วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๓๖.การแปลงสระเป็นกรณีพิเศษ ที่นอกเหนือจากหลักการของสูตร - แปลง อิ อี เป็น อ และ อุ และ เอ

#นิรุตติทีปนีแปลเพื่อศึกษาร่วมกัน๒๐
อัปปวิธาน : รูปอุทาหรณ์เล็กน้อยมีใช้ไม่มาก.

- การแปลงสระเป็นกรณีพิเศษ ที่นอกเหนือจากหลักการของสูตร - (ต่อจากคราวที่แล้ว)

๒. แปลง อิ วัณณะ เป็น อ , อุ และ เอ
๑). แปลง อิ อี เป็น อ เช่น
ตํ + อิมินา  = ตทมินา
ตัวอย่างการใช้
ตทมินาเปตํ ปริยาเยน เวทิตพฺพํ 
พึงทราบความหมายนั้น ด้วยวิธีการนี้
 [อิ ของ อิมินา เป็น อ ตามหลักการนี้ ส่วน เอตํ ลบ นิคคหิต และลง ทฺอาคม.  ปริยายศัพท์ มีอรรถว่า วาระ,  เหตุ และเทศนา (อรรถกถามูลปริยายสูตร ม.มู.)  ในที่นี้มีความหมาย วิธีการหรือแนวทาง ซึ่งยักความหมายจากอรรถว่าเทศนา) หมายความว่า เนื้อความนั้นพึงทราบโดยวิธีนี้. ]

สกึ + อาคามี = สกทาคามี พระสกทาคามี  
ตัวอย่างการใช้
สกิํ อาคจฺฉติ สีเลนาติ สกทาคามี,
พระสกทาคมี คือ ผู้มาสู่โลก (มนุษย์) นี้อีกครั้งเดียวโดยปกติ
[สกึ ลบ นิคหิต แล้วแปลง อิ เป็น อา จึงเป็น สกทาคามี หมายถึง ผู้มาโดยปฏิสนธิในโลกมนุษย์นี้อีกครั้งเดียวก็จะปรินิพพาน.]

อิตฺถี + ตฺต (ปัจจัย) =  อิตฺถตฺตํ  อิตถีภาวะ
ตัวอย่างการใช้
อิตฺถิยา ภาโว อิตฺถตฺตํ,
ภาวะของหญิง ชื่อว่า อิตถัตตะ (อิตถีภาวะ)
[กรณีนี้ แปลง อี ที่ อิตฺถี เป็น อ ด้วยหลักการนี้. อิตถีภาวะ คือ อาการอย่างใดอย่างหนึ่งมีกิริยาที่ชดช้อย เป็นต้น (ดูอรรถกถาอภิธรรมประกอบ) ที่เป็นเหตุของชื่อว่า อิตถี.]

๒). แปลง อิ เป็น อุ เช่น
เอวํ+อิมํ = เอวุมํ อย่างนี้เหมือนกัน
[เอวุมํ แยกเป็น เอวํ อิมํ  ลบนิคหิตที่เอวํ ก่อน เอว และ แปลง อิ ที่ อิมํ เป็น อุ ตามหลักการนี้,]

๓). แปลง อิ เป็น เอ
มหามุนิ =  มหามุเน.  ข้าแต่พระมหามุนี
ตัวอย่างการใช้
ตฺวํ โน สตฺถา มหามุเน,
ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์เป็นศาสดาของข้าพระองค์

อิส = อิเส  ข้าแต่ฤาษี
มีตัวอย่างการใช้ เช่น
อตฺถธมฺมวิทู อิเส
[ข้าแต่ฤาษี ผู้รู้อรรถและธรรม.  คำว่า ฤาษี นิยมแปลทับศัพท์ แต่แปลให้เห็นภาพชัดๆ คือ  ท่านผู้แสวงหาคุณ.  .]



------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น