วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๕๐.การแปลงพยัญชนะ ตวรรค (ต่อ)

ครั้งที่๓๔ พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
การแปลงพยัญชนะ ตวรรค
วันนี้จะศึกษาอุทาหรณ์ในกลุ่มการแปลงพยัญชนะตวรรค ๓ ศัพท์ จากคัมภีร์นิรุตติทีปนีคือ
โสหชฺชํ ความมีใจดี, วชฺชํ คำพูด, อุปสมฺปชฺช เข้าถึงแล้ว

๑) โสหชฺชํ ความมีใจดี มาจาก สุหท ใจดี + ณฺย ปัจจัยภาวตัทธิต
[สุหท มาจาก สุหทย ใจดี ลบ ย ด้วยสูตรนี้
๕๕๙โกสชฺชาชฺชว ปาริสชฺช สุหชฺช มทฺทวาริสฺยาส ภาชญฺญเถยฺยพาหุสจฺจา)
ในเพราะปัจจัยมีณอนุพันธ์ ที่เป็นไปในอรรถภาวะและอรรถกรรมท. ศัพท์เหล่านี้ คือ โกสชฺช, อชฺชว, ปาริสชฺช, สุหชฺช, มทฺทวา, อาริสฺย, อาสภ, อาชญฺญ, เถยฺย, พาหุสจฺจ ย่อมสำเร็จ.

เมื่อลบ ย แล้ว เป็น สุหท ลง ณฺย ปัจจัย  สุหท + ณฺย โสหทฺ ย> โสหชฺ ย > โสหชฺช]
แปลง และ วุทธิด้วยอำนาจ ยที่มีณอนุพันธ์ (ณฺย โสหทฺ ย)
แปลง ทฺ เป็น ชฺ เพราะยข้างหลัง (โสหทฺ ย> โสหชฺ ย)
แปลง ย เป็น ช ปุพพรูป (โสหชฺช)
คัมภีร์โมคคัลลานะกล่าวว่า สูตรนี้เป็นนิปาตนสูตร ใช้คำในสูตรสำเร็จรูปเลย ดังนั้น สุหชฺช จึงสำเร็จรูปโดยการลบ ย ด้วยนิปาตนะว่า โสหชฺช (ในตัวสูตร) แล้วแปลง ทฺ เป็น ชฺ และย เป็นปุพพรูป.

๒) วชฺชํ คำพูด มาจาก วทฺ ธาตุ ในอรรถว่า กล่าว ลง ณฺย ปัจจัย กรรมสาธนะ
วตฺตพฺพนฺติ วชฺชํ คำพูดที่ควรกล่าว ชื่อว่า วชฺช
แปลง ทฺ เป็น ช เพราะ ย ข้างหลังและ แปลง ย เป็นทปุพพรูป.

๓) อุปสมฺปทฺ + ตฺวา ย อุปสมฺปชฺช
[ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ[1] เข้าถึงฌานอยู่].
แปลง ตฺวา เป็น ย ด้วยสูตรนี้
๗๕๗ปฺโย วา ตฺวาสฺส สมาเสฯ
ในสมาส   ตฺวา แปลงเป็น ยที่มีป เป็นอนุพันธ์ ได้บ้าง
(คำว่า ในสมาส คือ ตฺวาที่มีอุปสัคเป็นบทหน้า เช่น อุป + สํ + ปท + ตฺวา)
(ปอนุพันธ์นี้ทำให้ ย ไม่ใช่ ยอักษรทั่วไป แต่เป็นยฺที่มาจาก ตฺวา และมีอำนาจที่ทำให้แปลง อิ ของ สิธาตุ เป็น อา เช่น นิสฺสิ + ย (ตฺวา) นิสฺสาย  ในสูตร ปฺเย สิสฺสา เพราะ ย จะแปลง อิ ของ สิ ธาตุ เป็น อา ซึ่งต่างจาก ย ที่มี ฆฺ อนุพันธ์ในสูตร กคา จชานํ ฆานุพนฺเธ)
เมื่อตฺวาแปลง เป็น ย ด้วยสูตรนี้แล้ว เพราะ ย อาเทสนั้น แปลง ทฺ เป็น ชฺ แปลง ย เป็น ยปุพพรูปสำเร็จรูปเป็น อุปสมฺปชฺช

