ครั้งที่๓๓ : พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
การแปลงพยัญชนะ
ตวรรค
วันนี้จะศึกษาอุทาหรณ์เหล่านี้
คือ
ปณฺฑิจฺจํ
ความเป็นบัณฑิต, สจฺจํ ความเป็นจริง, ตจฺฉํ ความจริงแท้, นชฺโช อ.แม่น้ำท., นชฺชา ด้วยแม่น้ำ, นชฺชํ ในแม่น้ำ
สำหรับสองอุทาหรณ์นี้เหมือนที่กล่าวมาใน
ฏวรรค เพราะลง ณฺย ปัจจัย
ปณฺฑิต + ณฺย > ปณฺฑิจฺจํ ความเป็นบัณฑิต
(ปณฺฑิตฺ + ย > ปณฺฑิจฺ + ย > ปณฺฑิจฺ + จ = ปณฺฑิจฺจํ)
สนฺต + ณฺย > สจฺจํ ความเป็นสิ่งที่มีอยู่ หรือ ธรรมอันมีในสัตตบุรุษ (คือพระอริยะ)
ในรูปนี้คือ
สจฺจํ มาจาก สนฺต + ณฺย ภาวตัทธิต มีรูปวิเคราะห์ว่า
สนฺตสฺส ภาโว
สจฺจํ ความเป็นแห่งสิ่งมีอยู่ ชื่อว่า สจฺจ ได้แก่ ความจริง
อีกนัยหนึ่ง ลง
ณฺยปัจจัยในภวัตถตัทธิต มีรูปวิเคราะห์ว่า
สนฺเตสุ สาธูสุ
ภวนฺติ สจฺจํ ธรรมอันมีในสัตบุรุษ ชื่อว่า สจฺจ
ปัญหาว่า ถ้าเป็นตัทธิตปัจจยันตบทโดยลง
ณฺย ปัจจัย เมื่อแปลงตามขั้นตอนนี้จะได้รูปเป็น สนฺตฺย และสำเร็จรูปเป็น สนฺจฺจ ตามลำดับ เมื่อเป็นเช่นนี้ นฺ หายไปไหน ถ้าลบหรือแปลง จะหายด้วยสูตรใด.
ตอบว่า ลบพยัญชนต้นสังโยคด้วยสูตร
ว่า สํโยคาทิ โลโป ลบพยัญชนต้นสังโยคได้บ้าง (โมค.๑/๕๓ หรือนิรุตติ. ๓๐) ดังในโมค.ปัญจิกา
สูตรที่ [๙๒] ใช้สูตรนี้ลบ นฺ ที่ สนฺต เป็น สต แล้วลง
อํวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น สตํ หรือลบด้วยมหาสูตรคือ
ตทมินาทีนิ เหมือนกับคำว่า ทุกฺข เป็น ทุข, เสกฺข เป็น เสข, อเปกฺขา เป็น อเปขา ดังนี้เป็นต้น[1]
แนวคิดจากคัมภีร์อื่น
๑) คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกา
ถือว่าเป็น ภวัตถตัทธิต ธรรมมีในพระอริยะ มีรูปวิเคราะห์ว่า
สนฺเตสุ สาธูสุ
ภวํ =
สจฺจํ
มีในสัตตบุรุษ
(พระอริยะ) ชื่อว่า สจฺจ
กรณีนี้ต่างจากนิรุตติทีปนีให้ลง
ณฺย ปัจจัยในอรรถภาวตัทธิต.
