ครั้งที่ ๒๗ : พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
“การแปลงพยัญชนะ
กวรรคและจวรรค”
(ต่อ)
เมื่อคราวที่แล้วมา
แสดงคำว่า เนปกฺก ที่แปลว่า ปัญญา ที่ทำให้กิเลสเหือดแห้ง หรือ ปัญญา ที่รักษาตน
ไปแล้ว คราวนี้จะแสดงคำว่า เวปกฺก เป็นต้น
ที่มีรูปแบบการสำเร็จรูปอยู่ในชุดเดียวกับคำว่า เนปกฺก นั้น ดังนี้
วิปาก + ณฺย > เวปกฺกํ = วิบาก หรือ ผลที่สุกงอม (สกัตถตัทธิต)
(คำว่า
เวปกฺก วิบาก นี้ลงณฺย
ปัจจัยในอรรถสกัตถตัทธิต โดยมีรูปวิเคราะห์ ว่า
วิปาโก เอว
เวปกฺกํ เวปกฺก กับ วิปาก มีอรรถเหมือนกัน.),
สุภค + ณฺย > โสภคฺค (ความงาม)
[สุภคสฺส
ภาโว โสภคฺคํ ความเป็นแห่งผู้มีความงาม ชื่อว่า โสภคฺค]
ทุภค + ณฺย > โทภคฺคํ ความน่าเกลียด
(ความไม่งาม)
[มีวิเคราะห์โดยนัยตรงข้ามกับ
โสภคฺคํ]
วจ + ณฺย > วากฺกํ = เสียงที่ถูกกล่าว, การกล่าว .
คำว่า วากฺกํ นี้เป็นนามกิตก์ กัมมสาธนะ
มาจาก วจฺ ธาตุ ลง ณฺย ปัจจัย. สำหรับรูปว่า วากฺก
มีสูตรสำเร็จรูปเพิ่มเติมที่ควรกล่าวถึง
๑) เพราะ ณฺย
วุทธิสระต้นธาตุ เป็น วาจฺย, แปลง จ เป็น ก ด้วยสูตรนี้
๗๗๙. กคา จชานํ ฆานุพนฺเธ
ในเพราะฆอนุพันธ์
แปลง จ และ ช เป็น ก และ ค ตามลำดับ
๒) เมื่อแปลง จฺ
เป็น กฺ ด้วยสูตรนี้แล้วเป็น วากฺย, หลังจากนั้น แปลง ย เป็น ปุพพรูป คือ ก
สำเร็จรูปเป็น วากฺกํ. มีรูปวิเคราะห์ว่า วตฺตพฺพนฺติ วากฺกํ เสียงที่ถูกกล่าว
หรือ การกล่าว ชื่อว่า วากฺก ]
(สำหรับสูตรนี้
ไม่ใช่ลำดับสูตรที่พระคันถรจนาจารย์นำเสนอในช่วงนี้
แต่มาเกี่ยวกับข้องกับรูปอุทาหรณ์นี้
ผู้เขียนจึงนำมาลงไว้ในช่วงนี้เพื่อแสดงความเป็นไปครับ)
ข้อความที่ควรทราบเล็กน้อยของสูตรนี้,
ฆ อนุพันธ์ คือ
ฆ อักษรที่แนบมากับตัวสูตรเพื่อบอกว่า ในที่นี่ให้แปลง จ ช ที่สุดธาตุ เป็น ก และ
ค ตามลำดับได้ด้วย. ดังนั้น การใช้ ฆ แนบกับสูตรก็แนบมากับปัจจัยอื่นๆ
เพื่อบอกการมีหน้าที่แบบนี้ของปัจจัยนั้น และถ้ามาคู่กับปัจจัยที่มีอนุพันธ์อื่น
เช่น ณฺย เป็นต้น หมายถึง ฆ จะเป็นตัวแยก
ณฺย ปัจจัยเป็นต้น ออกจาก ณฺย ปัจจัยอื่นๆว่า นอกจาก
ณฺยปัจจัยจะมีหน้าที่วุทธิแล้วยังมีหน้าที่แบบนี้อีกด้วย. ด้วยเหตุนี้ ในสูตร ๗๗๗. ฆฺยณฯ จึงกล่าวว่า มีอรรถวิเสสนะ. ดูสูตร ๗๗๗
ฆฺยณฯ ภาว, กมฺเมสุ ฆ, ณานุพนฺโธ
ยปจฺจโย โหติฯ ฆานุพนฺโธ ‘กคาจชานํ ฆานุพนฺเธ’ติอาทีสุ วิเสสนตฺโถฯ ณานุพนฺโธ วุทฺธิทีปนตฺโถฯ เอวํ สพฺพตฺถฯ ดังนั้น
ในการแปลงเป็น ก ของ จ นี้จึงเป็นไปด้วยอำนาจ ยปัจจัยที่มีฆอนุพันธ์
ซึ่งหมายความว่า ย นี้ทำให้เกิดการแปลง จ เป็น ก ได้นั่นเอง.)
