วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๗๓.อาคมสนธิ : อ อาคม

อาคมสนฺธิ
อาคมสนธิ คือ วิธีการเชื่อมบทโดยเพิ่มอักษร
อถาคมสนฺธิ ทีปิยเตฯ
ต่อจากอาเทสสนธิ จะแสดงอาคมสนธิ

มหาวุตฺตินา สราคโม
สระเป็นอาคม  ถูกทำได้โดยสูตรใหญ่

(สระ) อ เป็นอาคม

ปณฺณสาลํ อมาเปตฺวา[1], ปณฺณสาลํ อมาปิย[2]มาเปตฺวา อิจฺเจวตฺโถ, น จาปิ อปุนปฺปุนํ, หตฺถิโพนฺทิํ ปเวกฺขามิ [3]-ปุนปฺปุนํ อิจฺเจวตฺโถ, นตฺถิ โลเก อนามตํ[4]อมต ปุพฺพํ ฐานนฺติ อตฺโถ, อนวชฺชํ, อนมตคฺโค, ชจฺจนฺโธ, ชจฺจพธิโร, ชจฺจมูโค, ชจฺจปณฺฑโกฯ

ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ปณฺณสาลํ อมาเปตฺวา,
อ + มาเปตฺวา
เนรมิตแล้วซึ่งบรรณศาลา
ปณฺณสาลํ อมาปิย
อ + มาปิย (ตฺวา)
เนรมิตแล้วซึ่งบรรณศาลา
คำนี้คือ มาเปตฺวา นั่นเอง
น จาปิ อปุนปฺปุนํ,
หตฺถิโพนฺทิํ ปเวกฺขามิ
อ + ปุนปฺปุนํ
แม้ข้าพเจ้าจะไม่เข้าไปสู่ซากช้างนั้นอีก
คำว่า อปุนปฺปุนํ คือ ปุนปฺปุนํ นั่นเอง
นตฺถิ โลเก อนามตํ
น + อมตํ
สถานที่ไม่ตายไม่มีในโลก
คำว่า อนามตํ คือ ที่ไม่เคยตาย
อนวชฺชํ,
น + อวชฺชํ
ไม่มีโทษ
อนมตคฺโค,
น + อมตคฺโค
มีที่สุดอันใครรู้ไม่ได้
ชจฺจนฺโธ,
ชาติ +  อ +อนฺโธ
บอดแต่กำเนิด
ชจฺจพธิโร,
ชาติ + อ +พธิโร
หนวกแต่กำเนิด
ชจฺจมูโค,
ชาติ + อ+ มูโค
ใบ้แต่กำเนิด
ชจฺจปณฺฑโกฯ
ชาติ + อ+ ปณฺฑโก
เป็นบัณเฑาะก์แต่กำเนิด

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนีิ
คร้้งที่ ๗๓ : อาคมสนธิ การเชื่อมบทโดยการแทรกเสียง

ได้แสดงการเข้าสนธิ คือ การเชื่อมบทเข้าหากันโดยวิธีหลายประการ เริ่มตั้งแต่ตั้งการลบเสียงหน้าและหลังเป็นต้น จนกระทั่งมาถึงการเปลี่ยนเสียงมาแล้ว บัดนี้จะแสดงการเชื่อมบทโดยการแทรกเสียง ที่มีชื่อเรียกว่า อาคม เป็นลำดับไป
คำว่า อาคม เป็นชื่อของอักษรหรือเสียงที่เพิ่มเข้าไปเพื่อเชื่อมบท (บทสนธิ) หรืออักษรในบทนั้น (วัณณสนธิ) โดยมิได้ทำให้อักษรเดิมเปลี่ยนไปหรือมาแทนอักษรเดิม เหมือนอย่างอักษรอาเทส มีคำกล่าวว่า อาเทสเหมือนปัจจามิตร ส่วนอาคมเหมือนมิตร เพราะไม่ได้ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงอักษรเดิมแต่ประการใด
ต่อไปนี้จะเรียกอักษรที่เพิ่มเข้ามาว่า “อาคม”.
อักษรอาคม ในที่นี้ท่านแบ่งออกเป็น สระอาคม และ พยัญชนะอาคม ที่รวมถึงนิคคหิตอาคมด้วย.
จะกล่าวถึงสระอาคมก่อน.
----
สระอาคม มีทั้งหมดเท่าที่แสดงไว้ในที่นี้อยู่ ๖ ตัว คือ  อ อา อิ อี อุ และ โอ
ในคัมภีร์นิรุตติทีปนี ท่านมิได้แสดงสูตรการลงสระ ๖ ตัวนี้เป็นอาคม เพียงแต่บอกว่า “มหาวุตฺตินา สราคโม” สระอาคม สำเร็จรูปหรือทำได้ด้วยด้วยมหาสูตร. มหาสูตรที่ว่านี้ ได้แก่สูตรว่า “ตทมินาทีนิ” นั่นเอง หมายความว่า เมื่อจะอ้างอิงการลงอาคมก็ให้อ้างอิงด้วยสูตรว่า ตทมินาทีนิ อักษรมีคำว่า ตทมินา เป็นต้นเป็นคำใช้สำเร็จรูปอุทาหรณ์ตามที่ต้องการ.
----
อ อาคม
มีสำนวนโวหารทางไวยากรณ์ที่นิยมใช้เกี่ยวกับอักษรอาคมนี้ว่า “ลง อ อาคม” หรือ “อเป็นอาคม” ซึ่งก็หมายความว่า เพิ่มอักษรคืออ ลงไปในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งตามที่ต้องการแล้วแต่ว่า ข้อกำหนดของอาคมนั้น จะถูกกำหนดว่า ต้องมีสระ พยัญชนะ หรือ นิคคหิตเป็นนิมิต คือ จุดกำหนดตำแหน่ง.
สำหรับ การใช้ สระ คือ อ เป็นอาคมนั้น นิยมลงหน้าบท พึงสังเกตตามตัวอย่างต่อไปนี้
ปณฺณสาลํ อมาเปตฺวา       เนรมิตแล้วซึ่งบรรณศาลา
ปณฺณสาลํ อมาปิย เนรมิตแล้วซึ่งบรรณศาลา
คำว่า อมาเปตฺวา ก็มาจากคำว่า  อ + มาเปตฺวา
คำว่า อมาปิย ก็มาจากคำว่า อ + มาปิย
ดังนั้น คำว่า อมาเปตฺวา ก็ดี อมาปิย ก็ดี มีความหมายเดียวกัน คือ มาเปตฺวา แปลว่า เนรมิต หรือ ให้สำเร็จแล้ว. ส่วน อ ไม่ได้มีความหมายใด จึงคงแปลว่า นิรมิตแล้ว ส่วนคำว่า อมาปิย แปลง ตฺวา เป็น ย เหมือนที่เคยกล่าวมา
เรื่องสระอเป็นอาคมยังมีอีกหลายคำที่น่าสนใจครับ บางคำก็มองไม่เห็นว่า มีการลงอาคม หรือ จะลงอาคมไว้ตรงไหนดี คราวหน้ามากล่าวต่อไปครับ ….. 

ขออนุโมทนาครับ ...
สมภพ สงวนพานิช




[1] [ชา. ๒.๒๒.๑๙๑๓]
[2] [ชา. ๑.๑.๑๔๘]
[3] [ชา. ๑.๑.๑๔๘]
[4] [ชา. ๑.๒.๓๑]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น