#นิรุตติทีปนีแปลเพื่อศึกษาร่วมกัน๒๑
อัปปวิธาน :
รูปอุทาหรณ์เล็กน้อยมีใช้ไม่มาก. (ต่อ)
กรณีที่ ๔. แปลง
เอ เป็น อิ เช่น
โอกนฺทามสิ
ภูตานิ,
ปพฺพตานิ วนานิ จ (เวสสันตรชาดก ๒/๑๑๘๒)
ข้าพเจ้าท.ขอคร่ำครวญ
และกราบไหว้เทพเจ้าผู้สิงสถิตในภูเขาป่าไม้ ฯลฯ
[โอกนฺทามสิ มาจาก โอ + กนฺท ร้องคร่ำครวญ+ อาม เส (ปัญจมี อุตตมบุรุษ
อัตตโนบท) แปลง เอ ที่ อามเส เป็น อิ ได้รูปเป็น โอกนฺทามสิ คร่ำครวญ
ด้วยหลักการนี้.ในทีนี้หมายถึง บอกให้เทพยดาเหล่านั้นได้รับรู้
เพราะแสดงความนอบน้อม (อรรถกถาชาดก)]
ยํ กโรมสิ
พฺรหฺมุโน,
ตทชฺช ตุยฺหํ ทสฺสาม.
ข้าพระองค์ (กับพวกเทพ)
กระทำความนอบน้อมอันใดแก่พระพรหม ตั้งแต่วันนี้ไป ข้าพระองค์จักถวายความนอบน้อมอันนั้นแด่พระองค์
(ที.ม. ๓๗๐ สักกปัญหาสูตร)
[ กโรมสิ ในตัวอย่างนี้ มาจาก กโรมเส แปลง เอ เป็น อิ. อนึ่ง เส เป็นนิบาต ต่างจากคำว่า
โอกนฺทามสิ ข้างต้น]
อิธ เหมนฺตคิมฺหิสุ
ในฤดูหนาวและฤดูร้อนนี้.
อุทาหรณ์นี้สังเกตที่
เอ ของ เหมนฺตคิมฺเหสุ จะกลายเป็น อิ ใน เหมนฺตคิมฺหิสุ
พุทฺธปจฺเจกพุทฺธิสุ
ในพระสัมพุทธเจ้าและปัจเจกพุทธเจ้าท.
พุทฺธปจฺเจกพุทฺธิสุ
ก็คือ พุทฺธปจฺเจกพุทฺเธสุ
ตตฺถ
วตฺเตตฺวา สลฺลาปํ,
เจเตหิ เจตปุตฺเตหิ;
เราเจรจาปราศรัยกับโอรสของพระเจ้าเจตราชเหล่านี้อยู่ ณ ที่นั้น
[เจตปุตฺติหิ ก็คือ เจตปุตฺเตหิ พระราชโอรสของพระเจ้าเจตราช. แต่ในพระบาฬีจริยาปิฎกฉบับปัจจุบันนั้นเป็น
เจเตหิ เจตปุตฺเตหิ (จริยา. ๑/๑๐๖) อยู่แล้ว. แสดงว่า
ปาฐะในยุคของพระคันถรจนาจารย์เป็น ปุตฺติหิ][1]
-------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น