วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๕๗.การแปลงพยัญชนะโดด จบพยัญชนาเทสสนธิ

พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
๒. การแปลงพยัญชนะโดด
เมื่อคราวที่แล้วเป็นหลักการตามสูตรว่า ตถนรานํ ฏฐณลา)  ต่อไปนี้จะกล่าวถึงวิธีการนำมหาสูตร (สูตรใหญ่) มาใช้สำเร็จรูปศัพท์เพิ่มเติมจากที่ไม่ได้กล่าวไว้ในสูตรนี้

 ใช้ ข แทน ก
นิกฺกมติ > นิกฺขมติ, ย่อมออกไป
นิกนฺโต > นิกฺขนฺโต, ออกไปแล้ว
เนกฺกโม > เนกฺขโม, การออกไป
กตฺตา > ขตฺตา อำมาตย์
ราชกิจฺจํ กโรตีติ ขตฺตา, กตฺตา วา. อำมาตย์ผู้ทำพระราชกิจ. ใช้ กตฺตา ก็มี

ใช้ ท แทน ก
สกตฺถ > สทตฺถ ประโยชน์ตน
ตัวอย่างการใช้เช่น สทตฺถปสุโต สิยา [๑] ควรขวนขวายในประโยชน์ตน

ใช้ ย แทน ก
สกํ > สยํ 
ตัวอย่างการใช้ เช่น สยํ รฏฺฐํ หิตฺวาน สละแว่นแคว้นของตน,
ปุปฺผทานิโก > ปุปฺผทานิโย ผู้ให้ดอกไม้เป็นทาน
ปุปฺผทานํ ททาตีติ ปุปฺผทานิโย = ผู้ให้ ซึ่งทานคือดอกไม้ ชื่อว่า ปุปฺผทานิย, ปุปฺผทานิก ก็มี
สิปฺปลิวนิโย > สิปฺปลิวนิโก
สิปฺปลิวเน วสตีติ สิปฺปลิวนิโย ผู้อยู่ในป่า... ชื่อว่า สิปฺปลิวนิย, เป็น สิปฺปลิวนิก ก็มี,
กุมาริกา > กุมาริยา เด็กหญิง ใช้รูปว่า กุมาริกา มากกว่า

 ใช้ ค แทน ข
เอฬมูโข > เอฬมูโค
          มูค ศัพท์นี้ ท่านว่า กลายมาจาก มูข แปลว่า เพียงแต่ปากเท่านั้น ย่อมเป็นไป ไม่สามารถทำให้เสียงเกิดได้ จึงชื่อว่า มูข, มุขมตฺตเมว คจฺฉติ ปวตฺตติ, น วจีเภโท เอตฺถ ชเนติ มูโคติ ทสฺเสติ, (ปาจิตฺติยโยชนา / ๒๗๓) ข้อนี้สมดังที่่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาพระวินัยว่า มูโคติ ยสฺส วจีเภโท นปฺปวตฺตติ (วิ.อฏฺ.๓/๓๑๓). ในกรณีนี้คิดว่า มูข คือ มุข + ณ ปัจจัย แปลว่า สัตว์ผู้มีแต่ปากเท่านั้น. และแปลง ข ที่ มูข เป็นมูค.
แต่ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกาอธิบายศัพท์นี้ว่า ชื่อว่า มูโค เพราะเป็นเหมือนกับสัตว์ เพราะไม่สามารถจะกล่าวหรือพูดได้. (ธาน.ฎี. ๓๒๐) ในกรณีนี้ มาจาก มิค (+ ณ ปัจจัยอุปมาตัทธิต) และ แปลง อิ ที่ มิค เป็น อู.

 ใช้ ก แทน ค

โลโก มาจาก โลโค เพราะมาจาก ลุช ธาตุ ที่แปลว่า แตกทำลาย
โลโค > โลโก โลก
ลุชฺชตีติ โลโก สภาวะที่มีการแตกสลาย ชื่อว่า โลก,

ภิสคฺโค > ภิสกฺโก หมอรักษาโรค
อาโรคฺยํ อภิสชฺเชตีติ ภิสกฺโก ผู้สลัดออกซึ่งความเป็นผู้มีโรค ชื่อว่า ภิสกฺก,

