วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๒๘. สราเทส (ต่อ)

เอตฺถ จ อิจฺเจตนฺติอาทีสุ อิมินา สุตฺเตน อิติ, ปติ, อติปุติ, ชาติ, อภิ, อธิสทฺทานํ อิวณฺณสฺส ยตฺตํ, ‘ตวคฺควรณาน’…นฺติ สุตฺเตน ยมฺหิ ตวคฺคสฺส จตฺตํ, ‘วคฺค, , เสหิ เตติ สุตฺเตน ยสฺส ปุพฺพรูปตฺตํ,  อภิ, อธิสทฺเทสุ ปน จตุตฺถทุติเยสฺเวส’…นฺติ สุตฺเตน วคฺคจตุตฺถานํ ตติยตฺตํฯ
สำหรับในอุทาหรณ์มี อิจฺเจตํ เป็นต้น เมื่ออาเทศอิวัณณะ ของ อิติ ปติ อติปุติ ชาติ อภิ และอธิ เป็น ยฺ ด้วยสูตรนี้แล้ว, เพราะ ยฺอาเทสนั้น แปลงตฺ เป็น จฺ ด้วยสูตร ตวคฺควรณานํฯ, แปลง ย เป็นปุพพรูป คือ รูปเดียวกับอักษรหน้า ด้วยสูตร วคฺคลเสหิ เตฯ. แต่ในอภิและอธิศัพท์ แปลงพยัญชนะที่ ๔ ของวรรคเป็นพยัญชนะที่ ๓ ของวรรค ด้วยสูตร จตุตฺถทุติเยสฺเวส.[1]



[1] อิของทุกศัพท์ที่กล่าวมา แปลง เป็น ยฺ ตามสูตรนี้ก่อน หลังจากนั้น แต่ละศัพท์สำเร็จรูปต่างกัน
๑) อิติ ปติ อติปุติ ตั้งรูปเป็น อิตฺย ก่อน จากนั้น แปลง ตฺ เป็น จฺยฺ จากนั้น แปลง ยฺ เป็น จฺ ที่เหมือนกับตน ได้รูปเป็น อิจฺจฺ นำประกอบพยัญชนะหลัง เป็น อิจฺเจตํ ที่เหลือมีนัยนี้.
เหตุผลในการแปลง ตฺ เป็น จฺ อยู่ในสูตร ๔๔. ตวคฺควรณานํ เย จวคฺคพยญา เพราะยที่เป็นอาเทศ ยปัจจัย หรือยวิภัตติ ข้างหลัง  พยัญชนะของตวรรค,  วฺ,  รฺ และ ญฺ จะแปลงเป็นพยัญชนะจวรรค พฺ ยฺ และ ญฺ ตามลำดับ.
เหตุผลในการแปลง จฺ เป็น ปุพพรูป อยู่ในสูตร ๔๓. วคฺคลเสหิ เตฯ แปลง ย เป็นอักษรที่อยู่ข้างหน้าตนในกรณีที่อยู่ท้ายพยัญชนวรรคทั้งหมดและ ล กับ ส อวรรค.
๒) อภิ เมื่อเป็น อภฺยฺ แล้ว แปลง ย เป็นปุพพรูป เหมือนก่อน เป็น อภฺภฺ แปลง ภฺ ตัวหน้าที่เป็น พยัญชนที่ ๔ ของ ปวรรค เป็น พฺ ที่เป็นพยัญชนะที่ ๓ ของปวรรค.
เหตุผลในการทำแปลงตัวที่ ๔ เป็นตัวที่ ๓ อยุ่ในสูตรที่ ๕๔. จตุตฺถทุติเยสฺเวสํ ตติยปฐมา ถ้ามีอักษรที่ ๔ และ ที่ ๒ ของแต่ละวรรคอยู่หลัง อักษรตัวที่ ๓ และ ตัวที่ ๑ ในวรรคนั้นเป็นตัวซ้อนของอักษรที่ ๓ และ ที่ ๔ เหล่านั้น.
๓) อธิ เมื่อเป็น อธฺยฺ แล้ว แปลง ธฺ ที่เป็น พยัญชนะในตวรรค เป็น พยัญชนะในจวรรค ในที่นี้ คือ แปลง ธฺ ตัวที่ ๔ ของตวรรคเป็นพยัญชนะตัวที่ ๔ ของจวรรค เป็น อฌฺยฺ แล้วแปลงยเป็นปุพพรูปแล้ว แปลง ฌฺ ต้วแรกที่เป็นพยัญชนะที่ ๔ เป็นพยัญชนะที่ ๓ คือ ชฺ  เป็น อชฺฌ)
อย่างไรก็ตาม ในกัจจายนไวยากรณ์ รวบรัดว่า ในอุทาหรณ์เหล่านี้ เพราะสระหลัง แปลง ติ ทั้งตัวเป็น จฺ, แปลงติ ของ อติ เป็น จฺ,   อภิ เป็น อพฺภ และ อธิ เป็น อชฺฌ ตามสมควร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น