๔๘. เยวหิสุ โญ
๔๘. เยวหิสุ
ในเพราะ ย เอว และ หิศัพท์ท. โญ อาเทศคือญ (นิคฺคหีตสฺส)
แห่งนิคคหิต (โหติ) ย่อมมี
ถ้ามีศัพท์เหล่านี้
คือ ย เอว หิ อยู่หลัง ให้แปลง นิคหิตเป็น ญ.
และ ย นั้นทำเป็นปุพพรูป.
อานนฺตริกญฺญมาหุ[1]– อานนฺตริกํ + ยํ + อาหูติ เฉโท, ยญฺญเทว - ยํ + ยํ +
เอว, ตญฺเญว ตํ+เอว, ปุริสญฺเญว, ปจฺจตฺตญฺเญว, ตญฺหิ, ปุริสญฺหิ,
อตฺถสญฺหิโต อตฺถสํหิโต, ธมฺมสญฺหิโต ธมฺมสํหิโตฯ
ตัวอย่าง
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
อานนฺตริกญฺญมาหุ
|
อานนฺตริกํ + ยํ + อาหุ
|
บัณฑิตกล่าวอรหัตตผลสมาธิอันใด
|
ยญฺญเทว
|
ยํ + ยํ + เอว
|
ทุกอย่างๆ ทีเดียว
|
ตญฺเญว
|
ตํ+เอว
|
นั้นนั่นเทียว
|
ปุริสญฺเญว
|
ปุริสํ + เอว
|
ซึ่งบุรุษนั้นนั่นเที่ยว
|
ปจฺจตฺตญฺเญว
|
ปจฺจตฺตํ + เอว
|
เฉพาะตนนั่นเทียว
|
ตญฺหิ
|
ตํ + หิ
|
เพราะ ข้อน้ัน
|
ปุริสญฺหิ
|
ปุริสํ + หิ
|
ก็ บุรุษนั้น
|
อตฺถสญฺหิโต
|
อตฺถ – สํ + หิโต
|
ประกอบด้วยประโยชน์
ใช้เป็น อตฺถสํหิโต ก็มี
|
ธมฺมสญฺหิโต
|
ธมฺม – สํ + หิโต
|
ประกอบด้วยเหตุ
ใช้เป็น ธมฺมสํหิโต ก็มี
|
บทความ :
ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๗๑
พินทาเทสสนธิ “การแปลงนิคคหิต หรือ อักษรที่ใช้แทนนิคคหิต”
เมื่อคราวที่แล้ว
ได้กล่าวถึง การใช้ ม ย และ ท. เป็นอาเทสของนิคคหิต.
ขอทบทวนคำว่า
อาเทส เสียหน่อยหนึ่ง
คำว่า อาเทส
หมายถึง ตัวที่ถูกแสดงแทน ดังรูปวิเคราะห์ว่า
อาเทสิฏฺฐาเน
อาทิสฺสตีติ อาเทโสฯ (ปทรูปสิทธิสูตรที่ ๑๙. ยเมทนฺตสฺสาเทโส)
อักษรใด
อันเขาย่อมแสดง ในตำแหน่งแห่งอาเทสี เหตุนั้น อักษรนััน ชื่อว่า อาเทส,
คำว่า
ตำแหน่งแห่งอาเทสี หมายถึง ตำแหน่งที่เคยมีอาเทสี, อาเทสี คือ อักษรที่มีอาเทส คือ
ตัวเดิมที่จะถูกเปลี่ยน. อาเทส จะลงไปในตำแหน่งนั้น คือ แทน
อาเทสีนั้นนั่นเอง
เช่น นิคคหิต
เป็น อาเทสี ส่วน ม เป็น อาเทส. ม จึงถูกแสดงไว้ตรงตำแหน่งของนิคคหิต นั่นเอง
เราใช้ภาษาง่ายๆ แปลงนิคหิตเป็น ม หรือ
นิคคหิตกลายเป็น ม นั่นเองครับ
ขอเข้าเรื่องสักที
จากคราวที่แล้วที่ได้กล่าวถึงการใช้ ม ย ท
แทน นิคคหิต แต่ในคราวนี้จะใช้ ญ แทนนิคคหิต
การใช้ ญ นี้
มีหลักการ, กฏเกณฑ์ และตัวอย่างการใช้อยู่ในสูตรนี้ครับ
หลักการ :
สูตรกำกับวิธีการ
๔๘. เยวหิสุ โญ
ถ้ามีศัพท์เหล่านี้
คือ ย เอว หิ อยู่หลัง ให้แปลง นิคหิตเป็น ญ.