๒ อุ.นี้ เมื่อควรจะแปลง ช เป็น ค ตามสูตร กคา จชานํ ฆานุพนฺเธ แต่กลับใช้ ก แทน ด้วยมหาสูตร)

กุลูปโค >กุลูปโก ภิกษุผู้เข้าไปในบ้าน ,
ขีรูปโค > ขีรูปโก ทารกผู้ยังไม่หย่านม,
คีวูปคํ > คีวูปกํ เครื่องประดับศีรษะ ฯ

 ใช้ ห แทน
สีโฆ > สีโห ราชสีห์
สีฆชวตาย สีโห ชื่อว่า สีห เพราะเป็นสัตว์ที่วิ่งไปรวดเร็วฯ

ใช้ ฉ แทน จ
วินิจโย > วินิจฺฉโย การตัดสิน, กำหนด,
อาจริยํ > อจฺจริยํ > อจฺฉริยํ มีเป็นบางคราว.  เช่น มจฺฉริยํ  มา + อจฺฉริย, ไม่ควรแก่การปรบมือ 
(อา + จร ประพฤติ + ย. อรรถกถาอธิบายไว้ ๒ นัย คือ
- สัททนัย มีความหมายตามตำราไวยากรณ์ว่า อนฺธสฺส ปพฺพตาโรหณํ วิย นิจฺจํ น โหตีติ อจฺฉริยํ. คำว่า อจฺฉริย แปลว่า เป็นสิ่งที่มีเสมอหามิได้ เหมือนการขึ้นภูเขาของคนตาบอด (ที.สี.อ.๑/๔๔) อธิบายโดยสรุปจากคัมภีร์ฎีกาว่า คำว่า อจฺฉริย นี้จัดเป็นคำศัพท์แบบรุฬหี คือ มีความหมายไม่ตรงตามศัพท์ หมายถึง เกิดขึ้นไม่แน่นอน คือ มีเป็นบางคราวเท่านั้น. ตำราสันสกฤต ชื่อโถมนิธิอภิธาน ให้ความหมายว่า อา อิติ จริยเต อภินียเต ?,  
- อรรถกถานัย คือ ควรแก่การปรบมือ.
คัมภีร์มณิสารมัญชูสาฎีกา[๒] ฎีกาอภิธัมมัตถวิภาวินี อธิบายคำว่า มจฺฉริย ความตระหนี่ว่า
มจฺฉริย ตัดบทเป็น มา + อจฺฉริย. คำว่า อจฺฉริย ได้แก่ สิ่งที่น่าอัศจรรย์ ซึ่งควรแก่การปรบมือ เหมือนการขึ้นภูเขาของคนตาบอดได้เป็นบางคราว.  สภาพที่เป็นไปโดยนัยว่า “จงอย่าเป็นของอัศจรรย์” นี้แหละ ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นความตระหนี่

รํสิโย นิจฺฉรนฺติ-นิคจฺฉนฺตีติ อตฺโถฯ
นิ จรนฺติ > นิจฺฉรนฺติ ซ่านออก เช่น รํสิโย นิจฺฉรนฺติ รัศมีซ่านออกมา.

ใช้ ส แทน ฉ
การใช้พยัญชนะ ส แทน ฉ มีในอุทาหรณ์เหล่านี้คือ
ฉาหํ > สาหํ เช่น อตฺถิ สาหสฺส ชีวิตํ [๓]
ชีวิต ของเขามีอยู่ ๖ วัน
บทว่า สาหสฺส ในตัวอย่างนี้ตัดบทเป็น ฉาหํ + อสฺส

ฉฬายตนํ > สฬายตนํ อายตนะ ๖.

ใช้ ท แทน ช 
ปสฺเสนชี > ปสฺเสนที ผู้ชนะข้าศึก, พระราชาพระนามว่า ปัสเสนทิ
ปรเสนํ ชินาตีติ ปสฺเสนที พระราชา ผู้รบชนะกองทัพฝ่ายข้าศึก ชื่อว่า ปสฺเสนที.
(ปร + เสนา + ชิ รูปนี้ลบสระ อ และ แปลง เป็น สฺ เหมือน สข้างหลัง ด้วยมหาสูตร) -

ใช้ ย แทน ช เช่น
นิโช > นิโย ผู้อาศัย (บุตร)
นิสฺสาย ชายตีติ นิโย ผู้อาศัย เกิด ชื่อ นิย เป็น นิยก ก็มี,  เช่น  นิยํ ปุตฺตํ บุตรผู้อาศัยเกิดฯ

