วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๒๐. วิธีการมีใช้ไม่มาก - จบ โลปราสิ

อปฺปวิธานมุจฺจเตฯ
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงวิธีการบางสิ่งในโลปราสินี้.
๓๓. ตทมินาทีนิ [จํ. ๕.๒.๑.๒๗; ปา. ๖.๓.๑๐๙; มุ. ๒.๓๔; กา. ๒.๒๗]ฯ
มหาวุตฺติสุตฺตมิทํ, ตทมินาทีนิ ปทรูปานิ อิมินา นิปาตเนน สิชฺฌนฺตีติ อตฺโถฯ


๓๓. ตทมินาทีนิ
รูปสำเร็จมี ตทมินา เป็นต้น (ย่อมมี ตามพระบาฬี)
สูตรนี้เป็นสูตรใหญ่ คือ มีการใช้สำเร็จรูปอย่างกว้างๆ.  ความหมายคือ รูปว่า ตทมินา เป็นต้น ย่อมสำเร็จด้วยนิปาตนสูตรนี้[๑].

สรโลโป พฺยญฺชเน
ลาพุ=อลาพุ, ปิธานํ=อปิธานํ, ทฺวารํ ปิทหิตฺวา=อปิทหิตฺวา, คินิ=อคฺคินิ, รตฺนํ=รตนํ, นฺหานํ=นหานํ, อสฺนาติ=อสนาติ, หนฺติ=หนติ, หนฺติ กุทฺโธ ปุถุชฺชโน [อ. นิ. ๗.๖๔], ผลํ เว กทลิํ หนฺติ [อ. นิ. ๔.๖๘], สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติฯ
เมื่ออยู่ติดกับพยัญชนหลัง สระหน้าถูกลบ
ลาพุ = (มาจาก) อลาพุ (ในบทว่า อลาพุ ลบ อ ที่อยู่ติดกับ ลฺ )
ปิธานํ = อปิธานํ (ในบทว่า อปิธานํ ลบ อ ที่อยู่ติดกับ ปฺ – อุ.อื่นก็มีนัยนี้)
ปีทหิตฺวา = อปิทหิตฺว เช่น ในประโยคว่า ทฺวารํ ปทหิตฺวา ปิดประตู
คินิ = อคฺคินิ ลบ อ ที่ติดกับ คฺ ในรูปนี้ เมื่อลบ อ แล้ว คฺ ที่เคยเป็นสังโยคท้ายสระ จึงถูกลบไปโดยปริยาย เหตุที่นิมิตถูกลบไป จึงเป็นรูปว่า คินิ.
รตฺนํ = รตนํ ลบ อ ที่ ต
นฺหานํ = นหานํ, ลบ อ ที่ น
อสฺนาติ = อสนาติ, ลบ อ ที่ ส
หนฺติ = (มาจาก) หนติ (หนติ = หนฺ + อวิกรณปัจจัย + ติวิภัตติ,  ลบ อ วิ. ที่อยู่ติดกับ ติ)
ในรูปนี้ มีตัวอย่างในพระบาฬีว่า หนฺติ กุทฺโธ ปุถุชฺชโน [อ. นิ. ๗.๖๔] ปุถุชนเป็นผู้โกรธย่อมประทุษร้าย (ฆ่า),  ผลํ เว กทลิํ หนฺติ [อ. นิ. ๔.๖๘] ผลกล้วยย่อมทำลายต้น, สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ สักการะย่อมฆ่าคนชั่วฯ
กตฺถจิ พหุวจนมฺปิ ทิสฺสติฯ
สำหรับรูปว่า หนฺติ นี้ บางแห่งเป็นพหุวจนะ (ไม่ใช่เอกวจนะ) ตังตัวอย่างนี้
วิกฺโกสมานา ติพฺพาหิ, หนฺติ เนสํ วรํ วรํ [ชา. ๒.๒๒.๒๓๗๐]ฯ
นายพรานเหล่านี้ (ได้ขึงข่ายล้อมฝูงเนื้อในป่าไล่ต้อนให้ตกลงในหลุมแล้ว) แผดเสียง ไล่ทิ่มแทงเนื้อตัวล่ำพีแห่งฝูงนั้นด้วยหอกอันคม.[๒]

