วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๘๔. : ท อาคม

โท
ท เป็น พยัญชนอาคม

อุทคฺโค, อุทพฺพหิ, อุทปาทิ, อุทโย, อุทาหโฏ, อุทิโต, อุทีริโต, ทุภโต วุฏฺฐานํ[1], ทุภยานิ วิเจยฺย ปณฺฑรานิ[2], โตเทยฺยกปฺปา ทุภโย[3]เทฺว อิสโยติ อตฺโถฯ กิญฺจิเทว, โกจิเทว, กิสฺมิญฺจิเทว, ยาวเทว, ตาวเทว, วลุตฺเต-ยาวเท, ตาวเทติ สิทฺธํ, ปุนเทว, สกิเทว, สมฺมเทว-ทาคเม รสฺโส, สมฺมทกฺขาโต[4],   สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต[5], พหุเทว รตฺติํ[6], อหุเทว ภยํ [7] อิจฺจาทิฯ


ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
อุทคฺโค
อุ + ท + อคฺโค
สูง
อุทพฺพหิ
อุ + ท + อพฺพหิ
เพิกถอน, ดึง, นำออก
อุทปาทิ
อุ + ท + อปาทิ
บังเกิดขึ้น
อุทโย
อุ + ท + อโย
การขึ้น.
อุทาหโฏ
อุ + ท + อาหโฏ
เปล่งเสียง, นำมากล่าวอ้าง (๑) 
อุทิโต
อุ + ท + อิโต
ขึ้นไป, (๒)  
อุทีริโต
อุ + ท + อีริโต
กล่าวแล้ว
ทุภโต วุฏฺฐานํ
ท + อุภโต วุฏฺฐานํ
ออกจากส่วนสอง คือกิเลสและสังขาร (๓)
ทุภยานิ วิเจยฺย ปณฺฑรานิ
ท + อุภยานิ วิเจยฺย ปณฺฑรานิ
บุคคลพิจารณาอายตนะทั้ง ๒ ประการ คือ อายตนะทั้งภายในและภายนอกแล้ว
โตเทยฺยกปฺปา ทุภโย
โตเทยฺยกปฺปา + ท +อุภโย
สองพราหมณ์ คือ โตเทยยะและกัปปะ.  คำว่า ทุภโย ในบาฬีนี้ได้แก่ เทฺว อิสโย แปลว่า พราหมณ์ผู้เป็นฤาษีสองท่าน. (๔)
กิญฺจิเทว
กิญฺจิ + ท + เอว
บางสิ่งนั่นเทียว
โกจิเทว
โกจิ + ท + เอว
บางคนนั่นเทียว
กิสฺมิญฺจิเทว
กิสฺมิญฺจิ + ท + เอว
ในบางอย่างนั่นเทียว
ยาวเทว
ยาว + ท + เอว
มีประมาณเพียงใด
ตาวเทว
ตาว + ท + เอว
มีประมาณเพียงนั้น
ในบางรูปลบ ว สำเร็จรูปเป็น ยาวเท, ตาวเท ก็มี
ปุนเทว
ปุน + ท + เอว
อีกครั้งหนึ่ง
สกิเทว
สกิํ + ท + เอว
ครั้งเดียวเท่านั้น
สมฺมเทว.
สมฺมา + ท + เอว
โดยชอบนั่นเทียว.
รูปนี้ รัสสะเป็น สมฺม เพราะทอาคม
สมฺมทกฺขาโต
สมฺมา + ท + อกฺขาโต
กล่าวแล้วโดยชอบนั่นเทียว
สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต
สมฺมา + ท + อญฺญา วิมุตฺโต
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ยิ่งโดยชอบนั่นเทียว
พหุเทว รตฺติํ
พหุ + ท + เอว รตฺติํ
สิ้นราตรีเป็นอันมากนั่นเทียว
อหุเทว ภยํ 
อหุ + ท + เอว ภยํ
ภัยได้มีแล้ว


(๑) รูปนี้มี ๒ ความหมาย คือ นำมา และ กล่าว โดย หร ที่มีอรรถว่า นำมา ถ้ามี วิ และ อา เป็นบทหน้า มีอรรถว่า พูด.
(๒) อุทิโต ที่มีคำแปลว่า ขึ้นไป ถือว่า ลงอาคม ด้วยสูตรนี้ แต่คำว่า อุทิโต นี้บางแห่งคำแปลว่า พูด ไม่เข้าเกณฑ์ของสูตรนี้ เพราะมาจาก วท ธาตุ อยู่แล้ว โดยแปลง ว เป็น อุ. (ธาน.ฎี. ๗๙๙),
(๓) องค์มรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นที่ออกจากธรรม ๒ คือ ปฏิปักขธรรมขององค์มรรคมีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้น พร้อมทั้งกิเลสขันธ์ที่เป็นไปร่วมกับมิจฉาทิฏฐินั้นและ สังขารทั้งปวง ชื่้อว่า ทุภโต วุฏฺฐานํ , ส่วนคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่า ได้แก่ มรรคญาณทั้ง ๔.
(๔) ฤาษี คือ ผู้แสวงหาคุณ

