มิสสกาเทส การแปลงอักษรที่คละกัน
“แปลง ว และ วิ เป็น พฺย”
ว, วีนํ พฺยตฺตํ –
พฺยโย=วโย,
วินาโสตฺยตฺโถ,
กิจฺจากิจฺเจสุ พฺยาวโฏ=วาวโฏ, ปงฺเก พฺยสนฺโน=วิสนฺโน[1], พฺยมฺหิโต = วิมฺหิโต, พฺยมฺหํ=วิมานํ-มานสฺส มฺหตฺตํฯ
พฺย เป็น อาเทส
ของ ว และ วิ เช่น
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
พฺยโย
|
วโย
|
เป็น วโย เหมือนเดิมก็มี.
ความหมายคือ พินาศ
|
กิจฺจากิจฺเจสุ พฺยาวโฏ
|
วาวโฏ
|
ความขวนขวายในกิจน้อยใหญ่
|
ปงฺเก พฺยสนฺโน
|
วิสนฺโน
|
ไม่เข้าไป ในโคลนตม
|
พฺยมฺหิโต
|
วิมฺหิโต
|
น่าประหลาด, อัศจรรย์
|
พฺยมฺหํ
|
วิมานํ
|
วิมาน,ที่อยู่ของเทวดา.
ในรูปนี้นอกจากจะแปลง วิ เป็น พฺย แล้ว แปลง มาน เป็น มฺห ด้วย จึงเป็น พฺยมฺหํ.
|
ตัวอย่างการแปลง
ว เป็น พฺย เช่น
พฺยโย มาจาก วโย
พินาศ แต่รูปว่า วโย ตามเดิม กลับมีใช้มากกว่า
พฺยาวโฏ
ความขวนขวาย มาจาก วาวโฏ เช่น กิจฺจากิจฺเจสุ พฺยาวโฏ ความขวนขวาย
(การพยายามหรือการกระทำ) ในกิจใหญ่น้อย
ตัวอย่างการแปลง
วิ เป็น พฺย เช่น
พฺยสนฺโน มาจาก
วิสนฺโน หมายถึง การไม่เข้าไป เช่น
ปงฺเก พฺยสนฺโน
ไม่เข้าไปในโคลนตม
พฺยมฺหิโต มาจาก
วิมฺหิโต แปลว่า น่าประหลาดใจ หรือ อัศจรรย์
พฺยมฺหํ มาจาก
วิมานํ แปลว่า วิมาน, ที่อยู่ของเทวดา.
ในรูปนี้นอกจากจะแปลง วิ เป็น พฺย แล้ว แปลง มาน เป็น มฺห ด้วย จึงเป็น
พฺยมฺหํ.
--------
“แปลง กฺข เป็น จฺฉ”
กฺขสฺส
จฺฉตฺตํ –
อจฺฉิ=อกฺขิ, สจฺฉิ=สกฺขิ-สห อกฺขินา วตฺตตีติ อตฺเถ นิปาโต, ปจฺจกฺขนฺติ
อตฺโถฯ นิพฺพานํ สจฺฉิกโรติ[2], มจฺฉิกา=มกฺขิกา, ลจฺฉี=ลกฺขี-สิรีติ อตฺโถฯ
จฺฉ เป็น อาเทศ
ของ กฺข เช่น
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
อจฺฉิ
|
อกฺขิ
|
ตา
|
สจฺฉิ
|
สกฺขิ
|
ประจักษ์. ศัพท์นี้เป็นนิบาต ในความหมายว่า เป็นไปกับตา หมายถึง เห็นต่อหน้าต่อตา.
|
นิพฺพานํ สจฺฉิกโรติ
|
สกฺขิกโรติ
|
ทำนิพพานให้ประจักษ์.
|
มจฺฉิกา
|
มกฺขิกา
|
แมลง
|
ลจฺฉี
|
ลกฺขี
|
ความโอ่อ่า, ศรี, สง่างาม.
|
ศัพท์บางศัพท์ที่ไม่ค่อยได้เห็น
อาจมาจากศัพท์ที่เราคุ้นเคยกันดีแล้วก็มี เช่น
อจฺฉิ แปลว่า ตา
ก็มาจาก อกฺขิ นั่นเอง แต่แปลง กฺข เป็น จฺฉ ได้
สจฺฉิ แปลว่า แจ่มแจ้ง
มาจาก สกฺขิ หมายถึง การเห็นแจ่มแจ้ง เหมือนกับเห็นด้วยตา ท่านกล่าวว่า สกฺขิ
ศัพท์ เป็นนิบาต ในความหมายเดิมๆว่า สห อกฺขินา วตฺตติ เป็นไปกับตาเห็น
ความหมายคือ เห็นต่อหน้าต่อตา.
สจฺฉิกโรติ
แปลว่า ทำให้แจ้ง มาจาก สกฺขิกโรติ เช่น นิพฺพานํ สจฺฉิกโรติ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน.
ความหมายคือ ทำให้พระนิพพานประจักษ์ เหมือนใช้ตาเห็น.
มจฺฉิกา แปลว่า
แมลง ก็คือ มกฺขิกา นั่นเอง
ลจฺฉี แปลว่า
ศรี, ความโอ่อ่า ก็มาจาก ลกฺขี อันเป็นไวพจน์กับคำว่า สิริ นั่นเอง.
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น