๔๗. มยทา สเร [1]ฯ
๔๗. สเร
ในเพราะสระ ปเร อันเป็นเบื้องหลัง มยทา ม ย และท (อาเทสา) เป็นอาเทศ นิคฺคหีตสฺส
ของนิคคหิต วา ได้บ้าง กฺวจิ ในบางแห่ง โหนฺติ ย่อมเป็น.
สเร ปเร
นิคฺคหีตสฺส กฺวจิ ม, ย, ทา โหนฺติ
วาฯ
เพราะสระหลัง แปลงนิคคหิตเป็น
ม ย และ ท ได้บ้าง ในบางอุทาหรณ์.
ตตฺถ
ทาเทโส ย,
ต, เอตสทฺเทหิ นปุํสเก ทิสฺสติ –
บรรดาอาเทสทั้งสามนั้น
นิคคหิตที่อยู่หลังจาก
ย ต และ เอตศัพท์ ในนปุงสกลิงค์ ใช้ทเป็นอาเทศ เช่น
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
ยทพฺรวิ
|
ยํ + อพฺรวิ
|
ได้กล่าวคำใดไว้
|
ตทนิจฺจํ
|
ตํ + อนิจฺจํ
|
สิ่งนั้น ไม่เที่ยง
|
เอตทโวจ
สตฺถา
|
เอตํ + อโวจ สตฺถา
|
พระศาสดาได้ตรัสพระดำรัสนี้
|
สมาเส
ปน ทาเทโส ติลิงฺเค ทิสฺสติ –
ยทนนฺตรํ, ตทนนฺตรํ, เอตทตฺถา กถา [5]ฯ
เอตทตฺถา มนฺตนา [6]-ตตฺถ ยสฺส อตฺถสฺส วา ยสฺส ปทสฺส วา ยสฺสา กถาย วา อนนฺตรํ ยทนนฺตรํฯ
แต่ในสมาสทั้งสามลิงค์
ใช้ ท เป็นอาเทสของนิคคหิต เช่น
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
ยทนนฺตรํ,
|
ยํ + อนนฺตรํ
|
มีในลำดับแห่งเนื้อความใด
|
ตทนนฺตรํ,
|
ตํ + อนนฺตรํ
|
มีในลำดับแห่งบทนั้น
|
เอตทตฺถา
กถา ฯ
|
เอสา + อตฺถา กถา
|
กถานั้นมีวิมุตตินี้เป็นประโยชน์
|
เอตทตฺถา
มนฺตนา
-
|
เอสา + อตฺถา มนฺตนา
|
การปรึกษากันนั้นมีวิมุตตินี้เป็นประโยชน์
|
ในตัวอย่างเหล่านี้
รูปวิเคราะห์ของ คำว่า ยทนนฺตรํ (ที่ใช้ทเป็นอาเทสของย เป็นต้น ๓ ลิงค์ในบทสมาส)
ว่า
ยสฺส อตฺถสฺส อนนฺตรํ
ยทนนฺตรํ ลำดับแห่งเนื้อความใด (ย เป็นปุงลิงค์ในบทสมาส)
ยสฺส ปทสฺส อนนฺตรํ
ยทนนฺตรํ ลำดับแห่งบทใด (ย เป็นนปุงสกลิงค์ฯลฯ)
ยสฺสา กถาย
อนนฺตรํ ยทนนฺตรํ ลำดับแห่งถ้อยคำใด (ย เป็นอิตถีลิงค์ฯลฯ)
กฺวจิตฺเวว? ยเมตํ วาริชํ ปุปฺผํ, อทินฺนํ อุปสิงฺฆสิ[7] ฯ
กฺวจิ
ศัพท์ในสูตรนี้ มีประโยชน์อะไร (ใช้ศัพท์ว่า กฺวจิ เพื่ออะไรหรือ?)
