วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๓. ความหมายของคำว่า สระ

ความหมายของคำว่า สระ
๒. ทสาโท สรา [1]
เตสุ วณฺเณสุ อาทิมฺหิ ทส วณฺณา สรา นาม โหนฺติฯ
สยเมว ลทฺธสรูปา หุตฺวา ราชนฺติ วิโรจนฺตีติ สราฯ
๒. ทสาโท สรา
อักษร ๑๐ ตัวแรก ชื่อว่า สระ.
บรรดาอักษร ๔๓ ตัวเหล่านั้น อักษร ๑๐ ตัวในเบื้องต้น มีชื่อว่า สระ.
สระ เป็นอักษรที่ได้ความมีอยู่ของตน [2]  ย่อมรุ่งเรือง (ออกเสียงได้) ด้วยตนเองทีเดียว.[3] 



[1] [ก. ๓; รู. ๓; นี. ๓]
[2] สรูป แปลว่า ความเป็นของตน สำหรับในที่นี้ คือ สภาพที่ออกเสียงได้ ซี่งเป็นของตนโดยธรรมชาติ.
[3] ด้วยรูปวิเคราะห์ตามมติของนิรุตติทีปนีนี้ แสดงว่า สระ ได้แก่ อักษรที่รุ่งเรือง คือ ปรากฏด้วยตนเองโดยการออกเสียง. คัมภีร์กัจจายนัตถทีปนีอธิบายว่า มาจาก สยํ นิบาตในอรรถว่า ด้วยตนเอง + ราช ธาตุ สว่าง + ร ปัจจัย (ด้วยสูตร คมา โร (ณฺวาทิ ๗/๑๓). ลบ ร = สยํราช.  แปลง สยํ เป็น ส และ ราช เป็น ร ด้วยนิรุตตินัย สำเร็จรูปเป็น สร. ส่วนคัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกาอธิบายว่า
            สยํ ปุพฺพา’ราช=ทิตฺติยํ’ตีสฺมา กฺวิมฺหิ อนฺตโลเป สมาเส จ ตทมินาทิตฺตา นิรุตฺตินเยน วา สรสทฺโท นิปฺผชฺชตีติ, ‘สร-คติหิํ สาจินฺตาสุ’ อิจฺจสฺมา อปฺปจฺจเยน วา นิปฺปชฺชตีติ ทสฺเสตุมาห=‘สยํ ราชนฺตี’ติอาทิฯ
            คำว่า สร สำเร็จรูปด้วยนิรุตตินัย เพราะสูตรว่า ตทมินาฯ มีในที่ลบสระที่สุดและในสมาส ในเพราะกฺวจิปัจจัยหลังจาก ราช ธาตุที่มีอรรถส่องสว่าง ซึ่งมีสยํ เป็นบทหน้า.
(ถ้าเป็นสมาส ตั้งรูปว่า สยํ + ราช + กฺวิ ในกรณีนี้เป็นกิตันตสมาส “สมาสที่มีกิตเป็นที่สุด” จึงลบ ชฺ อักษรที่สุดธาตุสำเร็จรูปเป็น สรา ซึ่งไม่ใช่รูปที่ประสงค์ ดังนั้น จึงสำเร็จด้วยนิรุตตินัยคือ อาเทศ แผลงสยํ เป็น ส และ รา เป็น  ร สำเร็จรูปเป็น สร). อีกนัยหนึ่ง คำว่า สร สำเร็จรูปโดยอปัจจัย ท้าย สรธาตุ ในอรรถว่า ไป เบียดเบียนและคิด ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สยํ ราชนฺติ ไว้เพื่อแสดงความข้อนี้. (ยังไม่ทราบว่าคัมภีร์ใดแสดงไว้เพราะ ในโมคคัลลานไวยากรณ์ไม่ได้แสดงรูปวิเคราะห์ไว้)
สร นอกจากที่ท่านวิเคราะห์ในที่นี้แล้วยังมีอีกหลายนัย คือ
สรนฺติ=สปฺปธานภาเวน ปวตฺตนฺติ, พฺยญฺชเน วา สาเรนฺตีติ สราฯ (ปโยคสิทธิ)
อักษรที่เป็นไป โดยความมีตนเป็นใหญ่ (ไม่ต้องอาศัยอักษรอื่นช่วยให้เป็นไป), อีกนัยหนึ่ง อักษรที่ทำให้พยัญชนะทั้งหลายเป็นไป (คือออกเสียงได้).
สรนฺติ สุยฺยมานตํ คจฺฉนฺตีติ สรา. (สัททนีติ สุตตมาลา ๓)
อักษรที่แล่นไป คือถึงความเป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณ ชื่อว่า สระ.
สทฺทียนฺติ สรา. (คัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ)
อักษรที่ถูกออกเสียงได้เอง ชื่อว่า สระ
 (รวบรวมจาก ปทวิจาร น.๕๓)
สระ ๑๐ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ เอต (เอ เสียงสั้น = เอะ) และ โอต (โอ เสียงสั้น=เอะ).  สำหรับ สระ คือ เอตฺ และ โอตฺ นั้น ท่านอธิบายว่า พบในกรณีที่มีสังโยคในบทเดียวกันเป็นเสียงท้ายบางรูปเท่านั้น คือ เอตฺถ โอฏฺฐ เป็นต้น ไม่ใช่ทุกรูป ความโดยละเอียดจะมาในสูตรว่า ปุพฺโพ รสฺโส.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น