ครั้งที่ ๒๙ : พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
การศึกษาหลักไวยากรณ์บาฬี
ตามแนวทางของคัมภีร์โมคคัลลานะ โดยอาศัยคัมภีร์นิรุตติทีปนี เป็นต้นแบบในการศึกษา
ได้ดำเนินมาตามลำดับ. ช่วงนี้อยู่ในหัวข้อ “พยัญชนาเทสสนธิ”
ขอทวนความเดิมสักเล็กน้อย
การเชื่อมบทโดยวิธีการแปลงพยัญชนะนี้
มีที่สังเกตคือใช้ยพยัญชนะ และ ไม่มียพยัญชนะเป็นเงื่อนไข.
โดยที่มียเป็นเงื่อนไขก็ได้แบ่งออกเป็น ๒ กรณี คือ แปลง ย เป็นปุพพรูป
และแปลงพยัญชนะอื่นโดยมียเป็นเหตุ. ทั้งสองนี้
คัมภีร์นิรุตติทีปนีนำมาแสดงโดยคละเคล้าไปในลำดับแห่งพยัญชนะโดยเริ่มจากพยัญชนวรรคก่อน.
ในบทความนี้ได้แสดงมาโดยลำดับจนถึง จวรรค
ไปแล้ว ในคราวนี้จะแสดง ฏวรรคและตวรรคไปตามลำดับ.
การแปลงพยัญชนะ ในฏวรรค
และ ตวรรค
ในฎวรรค มี ณ
ตัวเดียวเท่านั้นที่เข้ากฏเกณฑ์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
ส่วนตวรรคมีได้ทุกตัว.ส่วนวรรคอื่นๆและพยัญชนอวรรค มีได้เป็นบางตัว.
แต่ในที่นี้จะกล่าว ณและตวรรคเป็นประธานเสียก่อน.
การแปลงพยัญชนฏวรรค
คือ ณ และตวรรค มีวิธีการคล้ายกับ กวรค คือ แปลง ย เป็นปุพพรูป คือ เป็นพยัญชนะเดียวกับพยัญชนะตัวหน้าตน.
แต่จะต้องแปลงพยัญชนะหน้าตนเสียก่อน
โดยอาศัย ย นั่นเอง เป็นเหตุ ตามหลักการนี้
ถ้า ย
อยู่ข้างหลัง ให้แปลง ต วรรคทั้งหมด คือ ต ถ ท ธ น เป็น จวรรคทั้งหมด ตามลำดับ คือ
จ ฉ ช ฌ ญ ตามลำดับ, ว เป็น พ, ร เป็น ย และ ณ เป็น ญ. ด้วยสูตรนี้ คือ
หลักการ
:
สูตรกำกับวิธีการ
๔๔. ตวคฺควรณานํ เย จวคฺคพยญา [1]ฯ
เพราะ ย แปลง ต วรรค
เป็น จวรรค, ว เป็น พ, ร เป็น ย, และ ณ เป็น ญ ได้บ้าง.
หลักเกณฑ์
:
คำอธิบายและข้อกำหนดบางประการของสูตร.
จะมีการแปลงพยัญชนะดังต่อไปนี้
กล่าวคือ
ต วรรค แปลงเป็น
จวรรค คือ ต เป็น จ ถ เป็น ฉ, ท เป็น ช, ธ เป็น ฌ และ น เป็น ญ.
ว เป็น พ
ร เป็น ย
ณ เป็น ญ
ถ้า ย
ไม่ว่าจะเป็นอาเทศ ก็ตาม, เป็นวิภัตติ
ก็ตาม หรือ ปัจจัย ก็ตาม อยู่หลัง
[ย
ที่เป็น อาเทส เช่น ย ที่มาจาก อิ, ที่เป็น วิภัตติ เช่น ย ที่ โย วิภัตติ และ ที่ ยา อันเป็นอาเทสของ นา วิภัตติ
เป็นต้น, ย ที่เป็น ปัจจัย เช่น ณฺย เป็นต้น ]
ท่านสาธุชนทั้งหลาย
หากมีความข้องใจใคร่จะไตร่ถามเกี่ยวกับเนื้อหาสาระในเนื้อความที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็ฝากคำถามไว้ ในความคิดเห็นข้างล่าง
ถ้าผู้เขียนพอตอบได้ ก็จะรีบตอบให้ทันที.
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
********************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น