วจ + ณฺย > วากฺยํ
[ถ้าไม่ทำตามสูตรนี้เป็น
วากฺกํ ก็จะมีรูปเดิมว่า วากฺยํ ดังนี้ ก็มี เพราะกฺวจิ ศัพท์แสดงความมีตัวอย่างนี้ใช้เล็กน้อย]
ตัวอย่างต่อไปนี้มีนัยเดียวกับ
วากฺก คือ แปลง จ เป็น ก และ แปลง ช เป็น ค ก่อนแล้วแปลง ย เป็น ปุพพรูป
ภุช (ธาตุ) +
ณฺย >
โภคฺคํ (ของกิน, การกิน)
[ภุญฺชิตพฺพนฺติ
โภคฺคํ, วัตถุที่ควรบริโภค หรือ การบริโภค ชื่อว่า โภคฺคํ ]
ยุช + ณฺย > โยคฺคํ. (การประกอบ, สิ่งที่ถูกประกอบ),
[ยุญฺชิตพฺพนฺติ
โยคฺคํ อันเขาพึงประกอบ, หรือ สิ่งที่พึงประกอบ ชื่อว่า โยคฺค]
แต่ในบางรูปแม้จะมี
จ และ ช ก็จริง แต่ก็ไม่ทำตามสูตรนัั้น
คือ ไม่แปลง จ และ ช เป็น ก และ ค ก่อน แปลง ย เป็นปุพพรูปได้เลย เช่น
กุกฺกุจ + ย > กุกฺกุจฺจํ ความเดือดร้อนรำคาญใจ
กุกฺกุตภาโว
กุกฺกุจฺจํ ความเป็นแห่งผู้เดือดร้อน ชื่อ กุกฺกุจฺจ,
วจฺ + ณฺย
(กิตกปัจจัยในอรรถกรรม) > วาจฺจํ เนื้อความที่ถูกกล่าว, วิเสสยะ
วตฺตพฺพนฺติ
วาจฺจํ คำที่ถูกวิเสสนะกล่าว ชื่อว่า วาจฺจ,
วจฺ + ย > วุจฺจเต อันเราจะกล่าว.
ปจฺ + ย > ปจฺจเต อันพ่อครัวหุงอยู่.
วนิช + ณฺย (ใช้แทน
กมฺม การงาน) > วาณิชฺชํ การค้าขาย
[วณิชานํ
กมฺมํ วาณิชฺชํ, การงานของพ่อค้า ชื่อ วาณิชฺช]
ภุชฺ + ณฺย > โภชฺชํ ของกิน, การ
[ภุญฺชิตพฺพนฺติ
โภชฺชํ อันเขาพึงกิน หรือ วัตถุอันเขาพึงกิน ชื่อว่า โภชฺช]
ยุช + ณฺย > โยชฺชํ การประกอบ, สิ่งที่ถูกประกอบ
[ยุญฺชิตพฺพนฺติ
โยชฺชํฯ อันเขาพึงประกอบ, หรือ วัตถุอันเขาพึงประกอบ ชื่อว่า โยชฺช.]
************
ขออนุโมทนา
...
สมภพ สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น