ความหมายของคำว่า
นิคคหิต
๘.
พินฺทุ นิคฺคหีตํ ฯ
อนฺเต
พินฺทุมตฺโต วณฺโณ นิคฺคหีตํ นามฯ นิคฺคยฺห คยฺหติ อุจฺจาริยตีติ นิคฺคหีตํฯ
๘.
พินฺทุ นิคฺคหีตํ ฯ
พินทุ
(จุด _
ํ )
ชื่อว่า นิคคหิต.
อักษร ที่เป็นเพียงจุดเท่านั้น
ในสุดท้ายแห่งพยัญชนะ (พยัญชนะตัวสุดท้าย ซึ่งเป็นเพียงจุดเท่านั้น) มีชื่อว่า
นิคคหิต. คำว่า นิคคหิต ได้แก่ อักษรที่กดกรณ์แล้วถูกออกเสียงได้. [1]
ครุสญฺญาราสิ
นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มครุสัญญา
จบ
[1] (ก.
๘; รู. ๑๐; นี. ๘). คำว่า นิคฺคหิต
มาจาก นิ อุปสัค = นิคฺเหตฺวา ข่ม + คห ธาตุ มีอรรถว่า
ออกเสียง. หมายความว่า นิคคหิตเป็นพยัญชนะที่ต้องกดหรือข่มฐานและกรณ์ไม่ปล่อยเสียงออกมาตามฐานและกรณ์ปกติ
จึงออกเสียงได้ อุปมาเหมือนนกที่เกาะอยู่บนยอดไม้
เมื่อจะบินขึ้นได้ต้องกดกิ่งไม้ที่มันอาศัยอยู่แล้วบินขึ้นไป หมายถึง
การปิดปากนั่นเอง ตัวอย่างเช่น การออกเสียง กํ ต้องกดฐานและกรณ์ของ กํ คือ กัณฐฐานและกัณฐกรณะ
โดยไม่เปล่งเสียงออกทางปาก แต่ให้เสียงขึ้นไปทางจมูกแล้วเปล่งออกทางจมูก เป็นต้น. ดังคำอธิบายในค้มภีร์อรรถกถาพระวินัยว่า
นิคฺคหีตนฺติ ยํ กรณานิ นิคฺคเหตฺวา อวิสชฺเชตฺวา อวิวเฏน มุเขน สานุนาสิกํ กตฺวา
วตฺตพฺพํ “พินทุที่บุคคลข่ม คือ ไม่ปล่อยฐานและกรณ์ไว้แล้วกล่าว
โดยกระทำให้มีเสียงตามจมูกด้วยปากอันไม่เปิด ชื่อว่า นิคคหิต. และในคัมภีร์การิกาฎีกาว่า
นิคฺคเหตฺวานาติ นิปฺปีเฬตฺวา. มุขํ ปิทหิตฺวาติ วุตฺตํ โหติ. คำว่า นิคฺคเหตฺวาน
แปลว่า ข่มแล้ว ความหมายก็คือ ปิดปากแล้ว.” ข้อนี้ หมายความว่า การเปิดปากไม่กว้างและไม่ให้ลมผ่านปากไปเท่านั้น
ถ้าปิดปากสนิทจะเป็นเสียงที่มี มฺ อักษรอยู่ท้าย เช่น พุทฺธมฺ สรณมฺ
ซึ่งไม่ใช่เสียงนิคคหิต. (ปทวิจารทีปนี น. ๖๘)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น