อีกกรณีหนึ่งเป็นกิตกบทลง
ย ปัจจัย ท้าย สตฺ ธาตุ ในอรรถว่า จริงแท้. (ลบ อ ท้ายธาตุที่มีหลายเสียง) กรณีนี้ ลง ยปัจจัยท้าย สตฺ ด้วยสูตร ๖๖๐. วชาทีหิ ปพฺพชฺชาทโย นิปจฺจนฺเตฯ แปลง ตฺย เป็น
จ ด้วยสูตร ยวตํ ตลนทการานํ พฺยญฺชนานิ จลญชการตฺตํฯ ในกัจจายนสูตร
๒) โมคคัลลานไวยากรณ์
ก็ให้เป็น กิตกบทเช่นกัน มาจาก สร ธาตุ ในอรรถว่า กำจัด ลง จ
ปัจจัยด้วยสูตรโมค.ว่า ๓๙. จุสรวรา โจฯ [2]ลง
จปัจจย ท้ายธาตุเหล่านี้ คือ จุ จวน, สร คติ หึสา จินฺต และ วร ธาตุ
ในอรรถร้องขอและภักดี. มีรูปวิเคราะห์ว่า
สรติ อายติํ ทุกฺขํ
หิํสตีติ สจฺจํ=อวิตถํฯ
สภาวะกำจัดทุกข์ต่อไป
ชื่อว่า สจฺจ ได้แก่ ความไม่แปรปรวนเป็นอย่างอื่น
กรณีนี้ อาเทสที่สุดธาตุเป็น
จฺ (ทุกตำราไม่ได้บอกว่าลงด้วยสูตรใด คิดว่า คงเป็นมหาสูตรตามเคย) ลง จ ปัจจัย
ด้วยสูตรนี้
๓) คัมภีร์นยาสะสูตร
๖๓๘. วชาทีหิ ปพฺพชฺชาทโย นิปฺผชฺชนฺเต. ให้ลง ตฺย ปัจจ้ยท้าย สต
ธาตุแล้วลบที่สุดธาตุแล้วแปลง ตฺย เป็น จฺจ สำเร็จรูปเป็น สจฺจํ.[3]
ตถ + ณฺย > ตจฺฉํ
รูปนี้ แปลง ถฺ
เป็น ฉฺ และ ทำ ย เป็นปุพพรูป คือ ฉ ก่อน จึงแปลง ฉฺ ตัวหน้า เป็น จฺ
ตามที่เคยกล่าวมาในวิธีของ ปาโมกฺข ตถฺย> ตฉฺฉ >= ตจฺฉ
นที + โย > นชฺโช
นที + ยา (นา
วิภตติ) > นชฺชา
นที + อํ (สฺมึ
วิภัตติ) > นชฺชํ
(การกลายเป็นนชฺโชเป็นต้น
แห่งนทีศัพท์ มีนัยเหมือนกับ โปกฺขรญฺโญ เป็นต้น แปลกแต่แปลง แปลกแต่ ทฺ เป็น ชฺ)
ขออนุโมทนา
สมภพสงวนพานิช
[1]
ด้วยข้อความในสูตรที่
[๙๒] ของคัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกานั้นว่า “สํโยคาทิโลโป”ติ (๑/๕๓) นสฺส
โลโป สตํ, สนฺตนฺติ วุตฺตํ โหติ. อสนฺติ
ฏาเทสปกฺเข อุทาหรณํ, อสนฺตนฺติ วุตฺตํ โหติ. แต่ปาฐะในพระบาฬีชาดก เป็น สนฺตํ อยู่แล้ว ปาฐะในยุคนั้นอาจเป็นรูป สตํ
และนิรุตติทีปนีก็อนุญาตให้ลบได้เฉพาะที่เป็นสังโยคที่เหมือนกัน
ถ้าต่างกันจะใช้สูตรนี้ไม่ได้ เช่น ติตฺถฺยา ปุถุโส วทนฺติ [สุ. นิ. ๘๙๗], จตุตฺถฺยนฺตํ, ฉฏฺฐุนฺตํ, จกฺขฺวาพาธํ,
วตฺถฺเวตฺถฯ
เมื่อเป็นเช่นนี้ควรใช้มหาสูตรคือ ตทมินาทีนี สำเร็จรูป
ซึ่งท่านเคยกล่าววิธีการนี้ไว้ในโลปราสิ ในหัวข้อลบพยัญชนะหน้าสังโยคตัวต้นแล้ว
เช่น ปุตฺตานญฺหิ วโธ ทุโข, มาติโฆ ลภเต ทุขํ,
อปฺปสฺสาทา กามา ทุขา, นตฺถิ กามปรํ ทุขํ
[ชา. ๒.๑๙.๑๑๘], เสโข=เสกฺโข, อเปขา=อเปกฺขา,
อุปสมฺปทาเปโข=อุปสมฺปทาเปกฺโข [มหาว.
๗๐]
[2] จุ-จวเน,
สร-คติ หิํสา จินฺตาสุ, วร-วรณ สมฺภตฺตีสุ,
เอเตหิ โจ โหติฯ (วุตติของสูตรโมคคัลลานะ ๓๙ นั้น)
[3] สจฺจนฺติ สต สาตจฺเจตีมสฺส อิมินา
ตฺยปจฺจยํ กตฺวา ยวโต
ตการสฺส จการาเทสํ กตฺวา
ตสฺส เทฺวภาวํ กตฺวา
เนตพฺพํ เนตฺวา วุตฺตนเยน
สฺยุปฺปตฺตึ กตฺวา โยนํ
นิ นปุํสเกหิ, อโต นิจฺจนฺติ อธิกิจฺจ
สินฺติ สิสฺส อมาเทสํ
กตฺวา สรโลปปฺปกติภาวาทิมฺหิ กเต
รูปํ. (ข้อความในสูตรที่ ๖๓๘ นั้น)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น