วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๖๔.แปลง พ เป็น พฺร

พสฺส พฺรตฺตํ
พฺรหาวนํ, พฺรหนฺตํ วา วนปฺปติํ[1], พฺรหฺมา, พฺราหฺมโณ พาหิตปาปตฺตา อรหา พฺราหฺมโณติ วุจฺจติ, พฺรหฺมุโน อปจฺจนฺติ ชาติพฺราหฺมโณ วุจฺจติฯ

พฺร เป็น อาเทส ของ พ

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
พฺรหาวนํ
พหาวนํ
ป่าใหญ่ (กว้าง)
พฺรหนฺตํ วา วนปฺปติํ
พหนฺตํ
ลมย่อมทำลายต้นไม้ใหญ่ ที่เจริญเติบโตก็ตาม,
(พห + อนฺต)
พฺรหฺมา
พหมา
พรหม (โดยสัททนัย คือ ผู้เจริญ พหฺ ธาตุ วุทฺธิมฺหิ = เจริญ + ม ปัจจัย)
พฺราหฺมโณ
พาหฺมโณ
พราหมณ์, โดยสัททัตถนัย (ตามรูปวิเคราะห์)
ก. พระอรหันต์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปได้,
ข. พราหมณ์โดยกำเนิด (ชาติพราหมณ์) เพราะเป็นเชื้อสายของพรหม.

ครั้งที่ ๖๐ : มิสสกาเทส การแปลงอักษรที่คละกัน

แปลง พ เป็น พฺร
พ ที่จะกลายเป็น พฺร นี้เป็น พ ของ พห ธาตุ ที่ใช้ในความหมายว่า วุทฺธิ เจริญ ดังจะพบได้ตามตัวอย่างนี้ เช่น

พฺรหาวนํ มาจาก พหาวนํ ป่าใหญ่
พฺรหนฺตํ วา วนปฺปติํ
ลมย่อมทำลายต้นไม้ใหญ่ ที่เจริญเติบโตก็ตาม,
(พฺรหนฺตํ ในที่นี้ มาจาก พหนฺตํพห + อนฺต)

พฺรหฺมา พระพรหม มาจาก พหมา คือ ผู้เจริญ (พหฺ ธาตุ วุทฺธิมฺหิ = เจริญ + ม ปัจจัย) หมายถึง ผู้มีร่างกายใหญ่ (ธาน.ฎี. ๑๕)

พฺราหฺมโณ พราหมณ์ มาจาก พาหฺมโณ     ,
คำว่า พราหมณ มีความหมายตามรูปวิเคราะห์  (สัททัตถนัย)
พาหิตปาปตฺตา อรหา พฺราหฺมโณติ วุจฺจติ,
 พฺรหฺมุโน อปจฺจนฺติ ชาติพฺราหฺมโณ วุจฺจติฯ
ในความหมายแรก พาหฺมณ หมายถึง ผู้ลอยบาป มาจาก พาหฺ ธาตุ ที่แปลว่า ลอย
(ลง ม ปัจจัยในกัตตุสาธนะ แล้วเป็น พฺราหฺม สำเร็จรูปเหมือนกับ พฺราหฺมณ ในความหมายหลัง)
ในความหมายหลัง พาหฺมณ หมายถึง ผู้สืบเชื้อสายมาจากพระพรหม.
คัมภีร์อภิธานฯฎีกา อธิบายว่า ลง ณ ปัจจัย ท้าย พฺรหฺม ในอปจฺจจตัทธิต แล้วลง น อาคม แปลง น เป็น ณ แล้วทีฆะสระต้น  เป็น พฺราหฺมณ
(พฺรหฺมุโน อปจฺจํ พฺรหฺมา, พฺราหฺมโณ, นาคโม, ตฺตํ, ทีฆาทิฯ (ธาน.ฎี.๔๐๘)

เกี่ยวกับการแปลง พ เป็น พฺร ใน พห ธาตุนี้. คัมภีร์นิรุตติทีปนีแสดงนัยนี้ไว้ แต่ในคัมภีร์อื่นเช่น อภิธานัปปทีปิกาฏีกา แสดงว่า มาจาก พฺรห ธาตุโดยตรง และ ลง ม ปัจจัยเช่นกัน  เช่น พฺรหฺม มาจาก พฺรห ธาตุ ในอรรถว่า วุฑฺฒิ เจริญ คือ ใหญ่. (มหนฺตสรีรตาย พฺรหฺมา, พฺรห วุฑฺฒิยํ ปจฺจโยฯ ธาน.ฎี. ๑๕)

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช





[1] [ชา. ๑.๑.๑๔]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น