*********


ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๘๔  : พยัญชนอาคม : การลง ท อาคม

การลง ท อาคม คัมภีร์นิรุตติทีปนี นำอุทาหรณ์มาจากพระบาฬีหลายแห่งมาประกอบเพื่อให้เห็นหลักการลง ท อาคม ตามสูตรว่า
๕๐ วนตรคา จาคมา
เพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, น, ต, ร, ค (กลุ่มหนึ่ง), และ ย ท (อีกกลุ่มหนึ่ง) เป็นอักษรอาคม.

๑. อุทคฺโค มีส่วนสูง, พุ่งขึ้นสูง, ยอดเยี่ยม
อุ + ท + อคฺค
รูปนี้ ลง ท อาคม ระหว่าง อุ และ อคฺโค เพราะ อ เป็นนิมิตอยู่หลัง ที่เหลือก็มีนัยนี้ ข้อสำคัญที่พึงจดจำ คือ ต้องมีสระอยู่หลัง เสมอ

- มีส่วนสูง
คัมภีร์อภิธานนัปปทีปิกาคาถาที่ ๗๐๘ แสดงศัพท์ว่า อุทคฺค นี้ไว้ในกลุ่มศัพท์ที่แสดงความสูง รวมกับคำว่า อุจฺจ, อุนฺนต, ตุงฺค, อุจฺฉิต, อุทคฺค
คำว่า อุทคฺค คัมภีร์อภิธานนัปปทีปิกาฎีกา คาถา ๗๐๙ นั้นแสดงรูปวิเคราะห์ศัพท์ว่า
อุคฺคตํ อคฺคํ อสฺส อุทคฺโคฯ
สิ่งที่มีส่วนสูง ชื่อว่า อุทคฺค
อุ = อุคฺคตํ สูง + ท อคฺค ยอด (คมุ คติมฺหิ + กฺวิ) = อุทคฺค

- พุ่งขึ้นสูง
เมื่อนำมาใช้ ในพระบาฬี จะใช้ในความหมายว่า ความมีกายและใจพุ่งขึ้นสูง กล่าวคือ เหมือนลอยขึ้นได้ เพราะอำนาจของปีติ คำนี้ พระอรรถกถาจารย์ให้อรรถาธิบายว่า
ปีติมา ปน ปุคฺคโล กายจิตฺตานํ อุคฺคตตฺตา อพฺภุคฺคตตฺตา “อุทคฺโค” วุจฺจติ.
ก็บุคคลผู้มีปีติตรัสเรียกว่า อุทคฺคะ เพราะพุ่งขึ้น แห่งกายและจิต คือพุ่งขึ้นสูงแห่งกายและจิต. (อภิ.อ. ๑๙๒)

- ความสูงส่ง สูงสุด หรือ ดีเยี่ยม เช่น  
อิติ เถโร เทสนํ อุจฺจํ กโรนฺโต ภิกฺขูนํ ตตฺถ เปมํ ชเนนฺโต เอวเมตํ อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ ธาเรตพฺพํ วาเจตพฺพํ มญฺญิสฺสนฺตีติ จตูหิ ปเทหิ วณฺณํ กเถสิ. (ที.ปา.อ. ๓/๓๕๐)
พระเถระเมื่อจะกระทำพระเทศนาให้สูง ยังความรักในพระเทศนานั้นให้เกิดแก่เหล่าภิกษุ จึงกล่าวพรรณนา ด้วย๔ บทว่า เหล่าภิกษุจัก สำคัญทสุตตรสูตรนั้น อันตนพึงเรียนพึงศึกษา พึงทรงจำ พึงบอก ด้วยประการฉะนี้.
อุจฺจํ กโรนฺโตติ อุทคฺคํ อุฬารํ ปณีตํ กตฺวา ทสฺเสนฺโต (ที.ปา.ฎี. ๓/๓๕๐)
กระทำพระเทศนาให้สูง (อุจฺจํ กโรนฺโต) ได้แก่ เมื่อแสดงโดยทำเทศนาให้สูงส่ง โอฬาร ประณีต.