เพื่อแสดงว่า
ในบางอุทาหรณ์ ท ไม่เป็นอาเทสของนิคหิต บ้าง เช่น
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
ยเมตํ
วาริชํ ปุปฺผํ,
อทินฺนํ
อุปสิงฺฆสิ
|
ยํ + เอตํ วาริชํ ปุปฺผํ
|
ท่านดมดอกบัวใด ที่ไม่มีใครเขาให้
|
มาเทโส
ย,
ต, เอตสทฺเทหิ ปุมิตฺถิลิงฺเคสุ ทิสฺสติ –
นิคหิตที่อยู่หลังจาก
ย ต และ เอตศัพท์ ในปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ ใช้มเป็นอาเทส
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
ยมาหุ เทเวสุ สุชมฺปตีติ
|
ยํ + อาหุ เทเวสุ สุชมฺปติ
|
เรียกเทพใดว่า ท้าวสุชัมบดี
ในสวรรค์ท.
|
ตมตฺถํ
ปกาเสนฺโต สตฺถา
|
ตํ + อตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา
|
พระศาสดา เมื่อทรงแสดงเนื้อความนั้น
|
เอตมตฺถํ
วิทิตฺวา
|
เอตํ อตฺถํ วิทิตฺวา
|
ครั้นรู้แล้วซึ่งเนื้อความนั้น
|
อญฺญสทฺเทหิ
ปน เทฺว อาเทสา ติลิงฺเค ทิสฺสนฺติ –
สกทาคามี, เอวเมตมภิญฺญาย [11]อิจฺจาทิฯ
นิคหิตที่อยู่หลังจากศัพท์อื่นๆในลิงค์ทั้งสาม
ใช้อาเทสสอง (คือ ทและม) เช่น
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
สกทาคามี
|
สกิํ + อาคามี
|
พระสกทาคามี[12]
|
เอวเมตมภิญฺญาย
|
เอวํ + เอตํ + อภิญฺญาย
|
เพราะรู้ยิ่งซึ่งธรรมนั้นอย่างนี้
|
ยาเทโส
อิทํสทฺเท ปเร ตสทฺทมฺหา เอว กฺวจิ ทิสฺสติ –
ในบางแห่ง
นิคคหิตที่อยู่หลังจากตศัพท์ และมีอิทํศัพท์อยู่ข้างหลัง ใช้ยเป็นอาเทส เช่น
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
ตยิทํ น สาธุ
|
ตํ + อิทํ น สาธุ
|
กรรมนั้น ไม่ดีเลย
|
ตยิทํ
น สุฏฺฐุ
|
ตํ + อิทํ น สุฏฺฐุ
|
กรรมนั้น ไม่ใช่กรรมดี
|
บทความ :
ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
พินทาเทสสนธิ “การแปลงนิคคหิต หรือ อักษรที่ใช้แทนนิคคหิต”
เมื่อคราวที่แล้วกล่าวถึงการแปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนที่สุดของวรรค
ตามหลักการของสูตรว่า “วคฺเค วคฺคนฺโต” ไปแล้ว บัดนี้จะกล่าวถึง
การแปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะ ๓ ตัว คือ ม ย ท ตามหลักการของสูตรนี้คือ
หลักการ :
สูตรกำกับวิธีการ
๔๗. มยทา สเร [15]ฯ
เพราะสระหลัง
แปลงนิคคหิตเป็น ม ย และ ท ได้บ้าง ในบางอุทาหรณ์.
หลักเกณฑ์ :
ขอบเขตและคำอธิบายของสูตรโดยสังเขป
สูตรนี้เป็นวิธีการแปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะ
๓ ตัวนี้ คือ ม ย และ ท ในกรณีที่อยู่หน้าสระ. สูตรนี้ท่านแบ่งขอบเขตการใช้พยัญชนะ
๓ ตัวนี้ไว้เป็นกรณีต่างๆ คือ
๑)
การใช้ ท อาเทส
๑.
ถ้าอยู่หลังจาก ย ต และ เอตศัพท์ ซึ่งเป็นศัพท์นปุงสกลิงค์
๒. ถ้า ย ต และ
เอตศัพท์นั้น เป็นศัพท์ที่อยู่ในสมาสจะไม่มีการจำกัดว่าจะเป็นลิงค์ใด
(ข้อนี้ต่างจากข้อ
๑ คือ การใช้ ทอาเทส ในข้อ ๑ ถ้าไม่ใช่สมาส ย ต เอต จะต้องเป็นนปุงสกลิงค์เท่านั้น
แต่ข้อนี้ ยกเว้นในสมาส ไม่ว่าจะเป็นลิงค์ใด ก็ใช้ ทอาเทสได้.
