วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๕ ความหมายของคำว่า รัสสะ

ความหมายของคำว่า รัสสะ
๔. ปุพฺโพ รสฺโส[1]
ทฺวีสุ ทฺวีสุ สวณฺเณสุ โย โย ปุพฺโพ โหติ, โส โส รสฺโส นาม โหติฯ รสฺเสน กาเลน วตฺตพฺพาติ รสฺสา, รสฺสกาโล นาม อกฺขิทลานํ อุมฺมิสนนิมฺมิสนสมกาโลฯ

ตตฺถ เอต, โอต อิติ ทฺเว เอกปทสํโยเค ปเร กฺวจิ ลพฺภนฺติฯ เอฏฺฐิ, เสฏฺโฐ, โอฏฺโฐ, โสตฺถิฯ

เอกปทสํโยเคติ กิํ? ปทนฺตรสํโยเค ปเร รสฺสา มา โหนฺตูติฯ มํ เจ ตฺวํ นิขณํ วเน, [ชา. ๒.๒๒.๕] ปุตฺโต ตฺยาหํ มหาราช [ชา. ๑.๑.๗]ฯ

กฺวจีติ กิํ? เอกปทสํโยเคปิ วคฺคนฺเตสุ วา ย, , , เวสุ วา ปเรสุ รสฺสา มา โหนฺตูติฯ เอนฺติ, เสนฺติ, เอยฺย, ภาเสยฺย, เมณฺโฑ, โสณฺโฑฯ

๔. ปุพฺโพ รสฺโสฯ
สระตัวแรก ในสวัณณสระ  ชื่อว่า รัสสะ..

สระตัวแรกทุกตัว ในสวัณณสระแต่ละคู่ มีชื่อว่า รัสสะ. รัสสสระ คือ อักษรที่ถูกกล่าวด้วยระยะเวลาอันสั้น, เวลาอันสั้น ก็คือ ระยะเท่ากับการเปิดและปิดเปลือกตา (การลืมตาและหลับตา).
ในรัสสะดังกล่าวมานั้น ที่ว่า เอ และ โอ (เสียงสั้น) นี้พบได้ในเอกปทสังโยค (สังโยคที่เป็นบทเดียวกัน หรือ ที่อยู่ในภายในบทเดียวกัน) บางตัว.[2] ตัวอย่างเช่น.

เอฏฺฐิ, เสฏฺโฐ, โอฏฺโฐ, โสตฺถิ.[3]

เหตุไรจึงกล่าวว่า ในเอกปทสังโยค? คำนี้กล่าวไว้หวังว่าจะห้ามเอและโอเป็นรัสสะได้ในกรณีที่มีปทันตรสังโยค (สังโยคที่มีอยู่ในบทอื่น) อยู่ข้างหลัง [4] ตัวอย่างเช่น[5]

มํ เจ ตฺวํ นิขณํ วเน[6],   
ปุตฺโต ตฺยาหํ มหาราช[7]

เหตุที่ข้าพเจ้ากล่าวคำว่า กฺวจิ นี้เพื่อจะห้ามความเป็นรัสสะ ในกรณีที่พยัญชนะข้างหลัง เป็นพยัญชนะที่สุดวรรค บ้าง, เป็น ย ร ล ว บ้างถึงบทนั้นจะเป็นเอกปทสังโยคก็ตาม. ตัวอย่างเช่น
เอนฺติ (ตวัคคันตพยัญชนะ คือ นฺ)

เสนฺติ (ตวัคคันต คือ นฺ)

เอยฺย (อวัคคพยัญชนะ คือ ยฺ)

ภาเสยฺย (อวัคคพยัญชนะ คือ ยฺ)

เมณฺโฑ (ฏวัคคันตพยัญชนะ คือ ณฺ)

โสณฺโฑ (ฏวัคคันตพยัญชนะ คือ ณฺ)[8]





[1] ก. ๔; รู. ๔; นี. ๔.๒๒
[2] หมายความว่า เอ และ โอ ที่เป็นเสียงสั้น มีการออกเสียงเท่ากับมาตราเดียว (ตามกัจจายนไวยากรณ์) นั้นที่แท้ก็ต้องอยู่ในบทที่มีพยัญชนสังโยคเท่านั้น และเป็นบางบทด้วย ไม่พบทุกตัว.  เมื่อเป็นเช่นนี้ อักษรที่กล่าวว่า ๔๓ ตัวนั้น ที่แท้ก็มีเพียง ๔๑ เท่ากับที่กล่าวไว้ในกัจจายนไวยากรณ์นั่นเอง เพราะท่านกล่าวว่า ทีฆสระที่มีสังโยคมีมาตราเดียวเท่ากับรัสสระ ซึ่งได้แก่ เอตฺถ โอฏฐ เป็นต้นนั่นเอง ไม่ได้เกินไปจากนี้เลย.
[3] เนื่อง โอ และ เอ ที่มีอยุ่ในบทที่มีสังโยค เป็นรัสสะ จึงออกเสียงสั้นเท่ากับ อ อิ เป็นต้น ดังนั้น คำว่า เอฏฺฐิ จึงมีเสียงเท่ากับ เอ็ด-ถิ, โอฏฺโฐ เท่ากับ อด-โถ เทียบได้กับเสียง เอ็ด และ อด ในภาษาไทย เช่น เอ็ดตะโร, อดอาหาร. ในคำว่า เสฏฺโฐ และ โสตฺถิ ก็นัยนี้.
[4] แปลโดยพยัญชนะว่า ในเพราะปทันตรสังโยคอันเป็นเบื้องหล้ง เอตฺ และ โอตฺ จงอย่าเป็นรัสสะ.
[5] สองตัวอย่างนี้จะเห็นว่า  ตฺวํ ข้างหลังถึงจะเป็นสังโยค ก็จัดเป็นปทันตรสังโยค ไม่มีอำนาจทำให้ เอ ที่ เจ ต้องเป็นรัสสะ คือ เอตฺ แต่อย่างใด แม้ ตฺยาหํ ก็ไม่มีอำนาจทำให้ โต ที่ปุตฺโต ต้องเป็นรัสสะ คือ โอตฺ
[6] [ชา. ๒.๒๒.๕]
[7] [ชา. ๑.๑.๗]
[8] ตัวอย่างเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์ของกฺวจิศัพท์ ที่ห้ามความเป็นรัสสะเช่นกัน ในกรณีที่เป็นวัคคันตพยัญชนะ และ อวัคคพยัญชนะคือ ย ร ล ว แสดงว่า ในตัวอย่งเหล่านี้ไม่ออกเสียงสั้นเหมือนอย่าง เอตฺถ เป็นต้นที่กล่าวมาข้างต้น. คำว่า เอยฺย อ่านว่า เอยะ ตามปกติ ไม่อ่านว่า ไอยะหรือเอยยะ เหมือนภาษาไทย ทั้งไม่ออกเสียงสั้นเป็นเอะยะ. ในคำว่า ภาเสยฺย ก็นัยนี้ ไม่อ่านว่า ภาเสยยะ ภาไสยะ แต่อ่านว่า ภาเสยะ ตามปกติ. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น