วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๕๔.การแปลงอวรรคพยัญชนะ

ครั้งที่๓๘ พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
การแปลงอวรรคพยัญชนะ
วันนี้จะศึกษาศัพท์ว่า ปลฺลงฺโก บัลลังก์, วิปลฺลาโส กลับ หรือ ตรงข้าม,, โกสลฺลํ ความฉลาด, ปตฺตกลฺลํ ความพร้อม
ในศัพท์เหล่านี้ จะเป็นการแปลง ย เป็นปุพพรูป ด้วยสูตร
๔๓. วคฺคลเสหิ เตฯ
ย ที่อยู่หลัง พยัญชนวรรค , ล และ ส ให้แปลง ย เป็นพยัญชนะวรรค ล และ ส เหล่านั้น
ดังนั้น จึงสำเร็จรูปโดยดังนี้
ปริ > ปลิ > ปลฺย > ปลฺล องฺโก ปลฺลงฺโก บัลลังก์
วิปริ > วิปลิ > วิปลฺยฺ > วิปลฺลฺ + อาโส  > วิปลฺลาโส กลับ, ตรงข้าม,
กุสล + ณฺย > โกสลฺย > โกสลฺลํ ความฉลาดฯลฯ,
ปตฺต กล + ณฺย > กลฺย > กลฺล > ปตฺตกลฺลํ ความพร้อม

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช


 *-*  *-*  *-*


ครั้งที่๓๙ พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
การแปลงอวรรคพยัญชนะ
วันนี้จะศึกษาคำศัพท์ว่า ปุถพฺยา ภาตพฺพํ โกรพฺโย, ทิพฺพ อันเป็นอุทาหรณ์ของการพยัญชนาเทสสนธิ ที่เป็นวพยัญชนะ อันเป็นอวรรคพยัญชนะ
ว พยัญชนะ ที่อยู่หน้า ย แปลงเป็น พ ด้วยสูตรนี้
๔๔ตวคฺควรณานํ เย จวคฺคพยญา ฯ
เพราะ ย แปลง ต วรรค เป็น จวรรค, ว เป็น พ, ร เป็น ย, และ ณ เป็น ญ.

สังเกตแนวทางการสำเร็จรูปนะครับ

ปุถวี > ปุถวฺ + [นา >] ยา ปุถพฺยา,
รูปนี้ แปลง นา เป็น ยา และเพราะ ย ที่ ยา นั่นเอง ลบ อี และ ทำให้ วฺ กลาย เป็น พฺ ในที่สุด
ปุถวี > ปุถวฺ + ยํ [สมึ]  ปุถพฺยํ,
ส่วนอุทาหรณ์นี้ เพราะย ที่กลายมาจาก สฺมึ จึงลบอีและแปลง วฺ เป็น พฺ จึงทำให้ได้รูปเป็น ปุถพฺยํ.

ภาตุ + ณฺย > ภาตวฺย > ภาตพฺย   หลาน
ภาตุ อปจฺจํ ภาตพฺโย เหล่ากอ (ลูก) ของพี่ชาย ชื่อว่า ภาตพฺย, .
เพราะ ณฺย วุทธิ สระต้นบท เป็น อา , แปลง อุ เป็น อว และ ลบ อ เป็น ภาตฺว,  เพราะ ย แปลง ว เป็น พฺ.
กุรุ + ณฺย > โกรพฺโย เหล่ากอ (พระราชบุตร) ของพระเจ้ากุรุ,
เพราะ ณฺย วุทธิ สระต้นบทเป็น โอ , แปลง อุ เป็น อว และ ลบ อ เป็น ภาตฺว เพราะ ย แปลง ว เป็น พฺ.

ทิว (สวรรค) + ณฺย >  ทิพฺพ ทิพย์
ทิเว ภวํ ทิพฺพํ สิ่งอันมีในสวรรค์ ชื่อว่า ทิพฺพ, (คือ สิ่งอันมีในสวรรค์ เช่น กามคุณ)
เพราะ ณฺย วุทธิ ลบ อ เป็น ทิวฺ  เพราะ ย แปลง ว เป็น พฺ, แปลง ย เป็น พฺปุพพรูป. ในกรณีที่ไม่เป็นปุพพรูปเป็ฯ ทิพฺยํ ก็มี

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น