พินฺทาเทโส
ทีปิยเตฯ
จะแสดงพินทาเทส
คือ การแปลงนิคคหิต
๔๖. วคฺเค ในเพราะพยัญชนวรรค
ปเร อันเป็นเบื้องหลัง วคฺคนฺโต พยัญชนะอันเป็นที่สุดวรรค อาเทโส เป็นอาเทส นิคฺคหีตสฺส
ของนิคคหิต วา ได้บ้าง (ตามอุทาหรณ์)
วคฺคพฺยญฺชเน
ปเร นิคฺคหีตสฺส สกวคฺคนฺตพฺยญฺชนาเทโส โหติ วาฯ
เพราะพยัญชนวรรคข้างหลัง
แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคของตนได้บ้างตามอุทาหรณ์.
ทีปงฺกโร, สงฺขาโร, สงฺคโห, สญฺจาโร,
สญฺชาโต, สณฺฐิตํ, อตฺตนฺตโป,
ปรนฺตโป, อมตนฺทโท, ปุรินฺทโท,
สนฺธิ, สนฺนิธิ, สมฺปตฺติ,
สมฺพุทฺโธ, สมฺภโว, สมฺภาโร,
สมฺภินฺโน, สมฺมโต อิจฺจาทีสุ นิจฺจํ,
ตัวอย่างเหล่านี้เป็นวิธีการแน่นอน
(นิจจวิธิ)
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
ทีปงฺกโร
|
ทีปํ + กโร
|
พระทีปังกรพุทธเจ้า
|
สงฺขาโร
|
สํ + ขาโร
|
สังขาร
|
สงฺคโห
|
สํ + สงฺคโห
|
การรวบรวม, สังคหะ.
|
สญฺจาโร
|
สํ + จาโร
|
การเที่ยวไป
|
สญฺชาโต
|
สํ + ชาโต
|
เกิดขึ้น
|
สณฺฐิตํ
|
สํ + ฐิตํ
|
ดำรงอยู่
|
อตฺตนฺตโป
|
อตฺตํ + ตโป
|
การทำให้ตนเองเดือดร้อน[2]
|
ปรนฺตโป
|
ปรํ + ตโป
|
การทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน[3]
|
อมตนฺทโท
|
อมตํ + ทโท
|
พระผู้มีพระภาค
ผู้ประทานอมตธรรม.
|
ปุรินฺทโท
|
ปุร + ทโท
|
ท้าวสักกะ ผู้เคยถวายทานในภพก่อน[4]
|
สนฺธิ
|
สํ + ธา
|
สนธิ, การเชื่อมต่อ
|
สนฺนิธิ
|
สํ + นิธิ
|
การสะสม
|
สมฺปตฺติ
|
สํ + ปตฺติ
|
สมบัติ,ความสมบูรณ์,
ความถึงพร้อม
|
สมฺพุทฺโธ
|
สํ + พุทฺโธ
|
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
|
สมฺภโว
|
สํ + ภโว
|
การเกิด
|
สมฺภาโร
|
สํ + ภาโร
|
เครื่องประกอบ
|
สมฺภินฺโน
|
สํ + ภินฺโน
|
ปะปน
|
สมฺมโต
|
สํ + มโต
|
พิจารณา,ให้เกียรติ,อนุญาต,เลือกเฟ้น
|
ตงฺกโร, ตํกโร อิจฺจาทีสุ อนิจฺจํ,
ในตัวอย่างเหล่านี้แปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตพยัญชนะไม่แน่นอน
(อนิจจวิธิ)
ตงฺกโร ผู้ทำกิจนั้น
ตัดบทเป็น ตํกโร และ มีรูปเป็น ตํกโร ก็มี
ในตัวอย่างเหล่านี้
ก็ไม่มีวิธีการแปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตพยัญชนะ (อสันตวิธิ)
พุทฺธํ สรณํ
คจฺฉามิ
ข้าพเจ้า
ขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง (ไม่เป็น สรณงฺคจฺฉามิ)
น ตํ กมฺมํ กตํ
สาธุ
กรรมนั้นที่เขาทำแล้ว
ไม่ใช่กรรมดี. (ไม่เป็น ตงฺกมฺมํ)
******************
บทความ :
ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
พินทาเทสสนธิ “การแปลงนิคคหิต หรือ อักษรที่ใช้แทนนิคคหิต”
การเชื่อมอักษรและบทเข้าด้วยกัน
โดยวิธีการใช้อักษรหนึ่งแทนอักษรหนึ่ง ได้แสดงมาตามลำดับ และคราวนี้เป็นหัวข้อสุดท้ายในวิธีการเชื่อมบทเข้าหากันโดยวิธีการอาเทสนี้
อักษรที่จะนำมาใช้แทนนิคคหิตมีทั้งพยัญชนวรรค
และ พยัญชนอวรรค. ในที่นี้จะกล่าวถึงพยัญชนวรรคก่อน.
