วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๘๗. ย อาคม

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๘๗  : พยัญชนอาคม : การลง ย อาคม

ย อาคม มีหลักการใช้ตามข้อกำหนดของสูตร ว่า
๕๐ วนตรคา จาคมา
เพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, น, ต, ร, ค (กลุ่มหนึ่ง), และ ย ท (อีกกลุ่มหนึ่ง) เป็นอักษรอาคม. 
(ดูสูตรในคัมภีร์นิรุตติทีปนี http://niruttitepanee.blogspot.com/2016/05/blog-post_17.html )

ตัวอย่างการใช้ย อาคมตามที่คัมภีร์นิรุตติทีปนียกมาแสดงประกอบในสูตรนั้น ดังต่อไปนี้


นยิมสฺส วิชฺชามยมตฺถิ  =  ดาบสนี้ไม่มีการงานใดที่สำเร็จจากวิชชา
น + อิมสฺส วิชฺชามยมตฺถิ        

ยถยิทํ  =  สิ่งนี้ย่อมมีโดยประการใด
ยถา + อิทํ

ตถยิทํ  =  สิ่งนี้ย่อมมีโดยประการนั้น
ตถา + อิทํ

ฉยิเม ธมฺมา  =  ธรรม ๖ ประการเหล่านี้
ฉ + อิเม ธมฺมา

นวยิเม ธมฺมา  =  ธรรม ๙ ประการเหล่านี้
นว + อิเม ธมฺม

ทสยิเม ธมฺมา  =  ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้
ทส + อิเม ธมฺมา         

มมยิทํ  =  สิ่งนี้เป็นของเรา
มม + อิทํ        

โสเยว  =  เขานั่นเทียว
โส + เอว        

เตเยว  =  เขาท.นั่นเทียว
เต + เอว        
ตํเยว ,ตญฺเญว สิ่งนั้นนั่นเทียว - อุทาหรณ์นี้อาจใช้เป็น ตญฺเญว ก็มี
ตํ + เอว

เตหิเยว  =  กับด้วยสิ่งนั้นนั่นเทียว
เตหิ + เอว      

เตสํเยว ,เตสญฺเญว  =  ของสิ่งเหล่านั้นนั่นเทียว – อุทาหรณ์นี้อาจใช้เป็น เตสญฺเญว ก็มี
เตสํ + เอว      

ตสฺมิเยว  =  ในสิ่งนั้นนั่นเทียว
ตสฺมิํ + เอว     

พุทฺโธเยว  =  พระพุทธเจ้านั่นเทียว
พุทฺโธ เอว      

พุทฺเธสุเยว  =  ในพระพุทธเจ้าท.นั่นเทียว
พุทฺเธสุ เอว     

โพธิยาเยว การณา  =  เพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่นเทียว
โพธิยา + เอว การณา  

โหติเยว  =  ย่อมมีนั่นเทียว
โหติ + เอว      

อตฺถิเยว   =  มีอยู่นั่นเทียว
อตฺถิ + เอว     

ต่อไปนี้ตัวอย่างบทที่มีอิวัณณะเป็นที่สุด (อิ – อีการันต์) ที่สำเร็จโดยการลง ย อาคม เช่นกัน

ติยนฺตํ  =  ที่สุด ๓ ประการ
ติ + อนฺตํ        

อคฺคิยาคาเร  =  ในเรือนไฟ
อคฺคิ + อาคาเร 

จตุตฺถียตฺเถ   =  ในอรรถแห่งจตุตถีวิภัตติ.
จตุตฺถี + อตฺเถ 


ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น