อิวณฺณโลเป
อารามรุกฺขเจตฺยานิ=เจติยานิ [ธ. ป. ๑๘๘], อถตฺเถกสตํ ขตฺยา [ชา. ๒.๒๒.๕๙๔] =ขตฺติยา, ติถฺยา ปุถุโส วทนฺติ [สุ. นิ. ๘๙๗]ฯ ติถฺยา ปุถุโส นิวิฏฺฐา [สุ. นิ. ๘๙๘] =ติตฺถิยาฯ วิทฺธสฺโต=วิทฺธํสิโต, อุตฺรสฺโต=อุตฺราสิโต, สฺเนโห=สิเนโห, กฺเลสวตฺถูนิ=กิเลสวตฺถูนิ, กฺริยา=กิริยา, ปฺลวนฺติ=ปิลวนฺติ.
ในที่ลบอิวัณณะ (อิ อี ตัวหน้าถูกลบไป ในกรณีที่อยู่ติดพยัญชนะหลัง)
อารามรุกฺขเจตฺยานิ  = (มาจาก) เจติยานิ [ธ. ป. ๑๘๘], ลบ อิ ที่ เจติ
อถตฺเถกสตํ ขตฺยา [ชา. ๒.๒๒.๕๙๔] =ขตฺติยา, ลบ อิ เพราะ ยพยัญชนะ. = ขตฺตฺยา พยัญชนสังโยคมีรูปเหมือนกันลบตัวที่เหมือนกันได้ เป็น ขตฺยา
ติถฺยา ปุถุโส วทนฺติ [สุ. นิ. ๘๙๗]ฯ
ติถฺยา ปุถุโส นิวิฏฺฐา [สุ. นิ. ๘๙๘] =ติตฺถิยาฯ
(รูปนี้ ลบ อิ ที่ ถิ เป็น ติตฺถฺยา.  คัมภีร์สัททนีติระบุว่า ห้ามลบ ตฺ  เพราะถือว่า สังโยครูปต่างกันแม้มีสองตัว ก็ไม่ให้ลบ ซึ่งต่างจากในกรณีที่เป็นสังโยครูปเหมือนกันดังเช่น ขตฺยา (ในสูตร ๑๒๐. ตีสุ พฺยญฺชเนเสฺวโก สรูโป โลปํ. โมเจสิ เอกสตํ ขเตฺย. อคฺยาคารํ. สรูโปติ กึ ? เอวมฺปิ ติตฺถฺยา ปุถุโส วทนฺติ.) แม้ในพระบาฬีสุตตนิบาตดังกล่าวก็มีรูปว่า ติตฺถฺยา รูปนี้ยังฉงนอยู่?)

วิทฺธสฺโต=วิทฺธํสิโต, ลบ อ ที่ ธํ เพราะ นิคคหิต (ลบนิคคหิตเพราะ ส พยัญชนะ) และ ลบ อิ ที่ สิ เพราะ ต พยัญชนะ
อุตฺรสฺโต=อุตฺราสิโต, ลบ อิ ที่ สิ และ รัสสะในที่มีสังโยคอยู่หลัง.
สฺเนโห=สิเนโห, ลบ อิ เพราะ นพยัญชนะ
กฺเลสวตฺถูนิ=กิเลสวตฺถูนิ, ลบ อิ เพราะ ล พยัญชนะ
กฺริยา=กิริยา, ลบ อิ เพราะ รพยัญชนะ
ปฺลวนฺติ=ปิลวนฺติ. ลบ อิ เพราะลพยัญชนะ.
รูปเหล่านี้ บางรูปมีแสดงไว้ในสูตรของคัมภีร์สัททนีติ (๖๙. สรโลโป ยมนราทีสุ วา.  ลบสระหน้า ถ้ามีย ม น ร เป็นต้นอยู่หลัง) แต่บางรูปมีนอกเหนือจากสัททนีติ แสดงว่า นิรุตตทีปนีแสดงรูปได้มากกว่า.

