๓๙. ยุวณฺณานมิยงุวง
อิย และ อุว
เป็น อาเทศของ อิวัณณะและอุวัณณะท้ายบท เพราะสระ
สเร ปเร
อิวณฺณุวณฺณนฺตานํ ปทานํ อิยง, อุวงาเทสา โหนฺติ วาฯ
ในเพราะสระหลัง
อิย และ อุว เป็นอาเทศของท้ายบทซึ่งมีอิอีและอุอู เป็นเสียงท้าย.
งานุพนฺโธ
อนฺตาเทสตฺโถฯ เอวํ สพฺพตฺถฯ
ง อนุพันธ์[1]
มีความหมายว่า เป็นอาเทศของสระที่สุดบท. ในที่มีงอนุพันธ์ทุกตัวก็มีนัยนี้.
อิธ เอเกกสฺส
ปทสฺส รูปทฺวยํ วุจฺจเตฯ
ในที่นี้
สำหรับตัวอย่างหนึ่ง จะแสดงควบคู่กัน (ระหว่างรูปที่ได้จากสูตรนี้และสูตรอื่น) [2]
อิวณฺเณ –
๑) เริ่มที่
อิวัณณะ
ติยนฺตํ
ตฺยนฺตํ –
ตตฺถ ติยนฺตนฺติ อิมินา สุตฺเตน สิทฺธํ, ตฺยนฺตนฺติ
‘ยวา สเร’ติ สุตฺเตนฯ
ติยนฺตํ = ติ อนฺตํ
ติยนฺตํ
ด้วยสูตรนี้ คือ อิ ท้าย ติ เป็น อิย เพราะ อ ที่อนฺตํ ข้างหลัง.
ตฺยนฺตํ อิ
เป็น ยฺ เพราะ อ ที่อนฺตํ ด้วยสูตร ยวา สเร.
เอวํ เสเสสุ ฯ
ในอุทาหรณ์ที่เหลือ
ก็มีวิธีสำเร็จรูปเช่นนี้ คือ
อคฺคิยาคาเร
อคฺยาคาเร =
อคฺคิ อาคาเร
จตุตฺถิยตฺเถ จตุตฺถฺยตฺเถ, = จตุตฺถี อตฺเถ
ปญฺจมิยตฺเถ
ปญฺจมฺยตฺเถ,
= ปญฺจมิยตฺเถ
ปถวิยากาโส
ปถพฺยากาโส
= ปถวี อากาโส
วิยญฺชนํ
พฺยญฺชนํ,
= วิ อญฺชนํ
วิยากโต
พฺยากโต,
= วิ อากโต
วิยากํสุ
พฺยากํสุ,
= วิ อกํสุ
วิยตฺโต
พฺยตฺโต,
= วิ อาป ต[3]
วิยูฬฺโห
พฺยูฬฺโห,
= วิ รุห[4]
ธมฺมํ อธิเยติ
อชฺเฌติ,
= อธิ เอติ
ปจฺเจติ ปตฺติยายติ
วา,
= ปติ เอติ
ปริยงฺโก
ปลฺลงฺโก,
= ปริ องฺโก
วิปริยาโส
วิปลฺลาโส,
= วิปริยาโส
อิธ เอกรูปํ
โหติ –
สำหรับอุทาหรณ์นี้มีรูปเดียว
ปริยตฺติ, = ปริ อาป ติ [5]
ปริยตฺโต = ปริ อาป ต[6]
ปริยาโย = ปริ เอ [7] อ
ปลฺลงฺโกอิจฺจาทีสุ
ปริสทฺเท รสฺส ลตฺตํ กตฺวา อิสฺส ‘ยวา สเร’ติ
ยตฺเต กเต ยสฺส ปุพฺพรูปตฺตํฯ
ในอุทาหรณ์ว่า
ปลฺลงฺก เป็นต้น
ร ของ ปริ
เป็น ลฺ (ปลิ)
อิ เป็น ยฺ
ด้วยสูตร ยวา สเร (ปลฺยฺ)
แปลง ยฺ อาเทส
เป็น ปุพพรูป คือ ลฺ (ปลฺลฺ)
นำประกอบกับ
องฺก เป็น ปลฺลงฺก
๒) อุวัณณะ
เป็น อุว
ภิกฺขุวาสเน, = ภิกฺขุ อาสเน
สยมฺภุวาสเน = สยมฺภู อาสเน
อิธปิ
รูปทฺวยํ ลพฺภติ –
ทุวงฺคิกํ ทฺวงฺคิกํ, ภุวาทิคโณ ภฺวาทิคโณ อิจฺจาทิฯ
ในอุทาหรณ์ต่อไปนี้
มีได้ ๒ รูป ตัวอย่างเช่น
ทุวงฺคิกํ, ทฺวงฺคิกํ,
= ทุ องฺคิกํ
ภุวาทิคโณ, ภฺวาทิคโณ = ภู อาทิคโณ.
