วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๘๕ : น อาคม

โน
น เป็น พยัญชนอาคม

อิโต นายติ, จิรํ นายติ, กมฺเม สาธุ กมฺมนิยํ กมฺมญฺญํ, อตฺตโน อิทํ อตฺตนิยํ, อทฺธานํ ขมตีติ อทฺธนิยํ, โลภสฺส หิตํ โลภนิยํ โลภเนยฺยํ, โทสนิยํ โทสเนยฺยํ, โมหนิยํ โมหเนยฺยํ, โอฆนิยํ, โยคนิยํ, คนฺถนิยํ, นิทฺธุนนํ นิทฺธุนนโก, สญฺชานนํ, สญฺชานนโก, สญฺญาปนโก อิจฺจาทิฯ

ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
อิโต นายติ,
อิโต + อายติ
ย่อมมาจากที่นี้
จิรํ นายติ,
จิรํ + อายต
ย่อมมานาน
กมฺเม สาธุ กมฺมนิยํ
กมฺม + อิย
ความดีในการงาน ชื่อว่า กมฺมนิยํ,
กมฺมญฺญํ,
กมฺม + อิย
รูปว่า กมฺมญฺญํ ก็มี
อตฺตโน อิทํ อตฺตนิยํ,
อตฺตา + อิย
สิ่งนี้ของตน ชื่อว่า อตฺตนิยํ
อทฺธานํ ขมตีติ อทฺธนิยํ,
อทฺธา + อิย
ย่อมควร แก่ทางไกล ชื่อว่า อทฺธนิยํ
โลภสฺส หิตํ โลภนิยํ
โลภ + อิย
เกื้อกูลแก่โลภะ ชื่อว่า โลภนิยํ
โลภเนยฺยํ,
โลภ + เอยฺย
เกื้อกูลแก่โลภะ
โทสนิยํ
โทส + อิย
เกื้อกูลแก่โทสะ
โทสเนยฺยํ,
โทส + เอยฺย
เกื้อกูลแก่โทสะ
โมหนิยํ
โมห + อิย
เกื้อกูลแก่โมหะ
โมหเนยฺยํ,
โมห + เอยฺย
เกื้อกูลแก่โมหะ
โอฆนิยํ,
โอฆ + อิย
เกื้อกูลแก่โอฆะ
โยคนิยํ,
โยค + อิย
เกื้อกูลแก่โยคะ
คนฺถนิยํ,
คนฺถ + อิย
เกื้อกูลแก่คันถะ
นิทฺธุนนํ,
นิทฺธุ + น + อน
สะบัด, หวั่นไหว
นิทฺธุนนโก,
นิ + ธุ + น + อน + ก
สะบัด, หวั่นไหว
สญฺชานนํ,
สํ + ญา + นํ
การรู้
สญฺชานนโก,
สํ + ญา + น + ก
การหมายรู้
สญฺญาปนโก
สํ + ญาป + อก
การบอกให้รู้

 ------

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๘๕  : พยัญชนอาคม : การลง น อาคม

การลง น อาคม ตามคัมภีร์นิรุตติทีปนี จะมีความเป็นไปเช่นเดียวกับการลง น อาคมตามที่เคยศึกษาในคัมภีร์ปทรูปสิทธิ กล่าวคือ ลงหน้าสระ เช่น

อิโต นายติ = ย่อมมาจากที่นี้
อิโต + อายติ                   
                                  

จิรํ นายติ = ย่อมมานาน
จิรํ + อายติ                     
                                  

กมฺเม สาธุ กมฺมนิยํ กมฺมญฺญํ = ความดีในการงาน ชื่อว่า กมฺมนิยํ, รูปว่า กมฺมญฺญํ ก็มี
กมฺม + อิย      
         

อตฺตโน อิทํ อตฺตนิยํ  = สิ่งนี้ของตน ชื่อว่า อตฺตนิยํ
อตฺตา + อิย                    
                                  

อทฺธานํ ขมตีติ อทฺธนิยํ = ย่อมควร แก่ทางไกล ชื่อว่า อทฺธนิยํ
อทฺธา + อิย                    

โลภสฺส หิตํ โลภนิยํ  = เกื้อกูลแก่โลภะ ชื่อว่า โลภนิยํ
โลภ + อิย                      

โลภเนยฺยํ = เกื้อกูลแก่โลภะ
โลภ + เอยฺย                                                            

โทสนิยํ  = เกื้อกูลแก่โทสะ
โทส + อิย                                                               

โทสเนยฺยํ =  เกื้อกูลแก่โทสะ
โทส + เอยฺย                                                            

โมหนิยํ  = เกื้อกูลแก่โมหะ
โมห + อิย                                                               

โมหเนยฺยํ = เกื้อกูลแก่โมหะ
โมห + เอยฺย                                                            

โอฆนิยํ = เกื้อกูลแก่โอฆะ
โอฆ + อิย                      

โยคนิยํ = เกื้อกูลแก่โยคะ
โยค + อิย                      

คนฺถนิยํ = เกื้อกูลแก่คันถะ
คนฺถ + อิย                     

ลง อิย ปัจจัยในอรรถว่า เกื้อกูล ด้วยสูตร ๕๒๘ อิโย หิเต ลงอิยปัจจัยในอรรถเกื้อกูล แต่อาจลง อนิย ปัจจัยในอรรถนี้เหมือนกัน ซึ่งท่านสงเคราะห์ไว้ด้วยสูตรว่า ๕๕๒. ทิสฺสนฺตญฺเญปิ ปจฺจยา ปัจจัยอื่นที่ไม่ได้แสดงไว้ในที่นี้ยังมีใช้อีก ในกรณีนี้ไม่ได้ลง น อาคมวิธีการนี้

นิทฺธุนนํ =  สะบัด, หวั่นไหว
นิทฺธุ + น + อน                

นิทฺธุนนโก = สะบัด, หวั่นไหว
นิ + ธุ + น + อน + ก        

สญฺชานนํ = การรู้
สํ + ญา + นํ                   

สญฺชานนโก = การหมายรู้
สํ + ญา + น + ก              

สญฺญาปนโก  =  การบอกให้รู้
สํ + ญาป + ก                 

ยุปัจจัย ตามคัมภีร์กัจจายนะ ในที่นี้ คือ อนปัจจัย โดยกล่าวถึงรูปที่ปรากฏจริงในอุทาหรณ์ ท่านกล่าวไว้ในสูตรที่ ๗๘๘ อโน ลงอนปัจจัยท้ายธาตุในอรรถภาวะและการกะอีก ๖.

การลงปัจจัยในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ ที่เป็นต้นแบบของคัมภีร์นิรุตตทีปนีนี้ อาจดูแตกต่างกับคัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์ที่เป็นต้นแบบของคัมภีร์ปทรูปสิทธิอยู่บ้าง มีมากกว่า บ้าง. นอกจากนี้ หลักการบางอย่างที่เป็นวิธีการสำเร็จรูปอุทาหรณ์ในพระบาฬี ในนิรุตติทีปนีนี้ก็มีมากกว่า ซึ่งเป็นที่น่าสนใจควรแก่การศึกษาอยู่ไม่น้อย

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น