อุวณฺณโลเป
ปทฺมานิ=ปทุมานิ, อุสฺมา=อุสุมา อิจฺจาทิฯ
ลบอุอู (อุวัณณะ) ในกรณีที่มีพยัยญชนะอยู่หลัง เช่น
ปทฺมานิ = (มาจาก) ปทุมานิ
อุสฺมา = อุสุมา (ลบ อุ ที่ สุ)

สํโยคาทิพฺยญฺชนโลโป จ
ปุตฺตานญฺหิ วโธ ทุโข, มาติโฆ ลภเต ทุขํ, อปฺปสฺสาทา กามา ทุขา, นตฺถิ กามปรํ ทุขํ [ชา. ๒.๑๙.๑๑๘], เสโข=เสกฺโข, อเปขา=อเปกฺขา, อุปสมฺปทาเปโข=อุปสมฺปทาเปกฺโข [มหาว. ๗๐] อิจฺจาทิฯ
ลบพยัญชนะตัวต้นของสังโยค เช่น
ปุตฺตานญฺหิ วโธ ทุโข,
มาติโฆ ลภเต ทุขํ,
อปฺปสฺสาทา กามา ทุขา,
นตฺถิ กามปรํ ทุขํ [ชา. ๒.๑๙.๑๑๘],
เสโข=เสกฺโข,
อเปขา=อเปกฺขา,
อุปสมฺปทาเปโข=อุปสมฺปทาเปกฺโข [มหาว. ๗๐]
(ในข้อความเหล่านี้ ทุโข เป็นต้น ลบ กฺ ตัวต้นของ กฺข ในคำว่า ทุกฺโข,เสกฺโข, อเปกฺขา เป็นต้น )

สเรน สห พฺยญฺชนโลโป
ปฏิสงฺขา โยนิโส [อ. นิ. ๖.๕๘], อกฺขาติ=อกฺขายติ, คนฺธํ ฆาติ=ฆายติ, อภิญฺญา=อภิญฺญาย, ปริญฺญา=ปริญฺญาย, อธิฏฺฐา=อธิฏฺฐาย, ปติฏฺฐา=ปติฏฺฐาย, อาวีกตา หิสฺส ผาสุ [มหาว. ๑๓๔], อสฺสวนตา ธมฺมสฺส ปริหายนฺติ [มหาว. ๘], วิปาโก ตทารมฺมณตา อุปฺปชฺชติ [ปฏฺฐา. ๓.๑.๙๘], ทสาหปรมตา ธาเรตพฺพํ [ปารา. ๔๖๒], นายํ พฺราหฺมณโภชนตฺถา, ติโลทโน เหหิติ [ชา. ๑.๘.๑], วิสเสโนว คารยฺโห, ยสฺสตฺถา รุกฺขโรปกา [ชา. ๑.๓.๕๔] =วิสเสโนวาติ เอวํนามโก ราชา เอว, ยสฺสตฺถา ทูรมายนฺติ [ชา. ๑.๓.๒๘]ยสฺสาติ อุทรสฺส, ปิตุ อตฺถา จนฺทวตี [ชา. ๑.๙.๖๖], อุปาทารูปํ, อนุปาทา วิมุตฺโต, สทฺธาปพฺพชิโต, อุปนิธาปญฺญตฺติฯ สํวิธาวหาโร, ยาติ=ยายติ, วาติ=วายติ, นิพฺพาติ=นิพฺพายติ, นิพฺพนฺติ=นิพฺพายนฺติ, ปหาติ=ปหายติ, สปฺปติสฺโส=สปฺปติสฺสโย, สุหโท=สุหทโย=สพฺพตฺถ ยโลโป,

ลบ ย พร้อมสระ
(แปลง ตฺวา เป็น ย.  ลบ ย ที่แปลงมาจาก ตฺวา)
ปฏิสงฺขา โยนิโส [อ. นิ. ๖.๕๘], = (มาจาก) ปฏิสงฺขาย โยนิโส
ปฏิสงฺขาย = ปฏิ + สํ + ขา ญาเณ + ตฺวา.
อกฺขาติ = (มาจาก) อกฺขายติ,
คนฺธํ ฆาติ = (มาจาก) ฆายติ, [๓]
อภิญฺญา = (มาจาก) อภิญฺญาย,
ปริญฺญา = (มาจาก) ปริญฺญาย,
อธิฏฺฐา = (มาจาก) อธิฏฺฐาย,
ปติฏฺฐา = (มาจาก) ปติฏฺฐาย,