๔) อุปสมฺปทฺ + ย + ติ > อุปสมฺปชฺชติ ย่อมเข้าถึง
ในรูปที่เป็นอาขยาต ย ในที่นี้คือ ย วิกรณปัจจัย ทิวาทิคณธาตุ สำเร็จรูปเหมือนที่แล้วมา
ข้อน่าสังเกต
(โมคคัลลานไวยากรณ์ถือว่า ธาตุมีพยัญชนะเป็นที่สุด ดังนั้น ปทฺ จึงถือว่า มี อเป็นสระที่สุด ส่วน ทฺ คือ พยัญชนะที่สุดธาตุไม่ใช่มี อ เป็นสระที่สุด เหมือนในกัจจายนไวยากรณ์ ดังนั้น จึงไม่ต้องมีกิจด้วยการลบสระที่สุด.  ดังที่ท่านอธิบายไว้ในตอนต้นคัมภีร์ว่า
“ในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์นี้ ความมีสระมากมีเฉพาะคำนามอาทิ นที ปุริสเป็นต้นเท่านั้น, ส่วนธาตุอาทิ คมุ ปจ ไม่มี[2]. ธาตุทุกตัวชื่อว่า มีพยัญชนะที่สุดนั่นเทียว, กิจคือการลบที่สุดธาตุจึงไม่มี. เพราะฉะนั้น ในคำว่า นชฺชาโย นี้ สระ อี ชื่อว่า สระที่สุด. ลงอา เป็นอาคมท้ายสระอีนั้น ด้วยสูตรว่า  นชฺชา โยสฺวาม. ในบทว่า รุนฺธติ สระ อุ ชื่อว่า สระที่สุด, ลงนิคคหิตอาคมท้ายอุในรุธนั้นด้วยสูตร มํ วา รุธาทีนํ. ในชชร ธาตุ และ สท ธาตุก็มีนัยนี้.”
 “อิมสฺมิํ พฺยากรเณ อเนกสรตา นาม นทีปุริส อิจฺจาทีสุ ลิงฺคปเทสุ เอว อตฺถิคมุปจอิจฺจาทีสุ ธาตุปเทสุ นตฺถิฯ สพฺพธาตุโย พฺยญฺชนนฺตา เอว โหนฺติธาตฺวนฺตโลปกิจฺจํ นตฺถิฯ ตสฺมา นชฺชาโยติ เอตฺถ อี-กาโร อนฺตสโร นามฯ ตโต นชฺชาโย สฺวาม’ อิติ สุตฺเตน อา-การาคโมฯ รุนฺธตีติ เอตฺถ ปน อุ-กาโร อนฺตสโร นามตโต ‘‘มํ วา รุธาทีน’’นฺติ สุตฺเตน พินฺทาคโมฯ เอวํ ชีรติสีทติ อิจฺจาทีสุฯ”)  
          
จะเห็นได้ว่า ย ที่เป็นเงื่อนไขในการแปลงพยัญชนะนี้ เป็นวิภัตติบ้าง เป็นอาเทศบ้าง เป็น ปัจจัยบ้าง ทำให้รูปศัพท์กลายเป็นอย่างต่างๆ ได้.

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช



[1] [ธ. ส. ๑๖๐]
[2] ในคัมภีร์โมคคัลลานะไม่ถือว่าธาตุมีหลายสระ ดังนั้นแม้ธาตุ คือ ปจฺ คมฺ ถือเป็นธาตุมีสระเดียวคือ อ ไม่ใช่มีสองสระ ซึ่งต่างจากที่ในคัมภีร์กัจจายนะที่แสดงว่า ธาตุมีสระหลายเสียงไว้ด้วยสูตรว่า อเนกสฺสรานํ ธาตฺวนฺตสฺส โลโป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น