม้ในอุทาหรณ์เดียวกัน.  การมีวิธีการที่หลากหลาย ตามมุมมองของอาจารย์นักไวยากรณ์ ก็ถือว่า เป็นการยืดหยุ่นการใช้หลักไวยากรณ์ให้เพิ่มมากขึ้น

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช




[1] [ธ. ป. ๔๒] ตามที่อ้างนี้ ไม่น่าถูกต้อง เพราะในบาฬีนั้น เป็น ทิโส ทิสํ แปลว่า โจร (เห็น) โจร ซึ่งไม่เป็นบทสมาสตรงตามจุดประสงค์ในวิธีนี้ ในที่นี้ ทิโสทิสํ หมายถึง ทั่วทุกทิศ ควรอ้างบาฬีใน ที.ปา. ๓/๑๖๒, ขุ.เป. ๑๖๗ เป็นต้น
[2] [ที. นิ. ๓.๑]

๘๐. อุ อาคม

อุ
(สระ) อุ เป็นอาคม

ญาติปริชินสฺส ภาโว ญาติปาริชุญฺญํ, เอวํ โภคปาริชุญฺญํ- ปริชินสฺสาติ ปริหานสฺส, ปริกฺขยสฺสฯ
ตัวอย่าง

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ญาติปาริชุญฺญํ
ญาติปาริช+อุ+ญฺญ
ญาติปริชินสฺส ภาโว ญาติปาริชุญฺญํ
ความเป็นแห่งบุคคลผู้เสื่อมญาติ ชื่อว่า ญาติปาริชุญฺญํ ความเสื่อมจากญาติ
โภคปาริชุญฺญํ

โภคปาริช+อุ+ญฺญ
ปริชินสฺสาติ ปริหานสฺส, ปริกฺขยสฺส
คำว่า โภคปาริชุญฺญํ แปลว่า ความเสื่อม ได้แก่ สิ้นไปแห่งโภคะ ก็มีรูปวิเคราะห์เหมือน ญาติปาริชุญฺญํ
ในที่นี้ คำว่า ปริชินสฺส หมายถึง ปริหานสฺส แปลว่า ผู้เสื่อม คือ เป็นผู้หมดสิ้นแล้ว


ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๘๐  : การลง อุ อาคม
การลงอุอาคม ทำได้ด้วยมหาสูตรเช่นกัน ตัวอย่างเช่น
ญาติปาริชุญฺญํ ความเสื่อมจากญาติ วิเคราะห์ว่า
ญาติปริชินสฺส ภาโว ญาติปาริชุญฺญํ
ความเป็นแห่งบุคคลผู้เสื่อมญาติ ชื่อว่า ญาติปาริชุญฺญํ ความเสื่อมจากญาติ

โภคปาริชุญฺญํ ความเสื่อมจากทรัพย์ วิเคราะห์ว่า
ปริชินสฺสาติ ปริหานสฺส, ปริกฺขยสฺส
คำว่า โภคปาริชุญฺญํ แปลว่า ความเสื่อม ได้แก่ สิ้นไปแห่งโภคะ ก็มีรูปวิเคราะห์เหมือน ญาติปาริชุญฺญํ

