อา –
(สระ) อา เป็นอาคม
ตัวอย่าง
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
อฑฺเฒ
อาชายเร กุเล
|
อา + ชายเร
|
พึงเกิดในตระกูลมั่งคั่ง
|
มนุสฺเสสุ
ปจฺจาชาโต
|
ปติ>ปจฺจ + อา + ชาโต
|
ผู้กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์อีก
|
อาปูรติ
ตสฺส ยโส
|
อา + ปูรติ
|
ยศของเขาย่อมบริบูรณ์
|
ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
คร้้งที่ ๗๖ : อาคมสนธิ การเชื่อมบทโดยการแทรกเสียง
ต่อไปเป็น สระอา
เป็นอาคม.
ตัวอย่างการใช้สระอาเป็นอาคมนี้
มีไม่มากนัก
อฑฺเฒ อาชายเร
กุเล พึงเกิดในตระกูลมั่งคั่ง
ในตัวอย่างนี้
อาชายเร ตัดเป็น อา + ชายเร อา เป็นอาคม ไม่ใช่ อาอุปสัค ดังนั้น คำนี้จึงแปลว่า
พึงเกิด ไม่ต้องแปลออกอรรถใด เหมือนอย่าง อาอุปสัค.
มนุสฺเสสุ
ปจฺจาชาโต เกิดใหม่, (กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์อีกครั้ง)
ตัวอย่างนี้
มนุสฺเสสุ ปจฺจาชาโต
ในเบื้องต้นข้าพเจ้าตรวจดูในพระบาฬีปัจจุบันด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ไม่พบอุทาหรณ์นี้ คงมีแต่ มนุสฺเสสุ ปจฺจาชายติ ความหมายเหมือนกัน ต่างเพียงเป็นบทกิริยาอาขยาตเท่านั้น
เช่น
อปฺปกา เต สตฺตา
เย มนุสฺเสสุ ปจฺจาชายนฺติ;
อถ โข เอเตว สตฺตา พหุตรา เย อญฺญตฺร มนุสฺเสหิ ปจฺจาชายนฺติฯ (อํ.เอก.
๒๐/๓๒๓)
สัตว์ที่กลับมาเกิดอีกในมนุษย์ท.มีน้อย,
ที่เกิดในสัตว์เหล่าอื่นจากมนุษย์มีมาก.
อรรถกถาและฎีกาของพระสูตรนี้อธิบายว่า
สัตว์เหล่าอื่นในที่นี้ หมายถึง อบาย ๔ เท่านั้น ไม่ใช่เทวดา เพราะในที่นี้หมายเอาสัตว์ที่มีชาติกำเนิดต่ำกว่ามนุษย์.
กล่าวคือ ตายจากมนุษย์โลกแล้วมาเกิดในโลกมนุษย์อีกนั้นมีน้อย.
ในคัมภีร์ฎีกาบางแห่งเรียก
อา อาคมนี้ว่า เป็นเพียงอุปสัค (อุปสคฺคมตฺตํ)
ที่ไม่มีความหมายเหมือนที่ใช้ในอรรถอื่น เหมือนที่เรียก ออาคมว่า เป็นเพียงนิบาต
(นิปาตมตฺตํ)
อาปูรติ ยสฺส
ยโส
ยศของเขาย่อมบริบูรณ์
อา ที่ปูรติ คือ
อาอาคมในที่นี้
ข้อความนี้มาในปริวารบาฬี
ว่า
อาปูรติ ตสฺส
ยโส,
สุกฺกปกฺเขว
จนฺทิมาติฯ
ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม
เพราะชอบ เพราะชัง เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยมเหมือนดวงจันทร์ในวันข้างขึ้น
ฉะนั้น (วิ.ปริ. ๘/๑๑๐๗)
ขออนุโมทนาครับ
สมภพ สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น