(ลบ ย ที่แปลงมาจา นา ส สฺมา สฺมึ  ท้ายนามศัพท์อิตถีลิงค์)
อาวีกตา หิสฺส ผาสุ [มหาว. ๑๓๔], = (มาจาก) อาวีกตาย หิสฺส ผาสุ
อสฺสวนตา ธมฺมสฺส ปริหายนฺติ [มหาว. ๘], = (มาจาก) อสฺสวนตาย ธมฺมสฺส ปริหายนฺติ
วิปาโก ตทารมฺมณตา อุปฺปชฺชติ [ปฏฺฐา. ๓.๑.๙๘], = (มาจาก) วิปาโก ตทารมฺมณตาย อุปฺปชฺชติ
ทสาหปรมตา ธาเรตพฺพํ [ปารา. ๔๖๒], = (มาจาก) ทสาหปรมตาย ธาเรตพฺพํ

(ลบ ย ของ อาย ที่แปลงมาจาก ส จตุตถีวิภัตติที่ใช้ในอรรถตทัตถสัมปทาน.)
นายํ พฺราหฺมณโภชนตฺถา, ติโลทโน เหหิติ [ชา. ๑.๘.๑= นายํ พฺราหฺมณโภชนตฺถาย
ยสฺสตฺถา ทูรมายนฺติ [ชา. ๑.๓.๒๘]ยสฺสาติ อุทรสฺส,
ยสฺสตฺถา = ยสฺสตฺถาย ทูรมายนฺติ.  คำว่า ยสฺส ได้แก่ อุทรสฺส [๔]
ปิตุ อตฺถา จนฺทวตี [ชา. ๑.๙.๖๖], = ปิตุ อตฺถาย
จนฺทวตี นางจันทวดี บูชายัญเพื่อประโยชน์ของพระบิดา.



(ลบ ย ที่แปลงมาจาก ตฺวา ปัจจัย และอยู่ในสมาส[๕].)
อุปาทารูปํ  =  อุปาทายรูปํ รูปอาศัยมหาภูตรูป เรียกว่า อุปาทายรูป.
อนุปาทา วิมุตฺโต = อนุปาทายวิมุตฺโต อนุปาทายวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น.
สทฺธาปพฺพชิโต, = (สทฺธายปพฺพชิโต บรรพชิตผู้บวชโดยศรัทธา
อุปนิธาปญฺญตฺติฯ  = อุปนิธายปญฺญตฺติ อุปนิธายบัญญัติ บัญญัติโดยการเปรียบเทียบ.
สํวิธาวหาโร  = สํวิธายาวหาโร, การขโมยโดยการจัดแจงวิธีการไว้ก่อน (ตกลงกันก่อน)
สทฺธาย ปพฺพชิโต สทฺธาปพฺพชิโต.
สทฺธาย = สํ+ธา+ตฺวา.  แปลง ตฺวา เป็น ย เหมือนนัยก่อน และลบย[๖].  

(ลบ ย วิกรณปัจจัย)
ยาติ = (มาจาก) ยายติ,
วาติ = (มาจาก) วายติ,
นิพฺพาติ = (มาจาก) นิพฺพายติ,
นิพฺพนฺติ = (มาจาก) นิพฺพายนฺติ,
ปหาติ = (มาจาก) ปหายติ,

สองศัพท์นี้ลบ ย ของนามศัพท์.
สปฺปติสฺโส = (มาจาก) สปฺปติสฺสโย,
สุหโท = (มาจาก) สุหทโย