แม้พยัญชนวรรคทั้งหมด
ก็ใช่ว่าจะนำมาใช้แทนได้ทั้งหมด ควรคำนึงถึงกฏเกณฑ์ดังต่อไปนี้
๑. แปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตพยัญชนะ
วัคคันตพยัญชนะ
คือ พยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรค ได้แก่ พยัญชนะ ๕ ตัวนี้ คือ ง ญ ณ น และ ม.
เหตุที่ใช้พยัญชนะ ๕ ตัวเหล่านี้. คัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ กล่าวว่า นิคฺคหีตสฺส
โข วคฺเค วคฺคนฺโต วา โหติ ปจฺจาสตฺตฺยาฯ เป็นไปได้เพราะเพราะมีความใกล้เคียงกับนิคคหิต
คือ ใกล้กันโดยฐาน เพราะต่างก็เป็นนาสิกชพยัญชนะ คือ พยัญชนะเกิดบริเวณนาสิกฐาน
และเมื่อเปล่งเสียง ก็ต้องปล่อยเสียงให้ออกทางช่องจมูก ดังนั้น จึงถือว่า
วัคคันตพยัญชนะเหล่านี้ จึงถือว่า ใกล้กับนิคคหิต.
การใช้วัคคันตพยัญชนะแทนนิคคหิต
มีกฏเกณฑ์ดังที่ท่านกล่าวไว้ด้วยสูตรนี้
หลักการ : สูตรกำกับวิธีการ
เพราะพยัญชนวรรคข้างหลัง
แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคของตนได้บ้างตามอุทาหรณ์.
หลักเกณฑ์ :
ขอบเขตของสูตรและคำอธิบาย
สูตรนี้บอกวิธีการว่า
ในกรณีที่นิคคหิตนำหน้าพยัญชนวรรคใดๆ
ให้แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนที่สุดของวรรคนั้นตามควร แต่ทว่า
ยังมีสิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ ต้องเป็นไปตามอุทาหรณ์ที่มีจริงในพระบาฬี ดังนั้น
รูปอุทาหรณ์จึงแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
๑)
ที่มีตามสูตรนี้แน่นอน ถ้าไม่ทำถือว่าผิดหลักภาษา (นิจจวิธิ)
๒)
จะทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ ตามที่จะพิจารณาเห็น (อนิจจวิธิ)
๓)
ไม่ต้องทำสูตรนี้เลย เพราะในพระบาฬีไม่มีรูปนี้ใช้ (อสันตวิธิ)
อุทาหรณ์ :
หลักการใช้
เนื่องจากสูตรนี้
แบ่งเกณฑ์การใช้เป็น ๓ กลุ่ม จะขอกล่าวแยกไปตามที่มาในคัมภีร์นี้
๑) วิธีที่มีตามสูตรนี้แน่นอน.
ทีปงฺกโร ทีปํ + กโร พระทีปังกรพุทธเจ้า
สงฺขาโร สํ +
ขาโร สังขาร
สงฺคโห สํ + สงฺคโห การรวบรวม, สังคหะ.