หลักเกณฑ์ : ขอบเขตและคำอธิบายโดยสังเขปของสูตร
สูตรนี้เป็นสูตรบอกให้นิคคหิตจะถูกใชั
ญ แทน โดยอาศัยกฏเกณฑ์ดังนี้
๑.
นิคคหิตนั้นจะมี ๓ ศัพท์เหล่านี้ คือ ย, เอว และ หิ อยู่ท้าย
๒.
ในกรณีที่เป็น ย , เมื่อแปลงนิคคหิตเป็น ญ
แล้ว ย นั้นทำเป็นปุพพรูป กล่าวคือ ทำเป็น ญ ซ้ำตัวหน้านั่นเอง.
วิธีการนี้ที่เรารู้จักกันดีในคำว่า ซ้อน ญฺ นั่นเอง .
หลักการใช้ : อุทาหรณ์ของสูตร
อานนฺตริกญฺญมาหุ
บัณฑิตกล่าวอรหัตตผลสมาธิอันใด
คำนี้ตัดบทเป็น
อานนฺตริกํ + ยํ + อาหุ
ท่านทั้งหลายจะเห็นว่า
นิคคหิตที่ อานนฺตริกํ เป็น ญฺ เป็น อานนฺตริกญฺ ส่วน ย ที่ ยํ จะกลายเป็น ญฺ
ปุพพรูป คือ ญ ข้างหน้าของตน ในขั้นนี้จะเป็น อานนฺตริกญฺญํ อาหุ, ต่อมา
ถึงนิคคหิตที่ อานนฺตริกญฺญํ ก็สามารถใช้ ม แทนได้ เพราะมี อา ที่อาหุ
อยู่หล้งตามเกณฑ์ของสูตร มยทา สเร ที่ผ่านมานั่นเองครับ เมื่อสรุปตามขั้นตอนแล้ว
ก็ได้รูปเป็น อานนฺตริกญฺญมาหุ ครับ
ยญฺญเทว
ทุกอย่างๆ ทีเดียว
คำนี้
ตัดบทเป็น ยํ + ยํ + เอว
เมื่อแปลง
นิคคหิตที่ ยํ ตัวหน้า เป็น ญ แล้ว ย ตัวหลังเป็น ญ ปุพพรูป เป็น ยญฺญํเอว จากนั้น
แปลง นิคคหิตเป็น ท เพราะมีเอว อยู่หลัง ดังนั้น จึงเป็น ยญฺญเทว ครับ
ลองดูอุทาหรณ์อื่นๆเหล่านี้แล้วสังเกตแนวทางการกลายนิคคหิตเป็น
ญ นะครับ เป็นเรื่องไม่ยากไม่เลยนะครับ
ตญฺเญว ตํ+เอว นั้นนั่นเทียว
ปุริสญฺเญว ปุริสํ + เอว ซึ่งบุรุษนั้นนั่นเที่ยว
ปจฺจตฺตญฺเญว ปจฺจตฺตํ + เอว เฉพาะตนนั่นเทียว
ตญฺหิ ตํ
+ หิ เพราะ
ข้อน้ัน
ปุริสญฺหิ ปุริสํ
+ หิ ก็ บุรุษนั้น
อตฺถสญฺหิโต
อตฺถ – สํ + หิโต ประกอบด้วยประโยชน์
ใช้เป็น อตฺถสํหิโต ก็มี
ธมฺมสญฺหิโต
ธมฺม – สํ + หิโต ประกอบด้วยธรรม
ใช้เป็น ธมฺมสํหิโต ก็มี
หมายเหตุ
คำแปลของ อตฺถสญฺหิโต และ ธมฺมสญฺหิโต ในที่นี้เลือกเอามาหนึ่งความหมาย
ในบรรดาความหมายอีกหลายอย่าง
ถ้าจะศึกษาวิธีการนี้เทียบกับคัมภีร์อื่น
ดังนี้
๑.
สัททนีติ สูตรที่ ๑๔๐ ญเมเห ในเพราะเอและห
แปลงนิคคหิตเป็น ญ
๒.
รูปสิทธิ สูตรที่ ๕๑ สเย จ เพราะ ยข้างหลัง แปลงนิคคหิตพร้อมทั้ง ย เป็น ญ
วิธีการของนิรุตติทีปนีซึ่งเป็นแนวทางของโมคคัลลานไวยากรณ์
อาจต่างไปจากวิธีการในคัมภีร์ทั้งสอง ควรพิจารณาเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ครับ
ขออนุโมทนาครับ
สมภพ
สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น