วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๘๑ : โอ อาคม

โอ
(สระ) โอ เป็นอาคม

ปโรสตํ, สรโทสตํ, ทิโสทิสํ[1] อิจฺจาทิฯ
ตัวอย่าง

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ปโรสตํ,
ปร + โอ + สตํ
เกินกว่าร้อย
สรโทสตํ,
สรท + โอ + สตํ
เกินร้อยปี
ทิโสทิสํ
ทิส + โอ + ทิสํ
ทิศน้อยทิศใหญ่, (ความหมายคือ ทั่วทุกทิศ)


อติปฺปโค โข ตาว ปิณฺฑาย จริตุ[2]นฺติ เอตฺถ ปาโตตฺโถ ปโคสทฺโท เอวฯ
ในพระบาฬีนี้ อติปฺปโค โข ตาว ปิณฺฑาย จริตุํ “เช้าเกินไปที่จะไปบิณฑบาตร”. คำว่า ปโค มีความหมายว่า เช้า เท่านั้น

อิติ สราคมราสิฯ
กลุ่มศัพท์ที่มีการสนธิโดยลงสระเป็นอาคม อย่างนี้


ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๘๑  : การลง โอ อาคม
การลงสระ โอ เป็นอักษรอาคม เป็นอาคมตัวสุดท้ายในสระอาคม ซึ่งการลง โออาคม นี้สามารถทำได้ด้วยมหาสูตรเช่นกัน ตัวอย่างเช่น
ปโรสตํ เกินร้อย ...  =  ปร (อติเรก) เกิน + สตํ ร้อย
ปร เกิน สตํ ซึ่งร้อย ชื่อว่า ปรสตํ เมื่อควรจะกล่าว ปรสตํ ก็ลง โอ อาคม เป็น ปโรสตํ

สรโทสตํ  เกินร้อยปี =  สรท ปี + สตํ ร้อย

ทิโสทิสํ ทิศน้อยทิศใหญ่, ทิศนั้น ฯลฯ = ทิส + ทิส
ทิโสทิสํ ตัดบทเป็น ทิส ทิส แล้วลงโออาคม เช่นกัน โดยเป็นบทสมาส สามารถกระจายศัพท์ตั้งวิเคราะห์เป็นสมาสชนิดต่างๆ โดยให้สอดคล้องกับความหมายที่ต้องการควรแก่พระบาฬีนั้นๆ เช่น
กรณีนี้เป็น ทวันทสมาส
ทิสานุทิสํ แปลว่า ทิศและทิศเฉียง (อป.อ. ๒๓๗)
ทิส ทิส  ทุกทิศ (เถร.อ.๒๒๑)

กรณีนี้เป็นการใช้คำซ้ำกันในอรรถวิจฉา คือ แผ่ไปทั่ว ความหมายคือ ทุกทิศ จัดเป็นทวันทสมาส
ตาย ตาย ทิสาย ทิศนั้น ๆ (ที.ปา.อ. ๑๔๗)

กรณีนี้เป็นตัปปุริสสมาส
ทิสโต ทิสํ (ไป) สู่ทิศหนึ่งจากทิศหนึ่ง คือ เที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ (เปต.อ. ๑๖๐)
ดังนี้เป็นต้น

-----

มีตัวอย่างที่คล้ายกับเป็นการลง โอ อาคมในที่นี้ คือ อติปฺปโค ในพระบาฬีว่า
อติปฺปโค โข ตาว ปิณฺฑาย จริตุํ
“เช้าเกินไปที่จะไปบิณฑบาตร”.
ปโค ในพระบาฬีนี้ มาจาก อติ + ปค + โอ (สิ) จึงเป็นนามศัพท์ที่ลงปฐมาวิภัตติ ซึ่งมีความหมายเท่ากับ ปาโต เวลาเช้า เท่านั้น ไม่ได้มาจาก อติปฺปค + โอ อาคม. มตินี้ ต่างจากมติของปทรูปสิทธิที่ให้ลง คฺ และ โอ เป็นอาคม ท้าย อติปฺปป ศัพท์ (จศัพท์ในสูตร ๓๔ ยวมทนตรลา จาคมา)

ในการลงโออาคม นี้ อาจมองว่า เป็นการแปลง อ เป็น โอ ได้บ้าง ดังที่ท่านเคยแสดงแล้วในอัปปวิธาน (วิธีการแห่งศัพท์เล็กน้อย)
สำหรับ การลงสระอาคมนี้ มีเพียง ๕ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ และ โอ ซึ่งเป็นวิธีการที่มาในคัมภีร์นี้ อาจแตกต่างไปจากมติของคัมภีร์อื่นๆ บ้าง เหมือนบ้าง แม้ในคัมภีร์นี้เอง ก็ยังสามารถใช้วิธีการอื่นๆได้อีก แม้ในอุทาหรณ์เดียวกัน.  การมีวิธีการที่หลากหลาย ตามมุมมองของอาจารย์นักไวยากรณ์ ก็ถือว่า เป็นการยืดหยุ่นการใช้หลักไวยากรณ์ให้เพิ่มมากขึ้น

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช




[1] [ธ. ป. ๔๒] ตามที่อ้างนี้ ไม่น่าถูกต้อง เพราะในบาฬีนั้น เป็น ทิโส ทิสํ แปลว่า โจร (เห็น) โจร ซึ่งไม่เป็นบทสมาสตรงตามจุดประสงค์ในวิธีนี้ ในที่นี้ ทิโสทิสํ หมายถึง ทั่วทุกทิศ ควรอ้างบาฬีใน ที.ปา. ๓/๑๖๒, ขุ.เป. ๑๖๗ เป็นต้น
[2] [ที. นิ. ๓.๑]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น