สญฺจาโร สํ +
จาโร การเที่ยวไป
สญฺชาโต สํ + ชาโต เกิดขึ้น
สณฺฐิตํ สํ + ฐิตํ ดำรงอยู่
อตฺตนฺตโป อตฺตํ + ตโป การทำให้ตนเองเดือดร้อน
ปรนฺตโป ปรํ + ตโป การทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
อมตนฺทโท อมตํ + ทโท พระผู้มีพระภาค ผู้ประทานอมตธรรม.
ปุรินฺทโท ปุร + ทโท ท้าวสักกะ ผู้เคยถวายทานในภพก่อน
สนฺธิ สํ + ธา สนธิ, การเชื่อมต่อ
สนฺนิธิ สํ +
นิธิ การสะสม
สมฺปตฺติ สํ + ปตฺติ สมบัติ,ความสมบูรณ์, ความถึงพร้อม
สมฺพุทฺโธ สํ + พุทฺโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สมฺภโว สํ + ภโว การเกิด
สมฺภาโร สํ + ภาโร เครื่องประกอบ
สมฺภินฺโน สํ +
ภินฺโน ปะปน
สมฺมโต สํ + มโต พิจารณา,ให้เกียรติ,อนุญาต,เลือกเฟ้น
ในตัวอย่างเหล่านี้
ท่านจะเห็นว่า นิคคหิต ตัวหน้า เมื่ออยู่พยัญชนะตัวหลังในวรรคใด
ก็จะกลายเป็นพยัญชนที่สุดของวรรคนั้น เช่น
ทีปํ + กโร
นิคคหิตจะกลายเป็น งฺ อันเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค ก
สํ + ภินฺโน
นิคคหิตจะกลายเป็น มฺ อันเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค ป นั่นเอง ดังนี้เป็นต้น
อุทาหรณ์ที่น่าสนใจ
ก. อตฺตนฺตโป อตฺตํ + ตโป การทำให้ตนเองเดือดร้อน
ข. ปรนฺตโป ปรํ + ตโป การทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
สองอุทาหรณ์นี้เป็นอลุตตสมาสโดยในอุ.ว่า
อตฺตนฺตโป มาจาก อตฺตํ + ตโปโดยที่ อตฺตํ เป็นทุติยาวิภัตติ เช่นเดียวกับ อตฺตานํ
โดยที่ไม่แปลง อํ เป็น อานํ. และเมื่อเข้าสมาสแล้ว แปลง นิคคหิต เป็น นฺ
อันเป็นที่สุดของวรรค ต นั่นเอง
อตฺตนฺตโป มีรูปวิเคราะห์ว่า
อตฺตานํ ตปติ ทุกฺขาเปตีติ อตฺตนฺตโป. ผู้เผารน
คือ ทำตนให้เดือดร้อน ชื่อว่า อัตตันตปะ
คัมภีร์ฎีกาอธิบายว่า
อตฺตา มีสองความหมายคือ อัตตภาพ และ ตนเอง
ในที่นี้มิได้หมายถึงอัตตภาพ
ดังที่มีความหมายว่า เป็นอัตตภาพอันเขานำความยกตนว่า
เรา (อหังการ), แต่ในที่นี้ อัตตา ชื่อว่า
ไม่ใช่คนอื่น. (อํ.จตุ.อ. อตฺตนฺตปสุตฺตวณฺณนา ๑๙๘)
ส่วน ปรนฺตโป
คือ ผู้ทำตนเองให้เดือดร้อน มีรูปวิเคราะห์ว่า
ปรํ ตปตีติ ปรนฺตโป ผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน. (อํ.จตุ.อ.อตฺตนฺตปสุตฺตวณฺณนา ๑๙๘} อภิ.อ.๓/๘๑)
ค. ปุรินฺทโท ปุร + ทโท ท้าวสักกะ ผู้เคยถวายทานในภพก่อน
รูปนี้มาจาก ปุร
+ ทท มีรูปวิเคราะห์ว่า ปุเร อททีติ ปุรินฺทโท, สกฺโก
ท้าวสักกะ
ชื่อว่า ปุรินททะ เพราะได้ถวายทานแล้วในกาลก่อน
รูปนี้จึงเป็นสมาสที่ลบวิภัตติที่บทหน้า
คือ ปเร
คัมภีร์นิรุตตทีปนีกล่าวว่า
แปลง อ เป็น อิ ด้วยมหาสูตร และ ลงนิคคหิตเป็นอาคม.