----------------------
มุขโร=มุขขโร, วาจากรโณ=วากฺกรโณ, วาจาปโถ=พฺยปฺปโถ=วาสฺส พฺยตฺตํ, รสฺสตฺตญฺจ, เอวํ พฺยาโข=เอวํ วิย โข=วิสฺส พฺยตฺตํ, ทีโฆ จ ยโลโป จฯ
กลุ่มนี้ลบพยัญชนะบางตัวที่นอกจาก ย
มุขโร=มุขขโร,
มุขโร มาจาก มุขขโร ลบ ข 1 ตัว แปลว่า
๑) ผู้ถือเอาซึ่งกรรมอันไม่น่าพอใจด้วยปาก. (สี.ฎี. ๑/๑๙๕) มุข +รา ธาตุ ถือเอา + อ) มุเขน วา อมนาปํ กมฺมํ ราติ คณฺหาตีติ มุขรา.
๒) มีปากคม คือ มีคำพูดแหลมคม คือ วาจาเชือดเฉือน (ม.อฏฺ. ๑/๓๘)

วาจากรโณ=วากฺกรโณ.  ลบ จา และซ้อนกฺ โดยนิรุตตินัย.
วากฺกรโณ มาจาก วาจากรโณ. เสียงที่เปล่งออกมา, คำพูด. การกระทำคือคำพูด. เสียงที่สื่อความหมายให้เข้าใจกันได้.[๗]

วาจาปโถ=พฺยปฺปโถ =วาสฺส พฺยตฺตํ, รสฺสตฺตญฺจ,
พฺยปฺปโถ มาจาก วาจาปโถ แปลง วา เป็น พฺย (ลบ จา ท่านไม่ได้แสดงไว้) และ รัสสะ[๘]

-----------------------







โลลุโป, โมมุโห, กุกฺกุโจ, สุสุโข, โรรุโวอิจฺจาทีสุ ปน อติสยตฺถทีปนตฺถํ ปททฺวิตฺตํ กตฺวา ปุพฺพปเทสุ อกฺขรโลโปฯ
แต่ในบางรูป เมื่อทำเทวภาวะอักษร (ซ้อนตัวเดิมเป็นสองตัว) เพื่อแสดงเนื้อความทิ่ยิ่งพิเศษ ลบอักษรในบทหน้าได้ ดังนั้น พยัญชนะพร้อมสระตัวสุดท้ายของบทหน้า เช่น  
โลลุโป มาจาก โลปลุโป แปลว่า โลภอย่างหนัก
โมมุโห, โมหมุโห หลงอย่างยิ่ง
กุกฺกุโจ, กุจกุโจ เดือดร้อนอย่างยิ่ง
สุสุโข, สุขสุโข สุขอย่างยิ่ง
โรรุโว รุวรุโว ร้องเสียงดังยิ่ง.

ปทโลโป อาทิมชฺฌนฺเตสุ
ทตฺโต=เทวทตฺโต, อสฺเสหิ ยุตฺโต รโถ=อสฺสรโถ, รูปภโว=รูปํ, อรูปภโว=อรูปํ อิจฺจาทิฯ
          ลบบทในเบื้องต้นและท่ามกลางและที่สุด เช่น
ทตฺโต มาจาก เทวทตฺโต ลบบทต้น
อสฺเสหิ ยุตฺโต รโถ อสฺสรโถ ลบบทกลาง
รูปํ มาจาก รูปภโว ลบบทท้าย
อรูปํ มาจาก อรูปภโว ลบบทท้าย.

โลปราสิ นิฏฺฐิโต.
กลุ่มศัพท์ที่ถูกลบ จบ.




