๑. สนฺธิกณฺฑ
สญฺญาราสิ
ครุสญฺญาราสิ
กัณฑ์ที่ ๑
สนธิกัณฑ์
กลุ่มว่าด้วยชื่ออักษร
กลุ่มครุสัญญา[1]
ครุสัญญา คือ
ชื่ออักษรที่ใช้กันโดยทั่วไปในคัมภีร์ไวยากรณ์
ครุสัญญา คือ ชื่ออักษรที่ใช้กันโดยทั่วไปในคัมภีร์ไวยากรณ์
ได้แก่ ชื่อเหล่านี้ คือ วัณณะ, สระ, สวัณณะ, ทีฆะ, รัสสะ, พยัญชนะ, วรรค, และ
นิคคหิต.
ออาทโย
พินฺทนฺตา เตจตฺตาลีสกฺขรา วณฺณา นาม โหนฺติฯ
อ, อา, อิ, อี, อุ, อู, เอต, เอ, โอต, โอฯ ก, ข, ค, ฆ, ง, จ, ฉ, ช, ฌ, ญ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ, ต, ถ, ท, ธ, น, ป, ผ, พ, ภ, ม, ย, ร, ล,ว
ส, ห, ฬ, อํฯ
อตฺถํ วณฺเณนฺติ ปกาเสนฺตีติ วณฺณา, อกฺขราติ จ วุจฺจนฺติ, นามปญฺญตฺติรูปตฺตา นกฺขรนฺติ ขยวยํ
น คจฺฉนฺตีติ อกฺขราฯ ‘‘นามโคตฺตํ น ชีรตี’’ติ [4]หิ
วุตฺตํฯ
ความหมายของคำว่า
วัณณะ
๑.
ออาทาโย ติตาลีสํ[5]
วณฺณา.
อักษร
๔๓ มี อ อา เป็นต้น มีชื่อว่า วัณณะ.
อักษร ๔๓ ตัว มี
อ อา เป็นเบื้องต้น และมีพินทุ (นิคคหิต) เป็นที่สุด มีชื่อว่า วัณณะ. (ได้แก่)
อ อา อิ อี อุ
อู เอตฺ โอตฺ [6]
ก ข ค ฆ ง
จ ฉ ช ฌ ญ
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ต ถ ท ธ น
ป ผ พ ภ ม
ย ร ล ว ส ห ฬ
อํ.
คำว่า วัณณะ คือ
อักษรที่ประกาศเนื้อความ และ โดยทั่วไปเรียก วัณณะเหล่านั้น ว่า อักษร. คำว่า
อักษร คือ เสียงที่ไม่ถึงความหมดและเสื่อมไป
เพราะเป็นรูปที่นำมาใช้ในการตั้งเป็นชื่อ (นามบัญญัติ ที่ใช้เรียกถึงสิ่งต่างๆ).
ดังพระบาฬีว่า นามโคตฺตํ น ชีรติ (ชื่อและตระกูล หาได้คร่ำคร่าไปไม่).
[1] ครุสัญญา
หมายถึง ชื่อที่สามารถตั้งวิเคราะห์ได้ เช่น วณฺณา หมายถึง
อักษรที่ประกาศเนื้อความ ดังนี้เป็นต้น. ส่วนลหุสัญญา หมายถึง
ชื่อที่ไม่สามารถตั้งชื่อได้ โดยตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่สังเกตหรือใช้แทนครุสัญญาเหล่านั้น
เช่น ฌ เป็นชื่อว่า อิ อี, ล เป็นชื่อของ
อุ อู ดังนี้เป็นต้น.
[2] [ติตาลีส (พหูสุ)]
[3] [ก. ๒; รู. ๒; นี. ๑, ๒]
[4] [สํ. นิ. ๑.๗๖]
[5] ติตาลีส
มาจาก ติ + จตฺตาลีสา = ๔๓ เป็นสมาส ลบ จตฺ และ รัสสะ อา ที่
จตฺตาลีสา ด้วยสูตร ตทมินาทีนิ เป็น ติตาลีส.
มีวิ. ตโย จ จตฺตาลีสา จ สี่สิบ
กับ อีก สาม ชื่อว่า สี่สิบสาม. (ตโย จ
จตฺตาลีสา จาติ จตฺถ สมาเส ‘‘ตทมินาทีนิ’’ติ จต โลเป จ รสฺเส จ ติตาลีสาติ. =
โมคฺ.ป.)
[6] เอตฺ
โอตฺ คือ เอ และ โอ ที่ ออกเสียง เป็นเสียงสั้นว่า เอะ และ โอะ. ตฺ เป็นอักษรเครื่องสังเกต (คัมภีร์ปทรูปสิทธิ
เรียกว่า อักษรอนุพันธ์) วิธีการเปลี่ยนแปลงอักษรในรูปแบบต่างๆ
ซึ่งท่านจะกล่าวอักษรเหล่านี้ต่อไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น