คัมภีร์ปทรูปสิทธิอธิบายว่า
ในกรณีที่มี ปุร อยู่หน้าลง อปัจจัยท้าย ทท ธาตุ แปลง อ เป็น อิํ ด้วยสูตร ๕๖๗. ปุเร ททา จ อิํฯ
บทความ : ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๖๖ พินทาเทสสนธิ “การแปลงนิคคหิต หรือ อักษรที่ใช้แทนนิคคหิต”
เมื่อคราวที่แล้วได้กล่าวถึงการแปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนที่สุดวรรค ด้วยสูตรว่า วคฺเค วคฺคนฺโต แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค เมื่อมีพยัญชนวรรคอยู่หลัง. ซึ่งคำว่าพยัญชนะที่สุดวรรคและพยัญชนวรรค ในสูตรนี้ จะต้องสอดคล้องกัน คือ เมื่อพยัญชนวรรคใดอยู่หลังนิคคหิต ก็ให้นิคคหิตเป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรคนั้น.
แม้สูตรนี้ (วคฺเค วคฺคนฺโต) ก็มีขอบเขตการใช้อยู่ ๓ กลุ่ม คือ เป็นได้แน่นอน เป็นได้บ้าง ไม่ได้บ้าง และไม่เป็นไปตามเลย ทั้งนี้เพราะอาศัยรูปอุทาหรณ์ที่มาในพระบาฬีเป็นเกณฑ์นั่นเอง
เมื่อคราวที่แล้วได้กล่าวอุทาหรณ์ที่เป็นไปตามสูตรนี้แน่นอนไปแล้ว คราวนี้จะกล่าวถึงอุทาหรณ์อีกสองกลุ่มต่อไป.
อุทาหรณ์สองกลุ่มนี้มีไม่มากนัก จะเรียกว่า เป็นข้อยกเว้นของกลุ่มแรกก็ว่าได้
๒) ในตัวอย่างเหล่านี้แปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตพยัญชนะไม่แน่นอน (อนิจจวิธิ)
ตงฺกโร ผู้ทำกิจนั้น ตัดบทเป็น ตํกโร และ มีรูปเป็น ตํกโร ก็มี
คัมภีร์นิรุตติทีปนียกอุทาหรณ์ในกลุ่มนี้มาแสดงไว้เพียงเท่านี้ แต่ในปทรูปสิทธิกล่าวไว้มากกว่านี้ ผู้ศึกษาตามไปศึกษาในที่นั้นเพิ่มเติมจะได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นครับ
๓) ในตัวอย่างเหล่านี้ ก็ไม่มีวิธีการแปลงนิคคหิตเป็นวัคคันตพยัญชนะ (อสันตวิธิ)
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง
สรณํ + คจฺฉามิ ไม่เป็น สรณงฺคจฺฉามิ
น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ
กรรมนั้นที่เขาทำแล้ว ไม่ใช่กรรมดี.