๒)
การใช้ม อาเทส
๓. อยู่หลังจาก
ย ต และ เอตศัพท์ ในปุงลิงค์และอิตถีลิงค์
๔. ถ้าอยู่หลังจากศัพท์อื่นๆ
ไม่จำกัดลิงค์ไม่ว่าจะเป็นลิงค์ใด ใช้ได้ทั้ง ทและม.
๓)
การใช้ ย อาเทส
๕. อยู่หลังจากตศัพท์
และมีอิทํศัพท์อยู่ข้างหลัง คือ อยู่ระหว่าง ต และ อิทํ
การใช้ ท
อาเทส
๑.
ในกรณีที่อยู่หลังจาก ย ต และ เอต
ยทพฺรวิ ยํ + อพฺรวิ ได้กล่าวคำใดไว้
ตทนิจฺจํ ตํ +
อนิจฺจํ สิ่งนั้น ไม่เที่ยง
เอตทโวจ
สตฺถา เอตํ + อโวจ
สตฺถา พระศาสดาได้ตรัสพระดำรัสนี้
อุทาหรณ์กลุ่มนี้
จะเห็นว่า ยํ ตํ เอตํ เป็นวิเสสนสัพพนาม ใช้แทนศัพท์ที่เป็นนปุงสกลิงค์ กล่าวคือ
ยํ วจนํ ซึ่งคำใด, ตํ วตฺถุํ ซึ่งสิ่งนั้น, เอตํ วจนํ ซึ่งพระดำรัสนี้ ดังนั้น
จึงใช้ ท แทน นิคคหิตได้.
๒. ในกรณีที่ ย
ต และ เอต นั้นอยู่ในสมาส ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นนปุงสกลิงค์ จะเป็นลิงค์ใดก็ได้ เช่น
ยทนนฺตรํ, ยํ + อนนฺตรํ ลำดับแห่งเนื้อความใด
ตทนนฺตรํ, ตํ
+ อนนฺตรํ ลำดับแห่งบทใด
เอตทตฺถา กถา เอตํ + อตฺถา กถา กถาเป็นที่ตั้งแห่งคำพูดนั้น
เอตทตฺถา มนฺตนา เอตํ + อตฺถา มนฺตนา การปรึกษากันเป็นที่ตั้งของคำพูดนั้น
ในตัวอย่างเหล่านี้ คำว่า ยทนนฺตรํ เป็นศัพท์สมาส
ตัดบทเป็น ยํ + อนนฺตรํ มีรูปวิเคราะห์ว่า
ถ้าวิเคราะห์ว่า ยสฺส สทฺทสฺส อนนฺตรํ
ยทนนฺตรํ ลำตับแห่งศัพท์ใด.
กรณีนี้ แสดงว่า ย เป็นปุงลิงค์ เพราะสทฺท
ศัพท์ เป็นปุงลิงค์
ถ้าวิเคราะห์ว่า
ยสฺส ปทสฺส อนนฺตรํ ยทนนฺตรํ ลำดับแห่งบทใด
กรณีนี้แสดงว่า
ย เป็นนปุงสกลิงค์ เพราะ ปทศัพท์เป็นนปุงสกลิงค์
ถ้าวิเคราะห์ว่า
ยสฺสา กถาย อนนฺตรํ ยทนนฺตรํ ลำดับแห่งถ้อยคำใด
กรณีนี้ แสดงว่า
ย เป็นอิตถีลิงค์ เพราะ กถา ศัพท์เป็นอิตถีลิงค์
แม้ในศัพท์ว่า
ตทนนฺตรํ ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้
เอตทตฺถา
ตัดเป็น เอสา กถา + อตฺถา และ เอสา กถา + มนฺตนา ดังนั้น เอต หมายถึง กถา
ซึ่งเป็นอิตถีลิงค์ ดังนั้น จึงสามารถใช้ ท แทนนิคหิตได้โดยไม่มีข้อจำกัด.
จากตัวอย่างเหล่านี้จะเห็นว่า
นิคหิตที่อยู่หลัง ยศัพท์ในบทสมาส ไม่ว่าจะเป็นลิงค์ใด ก็ใช้ ท ได้
ต่างจากในกรณีแรก ที่ต้องเป็นนปุงสกลิงค์เท่านั้น.
