วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๔. ความหมายของคำว่า สวัณณะ

ความหมายของคำว่า สวัณณะ
๓. เทฺว เทฺว สวณฺณาฯ
เตสุ สเรสุ เทฺว เทฺว สรา สวณฺณา นาม โหนฺติฯ
, อา อวณฺโณ, อิ, อี อิวณฺโณ, อุ, อู อุวณฺโณ, เอต, เอ เอตวณฺโณ, โอต, โอ โอตวณฺโณฯ สมาโน วณฺโณ สุติ เอเตสนฺติ สวณฺณา, สรูปาติ จ วุจฺจนฺติ, สมานํ รูปํ สุติ เอเตสนฺติ สรูปาฯ

๓. เทฺว เทฺว สวณฺณา
สระทุกสองตัว (แต่ละคู่) ชื่อว่า สวัณณะ.
บรรดาสระเหล่านั้น สระสองตัวหนึ่งๆ มีชื่อว่า สวัณณะ (ซึ่งมีการจัดแบ่งเป็นคู่ดังนี้ คือ)
อ และ อา เรียกว่า อวัณณะ, อิ และ อี เรียกว่า อิวัณณะ, อุ และ อู เรียกว่า อวัณณะ, เอตฺ และ เอ เรียกว่า เอตวัณณะ, โอต และ โอ เรียกว่า โอตฺวัณณะ.
สวัณณะ มีรูปวิเคราะห์ว่า วัณณะ คือ เสียง อันเหมือนกัน ของสระเหล่านี้ มีอยู่ เหตุนั้น สระเหล่านั้นชื่อว่า สวัณณะ, และเรียกว่า สรูปะ ได้อีก โดยมีรูปวิเคราะห์ว่า สมานํ รูปํ สุติ เอเตสนฺติ สรูปา รูป คือ เสียงที่เสมอกันของสระเหล่านี้มีอยู่ ดังนั้น จึงชื่อว่า สรูปะ. [1]



[1] ความรู้ที่ได้จากการศึกษา
สระ ๒ ตัวหนึ่งๆ  ท่านใช้คำว่า เทฺว เทฺว สองศัพท์ซ้ำกัน เพื่อสื่อความว่า สระ ๑๐ ตัวนั้น ถูกแบ่งออกทีละสอง เหมือนสูตร วคฺคา วคฺคา ปญฺจโส มนฺตา
วณฺณ ศัพท์มีความหมายว่า อักษร (ธาน.ฎี.๓๔๘ และ ๗๗๙) ซึ่งอักษรในที่นี้มีความหมายว่า สุติ  เสียง (ธาน.ฎี.๑๒๘) หมายความว่า อักษรเหล่านั้น ปรากฏเป็นสิ่งที่ถูกได้ยิน ไม่ได้ถูกตาเห็น เหมือนอย่างในปัจจุบันที่เป็นตัวหนังสือ.
อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรที่จารึกแล้ว ที่อ่านกันด้วยสายตา เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกเห็นได้ ก็สามารถสื่อความหมายได้เช่นเดียวกับเสียง ดังนั้น ถ้าโดยนัยนี้ คำว่า วัณณะ ที่แปลว่า เสียง ก็ถือเอาโดยภูตปุพฺพคติกนัย นัยที่ถือเอาสิ่งเคยเป็นมาก่อน.  เพราะในยุคก่อนที่จารึกเป็นตัวอักษร ใช้สวดหรือบอกกันด้วยเสียงเท่านั้น แม้ต่อมามีการจารึก ก็สามารถสื่อกันได้ตัวหนังสือ แต่ก็ยังใช้คำว่า สุติ หรือ เสียง กันอยู่.  (สมภพ) ส่วนความหมายว่า สรูปะ คำว่า รูป ในที่นี้ ได้แก่ เสียง เหมือนกัน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น