-----------------------------
[1] งอนุพันธ์ คืองอักษรที่แนบมากับการิยะ เพื่อระบุตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือสิ่งที่ต้องการให้ทำในสูตร.สำหรับงอนุพันธ์หมายความว่า
อิย และ อุว ไม่ใช่เป็นอาเทสของบททั้งหมด แต่เป็นอาเทศของ อิ อี ท้ายบทเท่านั้น.
[2] วิธีการเสนออุทาหรณ์ในที่นี้ คือ บทหนึ่งจะสำเร็จรูปได้สองนัย คือ
ตามสูตรนี้และสูตร ยวา สเร (๓๖) ที่ผ่านมาแล้ว.
[3] วิยตฺโต แปลว่า ผู้ฉลาด มีรูปวิ.ว่า
ย่อมสามารถเพื่อแผ่ไปด้วยการแผ่ไปคือญาณ อย่างรวดเร็ว. มาจาก วิ อาป พฺยาปน แผ่ไป
+ ต ปัจจัย. แปลง อิ เป็น อิย ด้วยสูตรนี้ แปลงพยัญชนะท้ายธาตุเป็นปรรูป คือ ตฺ ตาม ตปัจจัยข้างหลัง.
[4] วิยูฬฺโห มาจาก อูห ในความหมายว่า สญฺจย ก่อตัว + ตปัจจัย. แปลง ต เป็น
ซึ่งอยู่ชิดกันสระที่สุดของรุหเป็นต้นเป็น ห (วิอูหฺห) และแปลง หฺ ที่สุดธาตุ เป็น
ฬฺ (วิอูฬฺห)ด้วยสูตร ๗๕๔. รุหาทีหิ โห โฬ จ (มีความหมายดังกล่าว) แปลง อิ
เป็น อิย ด้วยสูตรนี้ = วิยูฬฺห.
[5] ปริ + อาป มีอรรถ ปริยาปุณน
การเล่าเรียน (ข้อความว่า ปริปุพฺโพ
ปริยตฺติยํ, ปริยาปุณาติ, ปริยาปุณนฺติฯ ในสูตร ๖๖๘. สกาปานํ กุกฺกุ กฺเณ และข้อความว่า อาป, ... สูท, สุป ในสูตร ๗๓๐. ปรรูปมยกาเร พฺยญฺชเน) + ติ ปัจจัย (ปริอาปติ) มีวิ.ว่า ปริยาปุณนํ
ปริยตฺติ การเล่าเรียน ชื่อว่า ปริยตฺติ
(สูตร ๗๓๒. อสฺสุ).
แปลง ป ที่ อาป เป็น ตฺ สทิสสังโยคปรรูป ด้วยสูตร ๗๓๐. ปรรูปมยกาเร พฺยญฺชเนฯ (เพราะพยัญชนะ
พยัญชนะท้ายธาตุเป็นรูปเดียวกับพยัญชนะหลัง) (ปริอาตฺติ) แปลง อิ ที่ปริ เป็น อิย
ด้วยสูตรนี้ (ปริยาตฺติ) เป็นรัสสะเพราะสังโยคอยู่หลัง = ปริยตฺติ.
[6] วิธีนี้เช่นเดียวกับ ปริยตฺติ มีที่มาในสูตร ๗๓๐ ปรรูปมยกาเร พฺยญฺชเน.
ปริปุพฺโพ ปริยาปุณเน ปหุตฺเต จ, ปริยตฺโตฯ
[7] ปริยาย เหตุให้ถึงความฉลาด (เข้าใจ) วิเคราะห์ว่า ปริพฺยตฺตํ อายนฺติ เอเตนาติ ปริยาโย
ย่อมมาถึงความฉลาด ด้วยวิธีนี้ เหตุนั้น วิธีนี้ ชื่อว่า ปริยาย. ปริ + เอ
มีอรรถว่า อาคติ การมา + อณฺปัจจัย. อาเทศ
เออันเป็นที่สุดบท เป็น อาย เพราะอณฺปัจจัย (ข้อความว่า มหาวุตฺตินา เอทนฺตานํ ตฺยาทีสุ
ตพฺพาทีสุ จ อายาเทโส, กฺวจิ ยโลโป, เอ-อาคติยํฯ
ปริพฺยตฺตํ อายนฺติ เอเตนาติ ปริยาโยฯ ดู เอทนฺตธาตุรูป อาขยาต). อีกนัยหนึ่ง
มาจาก อิ + อณฺ ปัจจัย แล้วแปลง อิ เป็น เอ จากนั้น ลง ยฺ อาคมท้ายธาตุ (ดูออาทิปจฺจยราสิ
สูตรตั้งแต่ ๗๘๕. อาสฺสาณาปิมฺหิ ยุกฯ ลง ย อาคม ในเพราะปัจจัยที่มีณอนุพันธ์เว้นณาปิ ลง ย
อาคมท้ายธาตุที่มีอาเป็นที่สุด)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น