แม้เมื่อมีกฎว่า
จะสามารถใช้ ทอาเทสแทนนิคคหิตเมื่ออยู่หลัง ย ต เอต ศัพท์ในนปุงสกลิงค์
แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางอุทาหรณ์ เช่น
ยเมตํ วาริชํ
ปุปฺผํ,
อทินฺนํ อุปสิงฺฆสิ
ท่านดมดอกบัวนี้อันใด
ที่ไม่มีใครเขาให้
คำว่า ยเมตํ
ตัดเป็น ยํ + เอตํ โดยที่ ยํ หมายถึง ปุปฺผํ (ปุปฺผ + อํ) อันเป็นนปุงสกลิงค์
แต่ก็ใช้ มอาเทส ไม่ใช้ ทอาเทส.
การใช้ ม อาเทส
ม อาเทส
นี้จะถูกใช้ในกรณีที่อยู่หลังจาก ย ต และ เอตศัพท์ ในปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ แต่ถ้าอยู่หลังจากศัพท์อื่นๆ
ไม่จำกัดลิงค์ไม่ว่าจะเป็นลิงค์ใด ใช้ได้ทั้ง ทและม. มาดูตัวอย่างการใช้กันครับ
๓). อยู่หลังจาก
ย ต และ เอตศัพท์ ในปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ ให้ใช้ ม เท่านั้น
ยมาหุ
เทเวสุ สุชมฺปตีติ
บรรดาทวยเทพท.
เรียกเทพใดว่า ท้าวสุชัมบดี ในโลกสวรรค์ท.
ในตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างของ
ย สัพพนามในปุงลิงค์
คำว่า
ยมาหุ ตัดบทเป็น ยํ + อาหุ ยํ หมายถึง เทวํ (เทว + อํ) คือ เทวดา อันเป็นปุงลิงค์ จึงแปลง นิคคหิตเป็น
ม ได้ตามระเบียบ
ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา
พระศาสดา
เมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น
แม้ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างของ
ต สัพพนามในปุงลิงค์ คำว่า ตมตฺถํ
ตัดบทเป็น ตํ + อตฺถํ ดังนั้น ตํ หมายถึง อตฺถํ เป็นปุงลิงค์เช่นกัน
เอตมตฺถํ
วิทิตฺวา
ครั้นรู้แล้วซึ่งเนื้อความนั้น
ตัวอย่างนี้เป็นของ
เอต สัพพนามในปุงลิงค์ คำว่า เอตมตฺถํ ตัดบทเป็น เอตํ + อตฺถํ
มีนัยเดียวกับที่กล่าวแล้ว
สำหรับอิตถีลิงค์ท่านไม่ได้แสดงไว้
คัมภีร์สัททนีติยกข้อความในคัมภีร์ชาดกมาแสดงว่า
ตมพฺรวิํ มหาราชา มทฺทิํ
พระมหาราชา
(หมายถึงพระเจ้าสิวีพระชนกของพระเวสสันดร)ได้ตรัสคาถานั้นกะพระนางมัททรี
กรณีนี้
ควรตัดบทเป็น ตํ คาถํ อพฺรวิํ แสดงว่า ตํ
หมายถึง คาถํ (คาถา + อํ) อันเป็นอิตถีลิงค์
๔).
ถ้าอยู่หลังจากศัพท์อื่นนอกจาก ย ต และ เอตเหล่านั้น ใช้ได้ทั้ง ม และ ท เช่น
สกทาคามี
พระสกทาคามี
สกทาคามี
ตัดเป็น สกิํ + อาคามี
รูปนี้เคยกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่ง
คือ เมื่อ แปลงนิคคหิตเป็น ท ด้วยสูตรนี้แล้ว แปลง อิ เป็น อ ด้วยมหาสูตร.