[๑] (คือเป็นสูตรใหญ่ ในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์นี้ น เช่นเดียวกับสูตรว่า กฺวจิ ธาตุวิภตฺติปฺปจฺจยานํ ทีฆวิปรีตาเทสโลปาคมา จฯ, ยทนุปปนฺนา นิปาตนา สิชฺฌนฺติ, ปจฺจยา ทนิฏฺฐา นิปาตนา สิชฺฌนฺติและ กฺวจาทิมชฺฌุตฺตรานํ ทีฆรสฺสาปจฺจเยสุ จที่ใช้แยกเฉพาะบทแต่ละประเภท แต่ในโมคคัลลานมีสูตรนี้เพียงสูตรเดียวที่ใช้ครอบคลุมลักษณะพิเศษทุกเรื่อง). ดังนั้น ในอุทาหรณ์ในพระบาฬีที่ไม่มีสูตรสำเร็จรูป ก็ให้อ้างสูตรนี้สำเร็จรูปตามพระบาฬีนั้น เพราะถือวา “รูปว่า ตทมินา เป็นต้นนี้ ก็มีใช้อยู่” ส่วนขั้นตอนการประกอบรูปให้อ้างอิงตามที่ควรจะเป็น ดังที่ท่านจะแสดงต่อไป.
[๒] หนฺติ ก็คือ หนนฺติ อรรถกถาชาดกเวสสันตร แก้ศัพท์นี้เป็น หนนฺติ. รูปพหุวจนะนี้ มาจาก หนฺ หึสา เบียดเบียน + อ + อนฺติ วิภัตติ. ลบ อ ที่ หฺ ด้วยสูตรนี้ และลบ นฺ ที่สุดธาตุด้วยสูตรใหญ่ (คือ สูตรนี้) = หฺ อ  + อนฺติ, ลบ อ วิกรณ ด้วยสูตร กฺวจิ วิกรณานํ.  ดังนั้น คำนี้ไม่ใช่เอกวจนะเหมือนอุทาหรณ์ว่า หนติ ที่ลบ อฺ ท้าย ห ที่อยู่ติดกับ นฺ) โปรดสังเกตที่บทลงปฐมาวิภัตติเป็นพหุวจนะ. นอกจากนี้ยังตัวอย่างอื่นอีก เช่น ลุทฺทกา มิคํ หนฺติ, นายพรานทั้งหลายฆ่าเนื้อ, เกวฏฺฏา มจฺฉํ หนฺติ พรานปลา ฆ่าปลา.
อีกนัยหนึ่ง รูปว่า หนฺติ ที่เป็นเอกวจนะ ลบ อวิกรณประจำหมวดภูวาทิ. ท่านแสดงไว้ดังนี้
ในที่มีการลบ วิกรณปัจจัย ด้วยสูตร กฺวจิ วิกรณานํ , หนฺ + อ + ติ ลบ อวิกรณ เป็น หนฺ + ติ = หนฺติ เช่น  ผลํ เว กทลึ หนฺติ ผลกล้วย ย่อมฆ่า (หน่อ) กล้วย, สกฺกาโร กาปุรสํ หนฺติ สักการะ ทำลายคนชั่ว., หนฺติ กุทฺโธ ปุถุชฺชโน ปุถุชน โกรธกริ้วแล้วย่อมฆ่า.
 (นิรุตติ. น. ๔๓๓ หลังสูตรว่า ๖๕๓ วจภุชมุจวิสานํ กฺขงฺ)
[๓] อีกนัยหนึ่ง ถ้ามีอรรถกรรม ลง ยปัจจัยในอรรถกรรม แล้วลบ ย ไปด้วยสูตรนี้.สองรูปนี้ลบ ย วิกรณในทิวาทิคณธาตุ ดังในธาตุปปิกาภาคผนวกว่า ขา และ ฆา นอกจากเป็นภูวาทิคณะแล้ว ยังอยู่ในทิวาคณ. ดังนั้น ในที่นี้ จึงลบ ยวิกรณ.
[๔] อรรถกถาทูตชาดก อธิบายว่า ยสฺส อตฺถาย อิเม สตฺตา ตณฺหาวสิกา หุตฺวา ทูรมฺปิ คจฺฉนฺติ สัตว์พวกนี้ตกภายใต้อำนาจความอยากไปยังที่ไกล เพื่อประโยชน์แห่งท้องใด. ในที่นั้นคำว่า ท้อง ได้แก่ ความอยาก. คนพวกนี้ถูกความอยากส่งไปยังที่ไกลเพื่อทำประโยชน์ของตัณหา.
[๕] สัททนีติ สูตร ๖๗๙ ห้ามการสมาสกับตฺวาปัจจยันตบทในกรณีที่เป็นกิริยาในระหว่าง เพราะยังมองหาปธานกิริยาข้างหลังอยู่ ดังนี้ว่า ตฺวาปจฺจยนฺตาทีหิ จ การย่อบทด้วยบทหลังที่เป็นกิริยาในระหว่างซึ่งลงท้ายด้วยตฺวาปัจจยเป็นต้น ย่อมไม่มี.ส่วนสูตรที่ ๖๘๓ อนุญาต ตฺวาปัจจยันตบทที่เป็นบทหน้าให้สมาสกับบทหลังได้แน่นอนดังนี้ว่า ตฺวาปจฺจยนฺตาทีหิ จ ปุพฺเพหิ. การย่อบทกับบทหน้ามีบทที่ลงท้ายด้วยตฺวาปัจจัยเป็นต้นด้วย  ย่อมมีอย่างแน่นอน. ปกติ ตฺวา ปัจจัย ถ้าเป็นบทหลัง ไม่สามารถเข้าสมาสกับบทหน้าได้ แต่ในกรณีที่เป็นบทหน้า สามารถเข้าสมาสกับบทหลังได้ ในรูปนี้ แปลง ตฺวา เป็น ย แล้วลบ ย ไปด้วยสูตรนี้.ดังตัวอย่างในที้นี้ว่า อุปาทายรูปํ =  มหาภูตานิ อุปาทาย (อุปาทยิตฺวา) + รูปํ อุปาทายรูปํ.)  อุ.อื่น เช่น อนุปาทายวิมุตติ แปลว่า การหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น = กญฺจิ ธมฺมํ อนุปาทยิตฺวา วิมุตฺติ.
[๖]ปกติ ธา ที่มี สํเป็นบทหน้า และใช้เป็นตฺวาปจฺจยนฺตบท จะกลายรูปเป็น สทฺทหิตฺวา แต่ถ้าเป็นนามศัพท์ จะเป็น สทฺธา โดยแปลงนิคคหิตเป็น ธวคฺคนฺต คือ นฺ แปลง นฺ เป็น ทฺ สำเร็จรูปเป็น สทฺธา ลง อปัจจัย + อาปัจจัย.  แต่ในรูปนี้เหมือนจะพ้นกฎเกณฑ์ โดยนำวิธีการที่เคยใช้เป็นนามศัพท์แล้วลงตฺวาปัจจัย เมื่อควรจะเป็น สทฺธาตฺวา ก็แปลง ตฺวา เป็น ย.  อีกนัยหนึ่ง รูปว่า สทฺธาย นี้เป็น ย ที่แปลงมาจาก สฺมา วิภัตติท้ายอิตถีลิงค์นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ควรจัดเป็นกลุ่มลบ ย ที่แปลงมาจากวิภัตติ.