๒. อุทพฺพหิ  เพิกถอนแล้ว
อุ วห + ท อาคม + อี วิภัตติ

๓. อุทปาทิ บังเกิดขึ้นแล้ว  
อุ + ท อาคม + ปท + อี วิภัตติ.

๔. อุทาหฏ ถูกนำมา
อุ + อา + หร นำไป + ต.
รูปนี้มี ๒ ความหมาย คือ นำมา และ เสียงที่ถูกนำมา.

-  ถูกนำมา เช่น
๑๔๘. กตโม จ ปุคฺคโล อุคฺฆฏิตญฺญู? ยสฺส ปุคฺคลสฺส สห อุทาหฏเวลาย ธมฺมาภิสมโย โหติ อยํ วุจฺจติ ปุคฺคโล ‘‘อุคฺฆฏิตญฺญู’’
[๑๔๘บุคคลผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู๒ เป็นไฉน
บุคคลใดบรรลุธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู
สห อุทาหฏเวลายาติ อุทาหาเร อุทาหฏมตฺเตเยวฯ (อภิ.อ. ๓/.๑๔๘)
คำว่า พร้อมกับเวลาที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง (สห อุทาหรฏเวลาย) หมายถึง ในหัวข้อธรรมที่ยกแสดง คือ ในขณะเพียงสักว่ายกขึ้นแสดงเท่านั้น.
๑๔๘. สห อุทาหฏเวลายาติ อุทาหฏเวลาย สทฺธิํ ตสฺมิํ กาเล อนติกฺกนฺเต เอวาติ อตฺโถฯ (ปุ.มู.๓/๑๔๘)
สห อุทาหรฏเวลาย (พร้อมกับเวลาที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง) เท่ากับ อุทาหฏเวลาย สทฺธิํ หมายถึง เมื่อกาลนั้นยังไม่ผ่านไปทีเดียว

- เสียงที่ถูกนำมา เช่น เสียงที่ถึงความเป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณ วิภังคอรรถกถา อธิบายสภาวะของ สทฺท ศัพท์ไว้ว่า
สปฺปตีติ สทฺโท; อุทาหริยตีติ อตฺโถฯ (วิภังค.อ. ๑๕๔ อายตนวิภังควรรณนา)
เสียงที่เป็นไป คือ ถูกนำมา (สู่ความเป็นโสตวิญเญยยะ) ชื่อว่า สทฺท
มูลฎีกากล่าวว่า
อุทาหรียตีติ วุจฺจตีติ-อตฺเถ วจนเมว คหิตํ สิยา, น จ วจน-สทฺโทเยว เอตฺถ สทฺโท, อถ โข สพฺโพปิ โสตวิญฺเญยฺโยติ สปฺปตีติ สเกหิ ปจฺจเยหิ สปฺปียติ โสตวิญฺเญยฺยภาวํ คมียตีติ อตฺโถฯ (มู.ฎี. ๒/๑๕๔)
หากในคำว่า อุทาหริยติ มีอรรถว่า วุจฺจติ, เสียงพูดเท่านั้น ก็จะถูกถือเอา, อนึ่ง สทฺท คือ  วจน เท่านั้น หาใช่หมายถึง สทฺท ในที่นี้, อันที่จริง เสียงแม้ทั้งหมดที่พึงรู้ได้ด้วยโสตวิญญาณ เพราะเหตุนั้น บทว่า สปฺปติ จึงมีความหมายว่า ย่อมถูกปัจจัยของตนให้เป็นไป คือ ให้ถึงความเป็นเสียงอันโสตวิญญาณพึงรู้
วจนเมวาติ สวิญฺญตฺติกสทฺทเมวฯ คมียตีติ อุปนียติฯ (อนุ.ฎี ๒/๑๕๔)
คำว่า คำพูดเท่านั้น (วจนเมว) ได้แก่ เสียงที่เป็นไปกับด้วยวิญญัติ. คำว่า ย่อมให้ถึง (คมียติ) คือ ย่อมถูกนำเข้าไป.
ในธาตวัตถสังคหปาฐนิสสยะ กล่าวว่า หร ที่มี วิ อา มีอรรถว่า พูด (ธาตวัตถ.นิส.) เช่น  พฺยาหาร

๕. อุทาหรณํ
รูปนี้เป็นภาวนาม หมายถึง การเปล่งเสียง, นิทัสสนะ (ตัวอย่าง) เช่น
- การเปล่งเสียง
วากฺกรณนฺติ อุทาหรณโฆโส (ที.อ. ๑/๒๙๒)
คำว่า ทำเสียง (วากฺกรณํ) ได้แก่ การเปล่งเสียง.
วาจาว กรณํ ฯปฯ อุทาหรณโฆโสติ วุตฺตํ, วจีเภทสทฺโทติ อตฺโถ. (สี.ฎี. ๒/๒๘๔)
การทำเสียง ท่านเรียกว่า อุทาหรณโฆส, หมายถึง เสียงคือการเปล่งคำพูด.

