วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๑๗.การลบพยัญชนะ

 (การลบอักษรต้นของพยัญชนสังโยค)
๓๐. สํโยคาทิ โลโป
สํโยคสฺส อาทิภูโต พฺยญฺชโน กฺวจิ โลโป โหติ วาฯ

๓๐. สํโยคาทิ โลโป
พยัญชนะต้นสังโยคถูกลบไปได้บ้างในบางแห่ง.
พยัญชนะอันเป็นตัวแรกของพยัญชนสังโยค ย่อมถูกลบไปในบางแห่ง ได้บ้าง.

ปุปฺผํสา อุปฺปชฺชติ [ปารา. ๓๖]อิธ ปุพฺพสุตฺเตน สรโลโป, เอวํส เต อาสวา ปหีนา โหนฺติ [ม. นิ. ๑.๒๔],สเจ ภุตฺโต ภเวยฺยาหํ, สาชีโว ครหิโต มม [มิ. ป. ๖.๑.๕] - อสฺส+อาชีโวติ เฉโท, ภเวยฺยาติ อตฺโถ.
เช่น
ปุปฺผํสา อุปฺปชฺชติ (= ปุปฺผํ + อสฺสา อุปฺปชฺชติ ระดูเกิดขึ้นแก่นาง). ในรูปนี้ ลบสระอ ด้วยสูตรก่อนหน้า(ปรสรสฺส) ก่อนแล้วลบ สฺ ต้นสังโยคด้วยสูตรนี้)
เอวํส เต อาสวา ปหีนา โหนฺติ (= เอวํ อสฺส เต อาสวา ปหีนา โหนฺติ อาสวะของภิกษุนั้นย่อมถูกละไปอย่างนี้)
สเจ ภุตฺโต ภเวยฺยาหํ, สาชีโว ครหิโต มม (สเจ ภุตฺโต ภเวยฺยาหํ, อสฺส อาชีโว ครหิโต มม หากเราเป็นผู้บริโภคแล้ว, อาชีวะของเราพึงเป็นอาชีวะที่บัณฑิตติเตียน) ในรูปว่า สาชีโว นี้ ตัดบทเป็น อสฺส ชีโว ความหมายคือ ภเวยฺย พึงเป็น.

ตีสุ พฺยญฺชเนสุ สรูปานํ ทฺวินฺนํ อาทิพฺยญฺชนสฺส โลโป อคฺยาคารํ [ปาจิ. ๓๒๖], อคฺยาหิโต, วุตฺยสฺส, วิตฺยานุภูยเต, เอกสตํ ขตฺยา [ชา. ๒.๒๒.๕๙๔], รตฺโย, รตฺยา, รตฺยํ, สกฺวาหํ มาริส เทวานมินฺโท [สํ. นิ. ๑.๒๖๘], อิจฺจาทิฯ
ถ้าพยัญชนสังโยคซ้อนกัน ๓ ตัว ให้ลบพยัญชนะตัวต้นของสองตัวที่เหมือนกัน เช่น
อคฺยาคารํ = อคฺคิ + อาคารํ แปลงอิ ที่ อคฺคิ เป็น ยฺ > อคฺคฺยฺ อาคารํ ลบ คฺ ตัวแรกของ คฺคฺ ที่มีรูปเหมือนกัน เป็น อคฺยฺ อาคารํ > อคฺยาคารํ
อคฺยาหิโต = อคฺคิ + อาหิโต
วุตฺยสฺส = วุตฺติ + อสฺส
วิตฺยานุภูยเต = วิตฺติ + อนุภูยเต
เอกสตํ ขตฺยา = เอกํ สตํ ขตฺติยา (ขตฺติย + โย > อา ขตฺติยา ลบ อิ เพราะย (ในที่นี้ ดูสูตร ตทมินาทีนิ และสูตรสัททนีติ ๖๙ สรโลโป ยมนราทีสุ วา ในเพราะย  ม น ร เป็นต้น ข้างหลัง ลบสระหน้าได้บ้าง,)  > ขตฺตฺยฺ อ + อา ลบ ตฺ  
รตฺโย = รตฺติ + สฺมึ แปลง อิ เป็น ยฺ สมึเป็น โอ > รตฺตฺยฺโอ ลบ ตฺ เป็น รตฺโย
รตฺยา = รตฺติ + สฺมา หรือ สฺมึ แปลง สฺมา หรือ สฺมึ เป็น อา ที่เหลือเหมือน รตฺโย
รตฺยํ = รตฺติ + สฺมึ แปลง สฺมึ เป็น อํ ที่เหลือเหมือนรตฺโย
สกฺวาหํ มาริส เทวานมินฺโท = สกฺโก + อหํ แปลง โอ เป็น วฺ >  สกฺกฺวฺ ลบ ก ด้วยสูตรนี้ ทีฆะ อ (ที่ อหํ) อันอยู่เบื้องหลังจากพยัญชนะอาเทส ด้วยสูตร เสสา ทีฆา (นิรุตฺติ . ๓๔) > สกฺวาหํ

สรูปานนฺติ กิํ? ติตฺถฺยา ปุถุโส วทนฺติ [สุ. นิ. ๘๙๗], จตุตฺถฺยนฺตํ, ฉฏฺฐุนฺตํ, จกฺขฺวาพาธํ, วตฺถฺเวตฺถฯ
ข้าพเจ้ากล่าวว่า สรูปานํ แห่งพยัญชนสังโยคที่มีรูปเหมือนกันไว้ เพื่อห้ามการลบดังกล่าวในที่มีสังโยคที่มีรูปต่างกัน เช่น
ติตฺถฺยา ปุถุโส วทนฺติ (= ติตฺถิยฺ อ + โย > อา ติตฺถิยา ลบ อิ เพราะ ย (เหมือนในรูป ขตฺติยา) > ติตฺถฺยฺ อ อา ไม่ลบ ถฺ เพราะมีรูปต่างจาก ตฺ ด้วยคำว่า สรูปานํ ในสูตรนี้)
จตุตฺถฺยนฺตํ = จตุตฺถี  อนฺตํ
ฉฏฺฐุนฺตํ (ฉฏฺฐยนฺตํ = ฉฏฺฐี อนฺตํ?)
จกฺขฺวาพาธํ = จกฺขุ อาพาธํ
วตฺถฺเวตฺถ = วตฺถุ เอตฺถ

อิติ พฺยญฺชนโลปราสิฯ

กลุ่มพยัญชนะที่ถูกลบ จบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น