[๗] มีวิธีแสดงไว้ใน ที.สี.อฏฺ. และสี.ฎี. ๒/๒๔๐, ๓๐๓
๒๖๘. กลฺยาณวากฺกรโณติ มธุรวจโนฯ (สี.อฏฺ.)
๒๖๘. อตฺถวิญฺญาปเน สาธนตาย วาจา เอว กรณํ วากฺกรณํ นิรุตฺตินเยน, ตํ กลฺยาณมสฺสาติ กลฺยาณวากฺกรโณฯ
๓๐๓. วากฺกรณนฺติ อุทาหรณโฆโสฯ.
๓๐๓. อตฺถวิญฺญาปเน สาธนตาย วาจาว กรณํ วากฺกรณนฺติ ตุลฺยาธิกรณตํ ทสฺเสตุํ ‘‘อุทาหรณโฆโส’’ติ วุตฺตํ, วจีเภทสทฺโทติ อตฺโถฯ
การกระทำคือวาจา เรียกว่า วากฺกรณ ได้แก่ การเปล่งเสียง, 
[๘] สัททนีติมีสูตร ๑๒๘. วาจาย โพฺย ปเถ. วาจาสทฺทสฺส โพฺย โหติ ปถสทฺเท ปเร. พฺยปฺปโถ.
เอวํ พฺยาโข=เอวํ วิย โข=วิสฺส พฺยตฺตํ, ทีโฆ จ ยโลโป จฯ
เอวํ พฺยาโข มาจาก เอวํ วิย โข. แปลง วิ เป็น พฺย, ทีฆะ อ เป็น พฺยา, ลบ ย ที่ วิย.
สัททนีติมีสูตร ๑๒๗. เอวํ ขฺวนฺตเร วิยสฺส พฺยา. เอวํสทฺทโขสทฺทานมนฺตเร ฐิตสฺส วิยสทฺทสฺส พฺยาเทโส โหติ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น