ใช้ ณ แทน ญ เช่น
ปญฺญตฺติ > ปณฺณตฺติ บัญญัติ,
ปญฺญาสํ > ปณฺณาสํ สิบห้าฯ
ปญฺจวีสติ > ปณฺณวีสติ ยี่สิบห้า ฯ

ใช้ น แทน ญ เช่น
ญายติ > นายติ ย่อมรู้
เช่น นามมตฺตํ น นายติ แม้แต่ชื่อ ก็ไม่มีใครรู้,
ญายเร > นายเร
เช่น อนิมิตฺตา น นายเร[๔]เพราะไม่มีเหตุ จึงไม่มีใครรู้ คือ ไม่ปรากฏ.

ใช้ ก แทน ต เช่น
นิยโต > นิยโก ผู้เที่ยงแท้

ใช้ ถ แทน ต เช่น
นิตฺติณฺโณ > นิตฺถิณฺโณ แผ่แล้ว,
นิตฺตรณํ > นิตฺถรณํ เครื่องปูลาด,
เนตฺตารํ > เนตฺถารํ ผู้นำ

ใช้ น แทน ต เช่น
ชิโต > ชิโน ชนะแล้ว,
ปิโต > ปิโน อิ่มหนำ ,
ลิโต > ลิโน แปดเปื้อนแล้ว,
ปฏิสลฺลิโต > ปฏิสลฺลิโน ซ่อนเร้น,
ปฬิโต > ปฬิโน หงอกแล้ว,
มลิโต > มลิโน เศร้าหมองแล้ว,
สุปิโต > สุปิโน ฝันแล้ว,
ปหีโต > ปหีโน เสื่อมแล้ว,
ธุโต > ธุโน ขจัดแล้ว,
ปุโต > ปุโน ชำระแล้ว,
ลุโต > ลุโน เกี่ยว,ตัดแล้ว,
อาหุตํ > อาหุนํ บูชา,
ปาหุตํ > ปาหุนํ เครื่องรับรองผู้มาเยือนฯ

ใช้ ฑ แทน ท เช่น
ฉวทาโห > ฉวฑาโห ไฟเผาศพ,
ทิสาทาโห > ทิสาฑาโห แสงสว่างในทิศ ได้แก่ แสงอาทิตย์ยามเช้าและเย็น,
กายทาโห > กายฑาโห ความเร่าร้อนในกายฯ

ใช้ ฬ แทน ท เช่น
ปริทาห > ปริฬาโห ความเร่าร้อน, ความแผดเผา,
อาทหนํ > อาฬาหนํ สุสาน
อาคนฺตฺวา ฉวํ ทหนฺติ เอตฺถาติ อาฬหนํ, สุสานํฯ สถานที่เขามาเผา ศพ เรียกว่า อาฬหน ได้แก่ สุสาน.

ใช้ ต แทน ท เช่น
สุคโค > สุคโต ผู้ตรัสดีแล้ว (พระพุทธเจ้า),
ตถาคโท > ตถาคโต ตรัสเหมือนพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน (พระพุทธเจ้า)
กุสิโท > กุสิโต คนเกียจคร้าน,
อุทุ > อุตุ ฤดู, อากาศ
อุทติ ปสวตีติ อุตุฯ
ธรรมชาติที่หลั่งไหล ชื่อว่า อุตุ.

ใช้ ท แทน ธ เช่น
อิธ > อิท ในที่นี้
เช่น เอกมิทาหํ ภิกฺขเว สมยํ [๕]- อิธาติ วา นิปาโตฯ
ภิกษุท. ครั้งหนึ่ง ในที่นี้ เรานั้น” อีกกรณีหนึ่ง ไม่ได้แปลง อิธ เป็นเพียงนิบาต ไม่มีความหมาย.

ใช้ ห แทน ธ
สาธุ > สาหุ ดีเช่น สาหุ ทสฺสนมริยานํ การได้เห็นพระอริยะท.เป็นการดี,
สํ + ธา > ห + ต > สํหิตํ จัดแจง,
วิ + ธา > ตํ > วิหิตํ จัดแจง,
ปิ + ธา > ห + ตํ > ปิหิตํ ปิด,
อภิ + ธา > ห + ตํ > อภิหิตํ ปรุงแต่ง, จัดแจง,
สํ + นิ + ธา > ห + ตํ > สนฺนิหิตํ ฝังไว้,
ป  + นิ + ธา > ห + ต +> ปณิหิตํ ตั้งไว้,
สํ + ธา > ห + ติ > สทฺทหติ เชื่อถือ, เลื่อมใส, ศรัทธา,
วิ + ธา > ห + ติ > วิทหติ จัดแจง,
ปิ + ธา > ห + ติ  > ปิทหติ ปิดอยู่ฯ


ใช้ ญ แทน น
อุป ก่อน + นิ + อาส อยู่ใกล้ > อุปนฺยาโส > อุปญฺญาโส= วากยรัมภะ ข้อความมีในลำดับ, ข้อความที่ถูกวางไว้ในที่ใกล้แห่งข้อความแรก
นิ + เอ = นฺยาโย > ญาโย – เหตุ กล่าวคือ อริยมรรค
นิจฺจํ เอติ ผลํ เอเตนาติ ญาโย,
ผลย่อมเป็นไปอย่างแน่นอน ด้วยธรรมนี้ เหตุน้้น ธรรมนี้ ชื่อว่า ญาย เหตุ, มรรค
นี + เอยฺยํ  =เนยฺยํ > เญยฺยํฯ, ควรนำไป.ควรรู้


ใช้ ย แทน น
เถนฺ + ณฺย = เถนฺยํ > เถยฺยํ งานโจร, โจรกรรม
เถนสฺส กมฺมํ เถยฺยํ การงานของขโมย ชื่อว่า เถยฺย,
เถราเธยฺยํ ผู้อาศัยพระเถระ อธีน + ณยฺ  อาธีนฺย อาเธยฺย
เถราธินนฺติ เถราเธยฺยํ, ปาติโมกฺขํ,
ปราธีน ณฺย >  ปราเธยฺยกํ ทุกฺขํ ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นฯ

ใช้ ผ แทน ป
นิปฺปชฺชติ >  นิปฺผชฺชติ ย่อมสำเร็จ,
นิปฺปตฺติ > นิปฺผตฺติ ความสำเร็จ,
นิปฺปนฺนํ > นิปฺผนฺนํ สำเร็จแล้วฯ

ใช้ พ แทน ป
สมฺพหุลํ=สมฺปหุลํ มากด้วยกัน,
ปหุสนฺโต >  พหุสนฺโต สามารถ เช่น
ปหุสนฺโต น ภรติ = พหุสนฺโต น ภรติ [๖] ผู้ใดสามารถ แต่ไม่พอกเลี้ยงบิดามารดา. (ฉบับสยามรัฐ, ฉัฏฐฯ ก็ เป็น ปหุสนฺโตอยู่แล้ว อาจเป็นปาฐะในยุคของพระคันถรจนาจารย์)

ใช้ ผ แทน ภ
ปภํ >  ปผํ เช่น
อนนฺตํ สพฺพโต ปผํ [๗] ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง (ฉบับสยามรัฐ, ฉัฏฐฯ ก็ เป็น ปภํ อยู่แล้ว อาจเป็นปาฐะในยุคของพระคันถรจนาจารย์)


ใช้ ป แทน ม
จิรํ ปวาสึ >  จิรมฺปวาสึ > จิรปฺปวาสิํ[๘], จากไปนาน
หตฺถึ ปภินฺนํ >  หตฺถิมฺปภินฺนํ >  หตฺถิปฺปภินฺนํ [๙] ช้างตกมัน

ใช้ ว แทน ย
ทีฆายุ กุมาโร > ทีฆาวุ กุมาโร[๑๐]  ทีฆาวุกุมาร,
อายุธํ > อาวุธํ อาวุธ
อายุํ ธาเรตีติ อาวุธํ วัตถุอันทรงไว้ซี่งอายุ (ชีวิต) ชื่อว่า อาวุธ,
อายุ อสฺส อตฺถีติ อตฺเถ อาวุโสติ นิปาโต,
กสาโย > กสาโว น้ำฝาด, ยางไม้=,
กาสายํ > กาสาวํ ผ้าย้อมน้ำฝาด=,
สาลิลายโก > สาลิลาวโก คนเกี่ยวข้าว
สาลิํ ลุนาตีติ สาลิลายโก ผู้เกี่ยวข้าวสาลี ชื่อว่า สาลิลายก,
ติณลายโก > ติณลาวโก คนเกี่ยวหญ้าฯ

ใช้ ร แทน ล
เนลญฺชลา > เนรญฺชรา แม่น้ำเนรัญชรา
นีลํ ชลํ เอตฺถาติ เนรญฺชรา แม่น้ำมีน้ำสีเขียว ชื่อว่า เนรญฺชรา,
อลญฺชลํ > อรญฺชโร ควรเพื่อถือเอาแม่น้ำ
ชลํ คณฺหิตุํ อลนฺติ อรญฺชโร ควรเพื่อถือเอาซึ่งแม่น้ำ ชื่อว่า อรญฺชร,
ปเลติ > ปเรติ ย่อมไป,ถึง
สสฺสตํ ปเรติ, อุจฺเฉทํ ปเรติ-ปเลตีติ อตฺโถฯ ย่อมถึงความเห็นว่าเที่ยง, ย่อมถึงความเห็นว่าขาดสูญ. ความหมายคือ ปเลติ (รูปนี้ท่านว่ามาจาก ปล ในความไป )


ใช้ ป แทน ว
ปิปาสติ ปิวาสติฯ
ปิวาสติ > ปิปาสติ ย่อมดื่ม

ใช้ พ แทน ว
วฺยากโต > พฺยากโต ทำให้แจ้ง, เปิดเผย, แสดงให้ชัด,
วฺยตฺโต >พฺยตฺโต ฉลาด,
วฺยญฺชนํ > พฺยญฺชนํ ทำให้แจ้ง, พยัญชนะ, กับข้าว, อวัยวะ
สีลวตํ > สีลพฺพตํ ศีลและวัตร,
นิวาน > นิพฺพานํ นิพพาน,
นิวุตํ  > นิพฺพุตํ ดับแล้ว,
ทิว + ณฺย > ทิพฺพํ ทิพ, กามคุณที่มีในเทวโลก,
ทิว + ย + ติ > ทิพฺพติ ย่อมเล่น,
สิวฺ + ย + ติ> สิพฺพติ ย่อมเย็บ,
กรฺ + ย+ ติ > กุพฺพติ ย่อมทำ,
กรฺ + ย + อนฺต > กุพฺพนฺโต ทำอยู่, เมื่อทำ,
กรฺ + ย+ ติ > กฺรุพฺพติ ย่อมทำ,
กรฺ + ย + อนฺต > กฺรุพฺพนฺโต เมื่อทำ,
วร + ณ > พาโร > พาโล คนพาล,
คนที่ควรถูกห้าม เพราะไม่ควรคบ ชื่อว่า พาลอเสวิตพฺพตฺตา วาเรตพฺโพติ พาโล,
ป + วชฺ + ต >  ปพฺพชิโต ผู้บวช,
ป + วชฺ + ณ > ปพฺพชฺชา การบวช

ใช้ ฉ แทน ส
อุ + สิฏฺฐํ > อุจฺฉิฏฺฐํ เหลือเดน - อวสิฏฺฐนฺตฺยตฺโถ,
นิ + สร + อนฺติ > นิจฺฉรนฺติ เปล่งเสียง, แผ่ซ่าน

คำว่า นิจฺฉรนฺติ ในสองตัวอย่างนี้ว่า
ทิพฺพา สทฺทา นิจฺฉรนฺติ รัศมีย่อมแผ่ซ่านออก.
รํสิโย นิจฺฉรนฺติ ย่อมเปล่งเสียงทิพย์,
ท่านก็หมายเอาว่า แปลง ฉ เป็น ส.

ใช้ ต แทน ส
อุ + สิส + ต  > อุตฺติฏฺฐ [๑๑] เหลือเดน เช่น
อุตฺติฏฺฐปตฺตํ อุปนาเมนฺติ[๑๒]  ยื่นบาตรที่เป็นของเหลือเดน (นัยนี้ได้จากสารัตถทีปนี วินัยฎีกา)
แต่คำว่า อุตฺติฏฺฐ ในคำว่า อุตฺติฏฺเฐ นปฺปมชฺเชยฺย อย่าประมาทในบาตรซึ่งถือไปแสดง นี้ มาจาก อุทฺทิสฺส ติฏฺฐนํ การยืนแสดง. ดังนั้น คำว่า อุตฺติฏฺฐ นี้  จึงมีความหมายว่า บาตรที่ใช้เป็นเครื่องแสดงการขอ สมดังที่มาในบาฬีนี้ว่า อุทฺทิสฺส อริยา ติฏฺฐนฺติ, เอสา อริยาน ยาจนา พระอริยะท. ย่อมยืนแสดง, นี้แหละเป็นการขอของพระอริยะท.[๑๓]

ใช้ ฆ แทน ห
นิ + ทาโห > นิทาโฆ พื้นที่เขตเผาไหม้
นิจฺจํ ทหติ เอตฺถาติ นิทาโฆ. สถานที่หมกไหม้เป็นนิตย์ ชื่อว่า นิทาฆ.,
ลหุ > ลฆุ เร็ว, เบา.

ใช้ ฑ แทน ฬ
ครุโฬ > ครุโฑ ครุฑ.
จบ กลุ่มการแปลงพยัญชนะ
จบ พยัญชนาเทสสนธิ
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช




[๑] [ธ. ป. ๑๖๖]
[๒] อิสฺสตีติ อุสูยติ น สหติ. ปรสมฺปตฺตีนํ อาวาสาทีนํ อุสูยนํ อสหนํ ปรสมฺปตฺติอุสูยนํ, มจฺฉรติ อตฺตสมฺปตฺตึ นิคูหตีติ                มจฺเฉโร, ปุคฺคโล. มจฺเฉรสฺส ภาโว มจฺฉริยํ. วิสุทฺธิมคฺคาทีสุ ปน มจฺเฉรภาโว มจฺฉริยนฺติ๓ วุตฺตํ. ฏีกาทีสุ จ มจฺฉรโยเคน มจฺฉรีติ ปวตฺตํ มจฺฉรสทฺทํ คเหตฺวา อาห มจฺฉรภาโว มจฺฉริยนฺติ๑ วุตฺตํ. ตตฺถ มจฺฉรีติ ปวตฺตนฺติ มจฺฉโร อิติ ปวตฺตนฺติ ปทจฺเฉโท, “มจฺฉรเมตสฺสตฺถีติ อตฺถสฺส อธิปฺเปตตฺตา. เตน วุตฺตํ มจฺฉรสทฺทนฺติ. อถ วา มจฺฉรี อิติ ปวตฺตนฺติ ปทจฺเฉโท, อีการสฺส อการํ กตฺวา มจฺฉรสทฺทนฺติ วุตฺตตฺตา. มา อิทนฺติอาทินา กทาจิ อนฺธสฺส ปพฺพตาโรหณํ วิย อจฺฉรํ ปหริตุํ ยุตฺตนฺติ อจฺฉริยํ, วิมฺหยภูตํ วตฺถุ. มา อจฺฉริยนฺติ ปวตฺตํ มจฺฉริยํ มจฺเฉรภูตํ ธมฺมชาตนฺติ อตฺถํ ทสฺเสติ. ลทฺธานํ วา ลภิตพฺพานํ วา อาวาสาทีนํ อตฺตสมฺปตฺตีนํ นิคูหนํ อตฺตสมฺปตฺตินิคูหนํ.
[๓] [ชา. ๒.๒๒.๓๑๔]
[๔] [วิสุทฺธิ. อฏฺฐ. ๑.๒๒๘]
[๕] [ม. นิ. ๑.๕๐๑]
[๖] [สุ. นิ. ๙๘]
[๗] [ที. นิ. ๑.๔๙๙]
[๘] [ธ. ป. ๒๑๙]
[๙] [ธ. ป. ๓๒๖]
[๑๐] [มหาว. ๔๕๙]
[๑๑] สารตฺ.วิ.ฎี. ๓/๖๔ ฯ อุตฺติฏฺฐปตฺตนฺติ เอตฺถ อุจฺฉิฏฺฐ-สทฺทสมานตฺโถ อุตฺติฏฺฐ-สทฺโทฯ เตเนวาห ‘‘ตสฺมิญฺหิ มนุสฺสา อุจฺฉิฏฺฐสญฺญิโน, ตสฺมา อุตฺติฏฺฐปตฺตนฺติ วุตฺต’’นฺติฯ
[๑๒] [มหาว. ๖๔],
[๑๓] [ชา. ๑.๗.๕๙]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น