- นิทัสสนะ (ตัวอย่าง) เช่น
ฉายาว อนุปายินีติ อิทํ สุขานุคมนสฺส อุทาหรณมตฺตํ
คำว่า เหมือนเงาที่มีปกติติดตามไป (ฉายาว อนุปายินี) นี้เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อความเข้าใจได้ง่าย. (เนตติ. ฎีกา ๑๓๙)

๖. อุทิโต ขึ้นไป
อุ + ท + อิโต
อุทิโต ที่มีคำแปลว่า ขึ้นไป ถือว่า ลงอาคม ด้วยสูตรนี้ แต่คำว่า อุทิโต นี้บางแห่งคำแปลว่า พูด ไม่เข้าเกณฑ์ของสูตรนี้ เพราะมาจาก วท ธาตุ อยู่แล้ว โดยแปลง ว เป็น อุ. (ธาน.ฎี. ๗๙๙),

๗.อุทีริโต       
อุ + ท + อีริโต  กล่าวแล้ว

๘.ทุภโต วุฏฺฐานํ ออกจากส่วนสอง คือกิเลสและสังขาร
ท + อุภโต วุฏฺฐานํ      
องค์มรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นที่ออกจากธรรม ๒ คือ ปฏิปักขธรรมขององค์มรรคมีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้น พร้อมทั้งกิเลสขันธ์ที่เป็นไปร่วมกับมิจฉาทิฏฐินั้นและ สังขารทั้งปวง ชื่้อว่า ทุภโต วุฏฺฐานํ , ส่วนคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่า ได้แก่ มรรคญาณทั้ง ๔.

๙. ทุภยานิ วิเจยฺย ปณฺฑรานิ บุคคลพิจารณาอายตนะ ๒ คือ อายตนะภายในและภายนอกแล้ว
ท + อุภยานิ วิเจยฺย ปณฺฑรานิ  

๑๐. โตเทยฺยกปฺปา ทุภโย สองพราหมณ์ คือ โตเทยยะและกัปปะ. 
โตเทยฺยกปฺปา + ท +อุภโย
คำว่า ทุภโย ในบาฬีนี้ได้แก่ เทฺว อิสโย แปลว่า พราหมณ์ผู้เป็นฤาษีสองท่าน.
           
๑๑.กิญฺจิเทว บางสิ่งนั่นเทียว
กิญฺจิ + ท + เอว

๑๒.โกจิเทว บางคนนั่นเทียว   
โกจิ + ท + เอว

๑๓.กิสฺมิญฺจิเทว ในบางอย่างนั่นเทียว
กิสฺมิญฺจิ + ท + เอว     

๑๔.ยาวเทว    มีประมาณเพียงใด
ยาว + ท + เอว

๑๕.ตาวเทว    มีประมาณเพียงนั้น
ตาว + ท + เอว
ในบางรูปลบ ว สำเร็จรูปเป็น ยาวเท, ตาวเท ก็มี

๑๖. ปุนเทว อีกครั้งหนึ่ง
ปุน + ท + เอว 

๑๗. สกิเทว     ครั้งเดียวเท่านั้น
สกิํ + ท + เอว  

๑๘. สมฺมเทว โดยชอบนั่นเทียว.
สมฺมา + ท + เอว        
รูปนี้ รัสสะเป็น สมฺม เพราะทอาคม

๑๙.สมฺมทกฺขาโต กล่าวแล้วโดยชอบนั่นเทียว
สมฺมา + ท + อกฺขาโต  

๒๐.สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ยิ่งโดยชอบนั่นเทียว
สมฺมา + ท + อญฺญา วิมุตฺโต
         
๒๑.พหุเทว รตฺติํ สิ้นราตรีเป็นอันมากนั่นเทียว
พหุ + ท + เอว รตฺติํ     

๒๒.อหุเทว ภยํ  ภัยได้มีแล้ว
อหุ + ท + เอว ภยํ      

การลง ท อาคมจบลงเพียงนี้

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช


[1] [ปฏิสมฺภิทามคฺเค; วิสุทฺธิมคฺเค]
[2] [สุ. นิ. ๕๓๑]
[3] [สุ. นิ. ๑๑๓๑]
[4] [สํ. นิ. ๕.๑๙๕]
[5] [ม. นิ. ๒.๒๓๔]
[6] [อ. นิ. ๓.๑๐๑]
[7] [ที. นิ. ๑.๑๕๙]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น