วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๕๓. การแปลง อวรรคพยัญชนะ

ครั้งที่๓๗ พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
การแปลง อวรรคพยัญชนะ
วันนี้จะศึกษาสองศัพท์นี้ คือ กยฺยเต อันเขากระทำอยู่ อยฺย เจ้านาย,,
สองศัพท์นี้จัดเป็นอวรรคพยัญชนาเทสะ เพราะมีการแปลง รพยัญชนะ. การแปลง รพยัญชนะ ก็คงอยู่เกณฑ์เดียวกับ ตวรรค กล่าวคือ เพราะ ย แปลง ร เป็น ยฺ ด้วยสูตรนี้
๔๔ตวคฺควรณานํ เย จวคฺคพยญา ฯ
เพราะ ย แปลง ต วรรค เป็น จวรรค, ว เป็น พ, ร เป็น ย, และ ณ เป็น ญ.
เช่น
กรฺ + ย  > กยฺยเต อันเขากระทำอยู่
ทำตามรูปเดิมเป็น กริยเต ดังนี้ ก็มี
อริย  > อยฺโย  เจ้านาย
อรฺ + ย  >= อยฺย   (แปลง ร เป็น ยฺ แปลง ย เป็น ปุพพรุป)
อริโย ถ้าไม่เป็น อยฺย ก็เป็น อริย (อริย หมายถึง สามี, อธิปติ  คือ เจ้านาย และมีการกลับรูปเป็น อยิร (นีติ.สุตฺต ๑๕๔, ธาน.๑๑๒๒) . ดังนั้น ในที่มีอรรถว่า สามี จึงกร่อนเสียงเป็น อยฺย ที่แปลว่า นาย
พจนานุกรมบาลีไทยอังกฤษ ฉบับภูมิพโล ให้ความหมายอยฺยว่า
“(นาม.,  คุณ.)  [รูปย่อแทนออกเสียง  อริย  (ดูคำนี้แทนนิรุกติ).  ดู  อยิร  ด้วย ]  ---- (ก.)  (นาม.)  สุภาพบุรุษ,เจ้าเหนือหัว,  เจ้านาย,  หัวหน้า  ชา.3/167  =  เปต.อ.65;----  (เป็นคำที่กลายมาจาก อริย เช่นเดียวกับ อยิร และ  อยฺยิร)” 
เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่า อริย คือ คำนามประเภทอนิปผันนปาฏิปทิกะ คำนามที่ไม่สำเร็จรูปมาจากธาตุหรือปัจจัย. ในกรณีที่หมายถึง พระอริยะ จะไม่มีการนำใช้ในรูปที่กร่อนเสียงเป็น อยฺย. เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่า  มาจาก
กิเลสารโย หนตีติ อรโหโส เอว อริโย,
กำจัด อริ คือ กิเลส ชื่อว่า อรหะ, อรห นั่นเองกลายรูปเป็น อริย
อรฺ บรรลุ+ ณฺย ลง อิ อาคม.  อร คมเน วาอรติ อธิคจฺฉติ มคฺคผลธมฺเมติ อริโย, ณฺโยฯธาน.ฎี ๔๓๕) รูปนี้แปลก ปกติ ณฺย จะวุทธิเป็น อารยฺ แล้วลงอิ เป็น อาริย แต่แล้วก็เป็น อริย ไม่วุทธิ นอกจากนี้ ณฺย ยังใช้ในกัตตุสาธนะ โดยทั่วไปจะใช้ในภาวสาธนะและกัมมสาธนะ ในที่นี้คิดว่า เป็นกรณีพิเศษ เพื่อการกลายเสียงให้ตรงกับคำว่า อริย อันเป็นรูปเดิมที่ใช้ในภาษาเก่า).


ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น