ญาติปาริชุญฺญํ = ญาติ + ปาริชุญฺญํ
ปาริชุญญํ ศัพท์เดิมมาจาก ปริ + ชิน เสื่อม+ ณฺย (ภาวสาธนะ หรือ ภาวตัทธิต ตามควรแก่มติของพระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์) เมื่อลง ณฺย ปัจจัยท้าย ปริชิน. (ปริชิน หมายถึง ปริหาน แปลว่า ผู้เสื่อม คือ เป็นผู้หมดสิ้นแล้ว) ได้รูปเป็น ปาริชินย แปลง น เป็น ญฺ = ปาริชิญฺย ด้วยมหาสูตร (ดูวิธีการได้ในครั้งที่ ๔๙)  แปลง ย เป็น ญ ปุพพรูป เป็น ปาริชิญฺญ, ลง อุ อาคม ระหว่าง ปาริชิ และ ญฺญ ลบ อิ ข้างหน้า สำเร็จรูปเป็น ปาริชุญฺญ  แปลว่า ภาวะแห่งผู้เสื่อมจากญาติ ได้แก่  ความเสื่อมญาติ นั่นเอง
ปาริชุญฺญ มาในพระบาฬีรัฐปาลสูตร มัชฌิมปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย
๓๐๔. ‘‘จตฺตาริมานิ, โภ รฏฺฐปาล, ปาริชุญฺญานิ เยหิ ปาริชุญฺญานิ สมนฺนาคตา อิเธกจฺเจ เกสมสฺสุํ โอหาเรตฺวา กาสายานิ วตฺถานิ อจฺฉาเทตฺวา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชนฺติฯ กตมานิ จตฺตาริ? ชราปาริชุญฺญานิ, พฺยาธิปาริชุญฺญานิ, โภคปาริชุญฺญานิ, ญาติปาริชุญฺญานิ ฯ (ป)
[๓๐๔]      “พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวกในโลกนี้ประสบเข้าแล้ว ย่อมโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ความเสื่อม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเสื่อมเพราะชรา .ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้ ๓.ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติ          .ความเสื่อมจากญาติ
๓๐๔. ปาริชุญฺญานีติ ปาริชุญฺญภาวา ปริกฺขยาฯ (อ.)
๓๐๔. ปริชุญฺญานีติ ปริหานานิฯ (ฎี.)
คัมภีร์อรรถกถาและฎีกาของพระสูตรนี้ อธิบายว่า คำว่า ปาริชุญฺญานิ นี้เป็น ภาวสาธนะ โดยใช้คำพรรณนาที่ใช้ ภาวศัพท์ ประกอบดังนี้ว่า ปาริชุญฺญภาวา ปริกฺขยา  ความเสื่อม คือ ความสื้นไป (กฏการเขียนสังวัณณนามีว่า ถ้าบทตั้งเป็นนามกิตก์และบทขยายมีการใช้ภาวศัพท์ประกอบท้ายศัพท์ที่เป็นนามกิตก์หรือลงยุปัจจัย แสดงว่า บทตั้งเป็นภาวสาธนะ ในกรณีนี้ ณฺย ปัจจัย เป็นไปในกัมมสาธนะและภาวสาธนะ ดังนั้น การใช้ภาวศัพท์ลงท้ายนามกิตก์แสดงว่า ปาริชุญฺญ เป็นภาวสาธนะไม่ใช่กัมมสาธนะ)
แต่คัมภีร์นิรุตติทีปนีนี้ และแม้ของคัมภีร์อื่นๆ อธิบายเป็นภาวตัทธิต ก็ได้ เป็นนามกิตก์ภาวสาธนะ ก็มี เช่น
คัมภีร์สีลขันธวรรคฎีกา (สี.ฎี ๒) วิ.ว่า
ปริชิยนํ ปริหายนํ ปาริชุญฺญํ, ปริชิรตีติ วา ปริชิณฺโณ, ตสฺส ภาโว ปาริชุญฺญานิ, เตนฯ
ความเสื่อมชื่อว่า ปาริชุญฺญ, อีกนัยหนึ่ง สิ่งที่เสื่อมได้ ชื่อว่า ปริชิณฺโณ ความเป็นแห่งสิ่งที่เสื่อมได้นั้น ชื่อว่า ปาริชุญฺญ.
คัมภีร์ปาจิตตยาทิโยชนาแสดงว่า รูปนี้เป็นเพียงอีกปาฐะหนึ่ง ซึ่งในพระบาฬีไม่มีรูปที่ลง อุ อาคม และให้วิเคราะห์ว่า
๑๑๐. ปาริชญฺญปตฺตสฺสาติ ปริหายตีติ ปริชานิ, อิสฺสริยโภคาทิ, ตสฺส ภาโว ปาริชญฺญํ, อิสฺสริยโภคาทิกฺขโย, ตํ ปตฺโตติ ปาริชญฺญปตฺโต, ตสฺสฯ ‘‘ปาริชุญฺญานิ ปตฺตสฺสา’’ติปิ อุกาเรน สห ปาโฐ อตฺถิฯ
คำว่า ผู้ถึงความเสื่อม (ปาริชญฺญปตฺตสฺส) ความว่า สิ่งที่เสื่อมได้ ชื่อว่า ปริชานิ, ได้แก่ ความยิ่งใหญ่และโภคะเป็นต้น, ความเป็นแห่งสิ่งที่เสื่อมได้นั้น ชื่อว่า ปาริชญฺญ, ได้แก่ ความสิ้นไปแห่งสิ่งต่างๆมีความยิ่งใหญ่และโภคะเป็นต้น, ผู้ถึงความเสื่อมสิ้นไป ชื่อว่า ปาริชญฺญปตฺโต.  ข้อความหรือคำศัพท์ที่เป็นไปกับด้วย อุ ว่า ปาริชุญฺญานิ ปตฺตสฺส ดังนี้ ก็มี

สรุปว่า ปาริชุญฺญ แปลว่า ความเสื่อม มาจาก ปาริชิญฺญ ลง อุ อาคม กลางศัพท์ ด้วยมหาสูตร สำเร็จรูปเป็น ปาริชุญฺญ และเป็นศัพท์ที่เป็นภาวสาธนะ หรือ ภาวตัทธิตก็ได้ ตามความประสงค์ของพระอรรถกถาจารย์และฎีกาจารย์

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช