มหาวุตฺตินา
อกฺขรสํขิตฺตํ โหติ –
อาเจโร
อาจริโย,
น มาตาปิตรสํวฑฺโฒ, อนาเจรกุเล วสํ[1], อาเจรมฺหิ สุสิกฺขิตา[2], พฺรหฺมเจโร พฺรหฺมจริโย, ติณฺหํ
ติขิณํ, ตณฺหา ตสิณา, สุณฺหา สุณิสา,
อภิณฺหํ อภิกฺขณํ, ปณฺโห ปุพฺพณฺโห, ปณฺเห วชฺโฌ มโหสโธ[3], สุราเมรโย-สุราเมเรยฺโย, สุราเมเรยฺยปานานิ, โย นโร อนุยุญฺชติ [4]ฯ
กมฺมธารโย= กมฺมธาเรยฺโย, ปาฏิหีรํ
ปาฏิเหรํ ปาฏิหาริยํ, อจฺเฉรํ อจฺฉริยํ, มจฺเฉรํ มจฺฉรํ มจฺฉริยํ อิจฺจาทิฯ
อุทาหรณ์ที่มีการย่ออักษร
ด้วยสูตรใหญ่ (มหาสูตร) เช่น
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
อาเจโร อาจริโย
|
อาจริโย
|
อาจารย์
|
น มาตาปิตรสํวฑฺโฒ,
อนาเจรกุเล วสํ
|
อนาจริกุเล
|
มิได้เติบโตในสำนักของบิดามารดา,
ไม่อยู่ในตระกูลอาจารย์
|
อาเจรมฺหิ สุสิกฺขิตา
|
อาจริยมฺหิ
|
ศึกษาดีแล้วใน (สำนัก) อาจารย์
|
พฺรหฺมเจโร
|
พฺรหฺมจริโย
|
พรหมจรรย์
|
ติณฺหํ
|
ติขิณํ
|
แข็งกล้า
|
ตณฺหา
|
ตสิณา
|
ความกระหาย, ความอยาก
|
สุณฺหา
|
สุณิสา
|
หญิงสะใภ้
|
อภิณฺหํ
|
อภิกฺขณํ
|
บ่อยๆ
|
ปณฺโห
|
ปุพฺพณฺโห
|
ก่อน
|
ปณฺเห วชฺโฌ มโหสโธ
|
ปุพฺพณฺเห
|
มโหสธบัณฑิต ควรถูกประหาร ก่อน
|
สุราเมรโย
|
สุราเมเรยฺโย
|
สุราและเมรัย (เครื่องมึนเมา)
|
สุราเมเรยฺยปานานิ,
โย นโร อนุยุญฺชติ
|
สุราเมรยปานานิ
|
นรชนใด มักดื่มสุราเมรัยเนืองๆ
|
กมฺมธารโย
|
กมฺมธาเรยฺโย
|
กรรมธารยสมาส
|
ปาฏิหีรํ ปาฏิเหรํ
|
ปาฏิหาริยํ
|
ปาฏิหาริย์ ธรรมที่กำจัดปฏิปักขธรรม
|
อจฺเฉรํ
|
อจฺฉริยํ
|
น่าอัศจรรย์
|
มจฺเฉรํ, มจฺฉรํ
|
มจฺฉริยํ
|
ความตระหนี่
|
มิสสกาเทส การแปลงอักษรที่คละกัน
“การลดพยางค์”
บางศัพท์มีการเพิ่มพยางค์เสียง
ซึ่งมีประโยชน์ในการแต่งฉันท์ ในกรณีนี้ มักไม่มีสูตรให้สำเร็จรูปโดยตรง. คัมภีร์นิรุตติทีปนีแนะนำว่าให้ทำด้วยมหาสูตร
คือ สูตรที่ทำให้สำเร็จรูปศัพท์ได้อย่างสอดคล้องกับพระบาฬี โดยใช้สูตร ตทมินาทีนิ
ในโมคคัลลานไวยากรณ์ ที่เคยกล่าวมาแล้วหลายครั้ง.
ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเพิ่มพยางค์เสียง
อาเจโร = อาจริโย อาจารย์
ตัวอย่างเช่น
น มาตาปิตรสํวฑฺโฒ, อนาเจรกุเล วสํ
มิได้เติบโตในสำนักของบิดามารดา,
ไม่อยู่ในตระกูลอาจารย์
อนาเจรกุเล = อนาจริยกุเล
อาเจรมฺหิ สุสิกฺขิตา
ศึกษาดีแล้วใน (สำนัก) อาจารย์
อาเจรมฺหิ = อาจริยมฺหิ
จากคำว่า อาเจโร ท่านเพิ่มพยางค์เสียงเป็น
อาจริย
พฺรหฺมเจโร = พฺรหฺมจริโย พรหมจรรย์
ติณฺหํ =ติขิณํ แข็งกล้า
ตณฺหา = ตสิณา ความกระหาย,
ความอยาก
สุณฺหา = สุณิสา หญิงสะใภ้
อภิณฺหํ = อภิกฺขณํ บ่อยๆ
ปณฺโห = ปุพฺพณฺโห ก่อน ตัวอย่างเช่น
ปณฺเห วชฺโฌ มโหสโธ
พระมโหสธบัณฑิต ควรถูกประหาร ก่อน
ปณฺเห = ปุพฺพณฺเห
สุราเมรโย = สุราเมเรยฺโย
สุราและเมรัย ตัวอย่างเช่น
สุราเมเรยฺยปานานิ, โย นโร อนุยุญฺชติ
นรชนใด มักดื่มสุราเมรัยเนืองๆ
สุราเมเรยฺยปานานิ = สุราเมรยปานานิ
กมฺมธารโย = กมฺมธาเรยฺโย กรรมธารยสมาส
ปาฏิหีรํ, ปาฏิเหรํ = ปาฏิหาริยํ ปาฏิหาริย์ ธรรมที่กำจัดปฏิปักขธรรม
อจฺเฉรํ = อจฺฉริยํ น่าอัศจรรย์
มจฺเฉรํ, มจฺฉรํ = มจฺฉริยํ ความตระหนี่
รูปตัวอย่างที่แสดงมานี้เป็นมติของคัมภีร์นิรุตติทีปนี
อาจมีบางรูปที่ไม่ตรงกับมติของคัมภีร์อื่นก็มี เช่น รูปว่า อาเจร และ อาจริย
อาจริยมาจาก อา
+ จร + ณฺย มีวิเคราะห์ว่า
สิสฺสานํ หิตํ
อาจรตีติ อาจริโย, ณฺโยฯ (ธาน.ฎี.๔๑๐)
ผู้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ของศิษย์
ชื่อว่า อาจารย์
คัมภีร์สัททนีติ
กล่าวว่า อาเจร เป็นรูปที่กลายมาจาก
อาจริย โดยแสดงไว้ในสูตรที่ ๕๒๖ ว่า อาจริยสฺสาเจโร. แปลง อาจริย เป็น
อาเจร ได้บ้าง.
เรื่องนี้ขอจงตั้งไว้ในใจว่า
เป็นแนวคิดของพระคันถรจนาจารย์
และนำไปสังเกตเทียบเคียงเพื่อความแตกฉานในสัททศาสตร์สืบไป
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น