(ลบสิวิภัตติเป็นต้นในบทวิจฉา
คือ บทที่ใช้ซ้ำกัน)
๓๒. สฺยาทิโลโป ปุพฺพสฺเสกสฺสฯ
วิจฺฉายํ
เอกสฺส วิภตฺยนฺตสฺส ปทสฺส ทฺวิตฺเต กเต ปุพฺพปทสฺส สฺยาทิโลโป โหติฯ
เอเกกํ, เอเกกานิ, เอเกเกน, เอเกกสฺส
อิจฺจาทิฯ
มาคเม –
เอกเมกํ, เอกเมกานิ อิจฺจาทิฯ
อิติ
สฺยาทิโลปราสิฯ
๓๒. สฺยาทิโลโป
ปุพฺพสฺเสกสฺสฯ
๓๒.
สิวิภัตติเป็นต้น ที่อยู่ท้ายเอกศัพท์ของบทแรกในวิจฉา ถูกลบไป.
เมื่อเอกศัพท์เป็นบทอันมีวิภัตติเป็นที่สุด
(บทว่า เอก ที่ลงวิภัตติมีสิเป็นต้นแล้ว) ที่ใช้ในวิจฉา คือบทที่ถูกกล่าวซ้ำ.
ลบสิวิภัตติเป็นต้น ของบทว่า เอโก เป็นต้น
เช่น
เอเกกํ (เอกํ เอกํ = เอเกกํ) อ.วัตถุสิ่งหนึ่ง ๆ (ทุกคน)[1]
เอเกกานิ
(เอกานิ เอกานิ = เอเกกานิ สู่วัตถุหนึ่งๆ
เอเกเกน(เอเกน
เอเกน = เอเกเกน) โดยวัตถุหนึ่งๆ
เอเกกสฺส (เอกสฺส เอกสฺส = เอเกกสฺส) โดยวัตถุหนึ่งๆ
เมื่อลบแล้ว ลง
ม อาคม เช่น
เอกเมกํ (เอกมฺ
เอกํ = เอกเมกํ)
เอกเมกานิ
(เอกมฺ เอกานิ = เอกเมกานิ)
อิติ
สฺยาทิโลปราสิฯ
กลุ่มศัพท์มีสิวิภัตติเป็นต้นที่ถูกลบ
จบ
[1]
อรรถวิจฉา แปลว่า แผ่ไป หมายถึง
เนื้อความที่ต้องการพูดถึงกระจายไปทั่วถึงนามศัพท์ที่กล่าวถึง บทที่เป็นวิจฉา
ในสนามหลวงแปลว่า หนึ่งหนึ่ง, แต่อาจแปลโดยอรรถว่า ทุกๆคน หรือ แต่ละ ก็ได้.
บทที่กล่าวซ้ำกัน ในบางแห่ง ไม่ใช่วิจฉา ดูสัททนีติด้วย. รูปเอกํ เอกํ
เมื่อลบสิวิภัตติแล้ว ได้รูปเดิมว่า เอก เพราะ อํ แปลงมาจาก สิ
วิภัตติที่ลงท้ายอการันต์ในนปุงสกลิงค์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น