เอวเมตมภิญฺญาย
เพราะรู้ยิ่งซึ่งธรรมนั้นอย่างนี้
เอวเมตํ
ตัดเป็น เอวํ + เอตํ + อภิญฺญาย
สองตัวอย่างนี้จะเห็นว่า
นิคคหิตไม่ได้อยู่ท้าย ย ต และเอต ดังนั้น เมื่ออยู่ท้ายศัพท์ใดศัพท์หนึ่ง
ก็สามารถใช้ทั้ง ท หรือ ม ก็ได้ ในกรณีนี้ดูเหมือนเป็นข้อยกเว้นจากข้อ ๑
การใช้ ย
อาเทสของนิคคหิต
๕). อยู่หลังจากตศัพท์
และมีอิทํศัพท์อยู่ข้างหลัง คือ อยู่ระหว่าง ต และ อิทํ
กรณีนี้
ไม่ซับซ้อน เพราะถูกกำหนดด้วยต และ อิทํ ศัพท์อย่างแน่นอน เช่น
ตยิทํ น
สาธุ กรรมนั้น ไม่ดีเลย
ตยิทํ น
สุฏฺฐุ กรรมนั้น
ไม่ใช่กรรมดี
คำว่า
ตยิทํ ในสองตัวอย่างนี้ ตัดเป็น ตํ + อิทํ ดังนั้น นิคหิตท้าย บทว่า ตํ และ
อยู่หน้าบทว่า อิทํ จึงกลายเป็น ย ได้รูปเป็น ตยิทํ ด้วยประการฉะนี้
กฏเกณฑ์ของการใช้
มยและท อาเทสของนิคคหิต ทั้ง ๕ ข้อนี้ ศึกษาเปรียบเทียบในคัมภีร์อื่น คือ
[คัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์แสดงไว้ด้วยสูตรว่า
๓๔
(รูป. ๕๒) มทา สเรฯ และ
๓๕
(รูป.๓๔) ย ว ม ท น ต ร ลา จาคมาฯ
คัมภีร์สัททนีติแสดงไว้ด้ย
๔ สูตรนี้
๑๔๒. ยเตเตหิ โท สเร ปาเยน.
๑๔๓. โม อิตเร.
๑๔๔. สมาเส โท
ติลิงฺเค.
๑๔๕. เสสโต โม
โท จ สเร พฺยญฺชเน วา.
จะเห็นได้ว่า
คัมภีร์สัททนีติ ยกวิธีการทั้งหมดแบ่งเป็น ๔ สูตร ทำให้ง่ายต่อการจดจำ
ผู้สนใจควรศึกษาในคัมภีร์สัททนีตินั้นสืบไป
ขออนุโมทนา
สมภพ
สงวนพานิช
[1] [ก. ๓๔, ๓๕; รู. ๓๔, ๕๒; นี. ๑๔๒-๕]
[2] [ชา. ๑.๒.๑๔๓]
[3] [ม. นิ. ๒.๑๙]
[4] [สุ. นิ. ทฺวยตานุปสฺสนาสุตฺต]
[5] [อ. นิ. ๒.๖๘]
[6] [อ. นิ. ๒.๖๘]
[7] [ชา. ๑.๖.๑๑๕]
[8] [ชา. ๑.๑๕.๕๔]
[9] [ชา. อฏฺฐ. ๑.๒๐.๓๕]
[10] [มหาว. ๒-๓]
[11] [สุ. นิ. ๑๑๒๑ โปสาลมาณวปุจฺฉา] ปาฐะปัจจุบันเป็น เอวเมตํ อภิญฺญาย
[12] รูปนี้เคยกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่ง
จะกล่าวซ้ำอีกครั้ง คือ เมื่อ แปลง นิคคหิตเป็น ท ด้วยสูตรนี้แล้ว แปลง อิ เป็น อ
ด้วยมหาสูตร.
[13] [ชา. ๒.๒๒.๒๗๙]
[14] [ชา. ๒.๒๒.๒๗๙]
[15] [ก. ๓๔, ๓๕; รู. ๓๔, ๕๒; นี. ๑๔๒-๕]
[16] ท่านยกมาจากพระบาฬีกถาวัตถุสูตร
ติกนิบาต อังคุตรนิกาย และในอรรถกถาพระบาฬีนี้ อธิบายสองศัพท์นี้ว่า
เอตทตฺถา, ภิกฺขเว, กถาติ, ภิกฺขเว, ยา เอสา กถาสมฺปโยเคนาติ กถา ทสฺสิตา,
สา เอตทตฺถา, อยํ ตสฺสา กถาย ภูมิ ปติฏฺฐาฯ
อิทํ วตฺถุ ยทิทํ อนุปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข
คำว่า
เอตทตฺถา ภิกฺขเว กถา ความว่า ภิกษุทั้งหลาย คำพูดใดที่ตถาคตแสดงแล้วว่า
ด้วยการร่วมสนทนากัน, คำพูดนั้น ชื่อว่า มีความหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น
เป็นประโยชน์ เป็นที่ตั้ง เป็นเหตุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น