ตํ + กมฺมํ ไม่เป็น ตงฺกมฺมํ
เป็นอันจบหลักการทั้งสามในสูตรนี้ครับ
ท่านที่สนใจค้นคว้าเพิ่มเติมและศึกษาแนวทางของคัมภีร์หลักๆเช่น สัททนีติ กัจจายนะ และรูปสิทธิได้ตามนี้ครับ [กัจจายนไวยากรณ์สูตรที่ ๓๑ และปทรูปสิทธิสูตรที่ ๔๙ วคฺคนฺตํ วา วคฺเค และสัททนีติ สูตรที่ ๑๓๘ นิคฺคหีตํ วคฺเค วคฺคนฺตํ วา ]
ขอส่งท้ายอีกนิดครับ ในสูตรนี้ท่านผนวกข้อความจากสูตรอื่นๆเข้ามา. ข้อความที่ผนวกเข้ามาเรียกว่า อธิการ การใช้ข้อความจากสูตรต้นมาประกอบกับสูตรนี้ โดยทำให้สูตรมีข้อความน้อยลงแต่ความหมายครอบคลุมหลักเกณฑ์ครบถ้วน. ในที่นี้ แสดงความประสงค์การใช้สูตรนี้ว่า มีความไม่แน่นอนเหมือนกับสูตรก่อนหน้านี้. นั่นคือ ให้วาศัพท์ ที่ตามมาจากสูตรว่า ๓๖. วี-ติสฺเส-เว วาฯ ก่อนหน้า จนมาถึงสูตรนี้ ๔๑. วคฺเค วคฺคนฺโตฯ ดูสูตรโมคคัลลานไวยากรณ์ประกอบตามนี้ครับ
๓๗. เอโอนม วณฺเณฯ
๓๘. นิคฺคหีตํฯ
๓๙. โลโปฯ
๔๐. ปรสรสฺสฯ
๔๑. วคฺเค วคฺคนฺโตฯ
โดยวาศัพท์จะทำหน้าที่บอกความหมาย ๓ ประการ ดังกล่าว เรียก วา ศัพท์ชนิดนี้ว่า ววัตถิตวิภาสา มีตัวอย่างตามที่ถูกกำหนดไว้ คือตามอุทาหรณ์ที่มาในพระบาฬี. ซึ่งเป็นอันเดียวกับที่มีในคัมภีร์ปทรูปสิทธินั่นเองครับ.
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
[1] [ก. ๓๑; รู. ๔๙; นี. ๑๓๘-๙]
[2] รูปอุทาหรณ์นี้เป็นอลุตตสมาส
อตฺตํ เป็นทุติยาวิภัตติ เช่นเดียวกับ อตฺตานํ โดยที่ไม่แปลง อํ เป็น
อานํ.มีวิ.อตฺตานํ ตปติ ทุกฺขาเปตีติ อตฺตนฺตโป. (อํ.จตุ.อ.อตฺตนฺตปสุตฺตวณฺณนา ๑๙๘} อภิ.อ.๓/๘๑)
คัมภีร์ฎีกาอธิบายว่าได้แก่ ตนเอง ไม่ใช่ อัตตภาพที่มีความหมายว่า เป็นที่อันเขานำความยกตนว่า เรา
(อหังการ), แต่ในที่นี้ อัตตา ชื่อว่า
ไม่ใช่คนอื่น.
[3] (อํ.จตุ.อ.อตฺตนฺตปสุตฺตวณฺณนา
๑๙๘) ตามรูปวิเคราะห์ว่า ปรํ ตปตีติ ปรนฺตโป ผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน.
[4] รูปนี้มาจาก
ปุร + ทท ในกรณีที่มี ปุร อยู่หน้าลง อปัจจัยท้าย ทท ธาตุ แปลง อ เป็น อิํ
ด้วยสูตร ๕๖๗. ปุเร ททา จ อิํฯ (รูปสิทธิ) มีรูปวิเคราะห์ว่า
ปุเร อททีติ ปุรินฺทโท, สกฺโก ท้าวสักกะ ชื่อว่า ปุรินททะ เพราะดังนั้น
รูปนี้จึงเป็นสมาสที่ลบวิภัตติที่บทหน้า คือ ปเร ส่วนคัมภีร์นิรุตตทีปนีกล่าวว่า
แปลง อ เป็น อิ ด้วยมหาสูตร และ ลงนิคคหิตเป็นอาคม.
[5] [ขุ. ปา. ๑.สรณตฺตย]
[6] [ธ. ป. ๖๗]
[7] [ก. ๓๑; รู. ๔๙; นี. ๑๓๘-๙]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น