๔๙. เย สํสฺส[1] ฯ
๔๙. เย ในเพราะย
โญ ญเป็นอาเทส นิคฺคหีตสฺส ของนิคคหิต สํสสฺส ของสํ อุปสัค โหติ ย่อมมี.
ยมฺหิ
ปเร สํ อุปสคฺคสฺส นิคฺคหีตสฺส โญ โหติฯ ยสฺส ปุพฺพรูปตฺตํฯ
ถ้ามียอยู่ข้างหลัง
แปลง นิคคหิตของสํอุปสัค เป็น ญ, แปลง ย เป็น ปุพพรูป.
สญฺโญโค
สํโยโค,
สญฺญุตฺโต สํยุตฺโตฯ สํโยชนํ สํโยชนํ, สญฺญโม สํยโม,
สญฺญโต สํยโต, สญฺญมติ สํยมติ, สญฺญาจิกา สํยาจิกา กุฏิํ[2] อิจฺจาทิฯ
ตัวอย่างเช่น
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
สญฺโญโค
|
สํ + โยโค
|
การประกอบ ใช้เป็น สํโยโค ก็มี
|
สญฺญุตฺโต
|
สํ + ยุตฺโต
|
ประกอบแล้ว ใช้เป็น สํยุตฺโต
ก็มี
|
สํ + โยชนํ
|
สังโยชน์ ใช้เป็น สํโยชนํ ก็มี
|
|
สญฺญโม
|
สํ + ยโม
|
การสำรวม ใช้เป็น สํยโม ก็มี
|
สญฺญโต
|
สํ + ยโต
|
สำรวมแล้ว ใช้เป็น สํยโต ก็มี
|
สญฺญมติ
|
สํ + ยมติ
|
ย่อมสำรวม ใช้เป็น สํยมติ ก็มี
|
สญฺญาจิกา
กุฏิํ
|
สํ + ยาจิกา
|
กุฏีที่ขอด้วยตนเอง ใช้เป็น สํยาจิกา
ก็มี
|
อิติ
พินฺทาเทสราสิฯ
อาเทสสนฺธิราสิ
นิฏฺฐิโตฯ
จบ กลุ่มศัพท์ที่เกี่ยวกับอาเทสของนิคคหิต
จบ
กลุ่มศัพท์ที่เกี่ยวกับการเข้าสนธิโดยการอาเทส
บทความ :
ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๗๒
พินทาเทสสนธิ “การแปลงนิคคหิต หรือ อักษรที่ใช้แทนนิคคหิต”
คราวที่แล้วเป็นการแปลงนิคคหิตเป็น
ญฺ แม้ในคราวนี้ก็ยังคงเป็นการแปลงนิคคหิตเป็น ญฺ เช่นกัน แต่ขอบเขตการใช้ต่างกัน คือ
นิคคหิตนั้น ต้องเป็นของ สํ อุปสัค และจำกัดว่าข้างหลังต้องเป็น
ย เท่านั้น ส่วนสูตรที่แล้ว ไม่จำต้องเป็นนิคคหิตของศัพท์ใดแต่ข้างหลังต้องเป็น เอ
และ ห อักษรเท่านั้น
ตัวอย่างที่ใช้ในหลักการนี้
คือ สญฺโญชนํ ที่เราท่านมักคุ้นกันว่าเป็นชื่อของกิเลสกลุ่มหนึ่ง ที่กลายรูปมาจาก
สํ และ โยชนํ. การกลายนิคหิตเป็น ญฺ
จนได้รูปว่า สญฺโญชนํ นี้ มาจากหลักการของสูตรนี้ครับ
หลักการ
:
สูตรกำกับวิธีการ
๔๙. เย สํสฺสฯ
ถ้ามี
ยอยู่ข้างหลัง แปลงนิคคหิตของสํอุปสัค เป็น ญฺ,
หลักเกณฑ์
: ขอบเขตของสูตรและคำอธิบายโดยสังเขป
การที่จะใช้ ญ
เป็นอาเทสของนิคคหิตในที่นี้ มีหลักเกณฑ์อยู่ ๒ ข้อ คือ
๑)
ต้องเป็นนิคคหิตของสํอุปสัคเท่านั้น
๒) ต้องมี ย
อยู่ข้างหลังเท่านั้น
๓) เมื่อแปลงนิคคหิตเป็น
ญฺ แล้ว ยที่อยู่ข้างหลังนั้นให้แปลงเป็น ปุพพรูป คือเป็น ญ นั่นเอง.
๔)
การใช้อาเทสคือญฺ เป็นต้น ตามกระบวนการของสูตรนี้ ไม่แน่นอน
อาจใช้ในรูปที่ไม่เข้าสนธิก็มี
หลักการใช้
: อุทาหรณ์ของสูตร
สญฺโญชนํ
กิเลสชื่อว่า สังโยชน์ เพราะเป็นกิเลสที่ร้อยรัดสัดว์ไว้กับสังสารวัฏฏ์
สญฺโญชนํ
ตัดบทเป็น สํ + โยชนํ
จะเห็นว่า
นิคหิตที่ สํ จะกลายเป็น ญฺ เพราะมี ย ที่ โยชนํ เป็นนิมิต. และ ย นั้น
ก็จะกลายเป็น ญ ดังที่เรียกในสูตรนี้ว่า ปุพพรูป นั่นเอง.
คำว่า นิมิต คือ
ศัพท์ที่จะเป็นเหตุให้เกิดการเข้าสนธิโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
คำว่า ปุพพรูป
คือ รูปที่ซ้ำกับอักษรที่อยู่หน้าตน.
อนึ่งไม่จำต้องใช้เป็น
สญฺโญชนํ เสมอไป แต่จะใช้เป็น สํโยชนํ เหมือนเดิมก็มี
ในตัวอย่างอื่นๆ
ก็มีความเป็นไปดังที่กล่าวมานี้
สญฺโญโค หรือ สํโยโค สํ + โยโค การประกอบ
สญฺญุตฺโต หรือ สํยุตฺโต สํ + ยุตฺโต ประกอบแล้ว
สญฺญโม หรือ สํยโม สํ + ยโม การสำรวม
สญฺญโต หรือ สํยโต สํ + ยโต สำรวมแล้ว
สญฺญมติ หรือ สํยมติ สํ + ยมติ ย่อมสำรวม
สญฺญาจิกา กุฏิํ
หรือ สํยาจิกา สํ + ยาจิกา กุฏีที่ขอด้วยตนเอง
การเข้าสนธิของนิคคหิตกับบทอื่น
โดยการใช้ ญเป็นอาเทส เป็นกฏเกณฑ์ข้อสุดท้ายในกลุ่มนี้ แต่อย่างไรก็ตาม
การเข้าสนธิของนิคคหิตยังมีอีกหลายอย่าง ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้ว คือ การลบ และ
ที่จะกล่าวต่อไป คือ เป็นอาคม ได้แก่ การแทรกเสียงนิคคหิตลงในตำแหน่งของบทหน้าและหลังนั่นเองครับ
ต่อจากอาเทสสนธินี้
ท่านจะนำวิธีการคือการใช้อักษรอาคมเป็นเครื่องเชื่อมบทแต่ละบทเข้าหากัน ขออนุโมทนา
ในการศึกษาภาษาบาฬีที่มาในคัมภีร์นิรุตติทีปนีครับ
ด้วยความปรารถนาดี
สมภพ สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น