วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๓๕. การแปลงอักษรอื่นๆ ที่มีใช้ไม่มาก (๑)

๑๙. อัปปวิธาน รูปอุทาหรณ์เล็กน้อยมีใช้ไม่มาก[1]
กลุ่มอุทาหรณ์ที่จะแสดงดังต่อไปนี้ ถึงจะมีที่ใช้น้อยแห่ง แต่ควรสังเกตและใส่ใจจำให้ดี เพราะบ่งถึงความเป็นพหูสูตรของผู้ศึกษา
การแปลงสระเพื่อการเข้าสนธินอกจากกฏเกณฑ์ตามสูตรที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีรูปพิเศษบางรูป ที่ใช้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา แต่ไม่มีสูตรให้ทำรูปโดยตรง เมื่อจะอ้างอิงสูตรทำตัวรูปให้อ้างมหาสูตรว่า “ตทมินาทีนิ”
ในที่นี้แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ดังนี้

๑) แปลง อ เป็น อุ. เช่น
ปุถ ชโน = ปุถุชฺชโน ปุถุชน ชนผู้แยกจากพระอริยะ
ปุถ ภูโต  = ปุถุภูโต ผู้เป็นอีกชนหนึ่ง
[การแปลงเป็น อ ของ ปุถ  เป็น อุ นี้ไม่แน่นอน เพราะ ปุถุ ที่เป็นนามศัพท์ประเภทหนึ่งก็มี เนื่องจากมีรูปแจกวิภัตติได้ เช่น ปุถุนา ปุถุนิ]

๒). แปลง อ เป็น โอ เช่น
อเปกฺขิยาน  = อเปกฺขิยาโน     มองแล้ว
อนุโมทิยาน = อนุโมทิยาโน ยินดีตามแล้ว (อนุโมทนาแล้ว)
มรีจิกูปมํ อภิสมฺพุทฺธาโน = มรีจิกูปมํ อภิสมฺพุทฺธาน ตรัสรู้แล้วซึ่งกายนี้อันเปรียบด้วยพยับแดด

[สามรูปนี้ แปลง ตฺวา ปัจจัย เป็น ยาน ดังนั้น คำว่า อเปกฺขิยาน คือ อเปกฺขิตฺวา, อนุโมทิยาน คือ อนุโมทิตฺวา, อภิสมฺพุทฺธาน คือ อภิสมฺพุทธิตฺวา [2] ด้วยสูตร ๗๖๒. ตุํยานา แปลง ตฺวา ปัจจัยเป็น ตุํ และ ยาน ในสมาส ในบางแห่ง. ส่วนรูปว่า อภิสมฺพุทฺธาน น่าจะเป็น อภิสมฺพุชฺฌิยาน มาจาก อภิสมฺพุชฺฌิตฺวา แล้วเป็น อภิสมฺพุชฺฌิยาน และ อภิสมฺพุชฺฌิยาโน ตามลำดับ  แต่กล่าวรูปนี้ว่า อภิสมฺพุทฺธาน เพราะเหตุใด ยังไม่ทราบชัด.]

สรท + สตํ = สรโทสตํ  ร้อยปี เช่น
มา มํ ปิสาจา ขาทนฺตุ, ชีว ตฺวํ สรโทสตํ, (ภคฺคชาตก ขุ.ชา.๑/๘).
ปีศาจท.จงอย่าเคี้ยวกินข้าพเจ้า, ขอท่านจงเป็นอยู่ตลอดร้อยปี
รตฺติทิโวว โส ทิพฺโพ, มานุสํ สรโทสตํ
คืนวันอันเป็นทิพย์เท่ากับหนึ่งร้อยปีของมนุษย์
[ในสองตัวอย่างนี้ สรทสตํ = สรโทสตํ  สรโทสตํ ก็คือ วสฺสสตํ แปลว่า ๑๐๐ ปี โดยการนับของมนุษย์  คำว่า สรท เป็นศัพท์ที่แสดงความหมายว่า ปี เหมือน วสฺส สํวจฺฉร หายน และ สม  (อภิธาน. ๘๑)]
ทิส + ทิสํ = ทิโสทิสํ ทั่วทุกทิศ เช่น
อนุยนฺติ ทิโสทิสํ, ตามไปทั่วทุกทิศ
สมฺปตนฺติ ทิโสทิสํ, มีทุกทิศ.

ปร + สตํ = ปโรสตํ เกินร้อย
ปร + สหสฺสํ = ปโรสหสฺสํ เกินพัน
[สองตัวอย่างนี้ ปโร คือ ปร สตํ และ ปร สหสฺสํ เป็น ปโรสตํ และ ปโรสหสฺสํ]

อญฺญ + อญฺญํ = อญฺโญญฺญํ ซึ่งกันและกัน
[กรณีนี้ มีรูปว่า อญฺญมญฺญํ ก็มีใช้ ความหมายเดียวกัน.]

โปน + ปุญฺญํ = โปโนปุญฺญํ  ซ้ำอีก
[โปโนปุญฺญํ มีความหมายเท่ากับ ปุนปฺปุนํ แปลว่า บ่อยๆ]

โปน + ภวิกา = โปโนพฺภวิกา  เพื่อการเกิดอีก เช่น
โปโนพฺภวิกา ตณฺหา ตัณหาที่เป็นไปเพื่อการเกิดอีก[3]
[รูปนี้ ปุน + ภว + ณิก ในอรรถว่า เป็นไปเพื่อสิ่งนั้น (ด้วยสูตร ๔๖๔ ตสฺส สํวตฺตติ) แปลง อุ ที่ปุน เป็น โอ เป็น โปน ก่อน แล้ว แปลง เป็น โปโน ด้วยหลักการนี้.]

อีกนัยหนึ่ง ปุโน เป็นนิบาตศัพท์หนึ่ง อยู่ในกลุ่มนิบาตที่มีอรรถอปฐมัตถะ “ไม่ใช่ครั้งแรก” “กระทำซ้ำอีก”  คือ ปุน ปุโน ปุนปฺปุนํ (ดูสัททนีติ สุตตมาลาด้วย) ดังนั้น ในอุทาหรณ์เหล่านี้จึงไม่ใช่การแปลง อ เป็น โอ ตามหลักเกณฑ์นี้ เช่น
ปุโน ตสฺส มเหสิโน.
ของพระมเหสีเจ้านั้น (ผู้แสวงพระคุณยิ่งใหญ่ = พระพุทธเจ้า)

ปุโน ปตฺตํ คเหตฺวาน,
รับบาตรอีก.

น จ ทานิ ปุโน อตฺถิ, มม ตุยฺหญฺจ สงฺคโม,
บัดนี้การคบกันระหว่างเรากับเจ้าจักไม่มีอีก.

น ปุโน อมตาการํ,  ปสฺสิสฺสามิ มุขํ ตว
หม่อมฉันจะมิได้เห็นพระพักตร์ของพระองค์ผู้มีอาการปานน้ำอมฤตอีก.

***************




[1]  อัปปวิธาน ตัวอย่างการใช้ที่มีน้อยแห่ง แต่ควรสังเกตและใส่ใจจำให้ดี เพราะบ่งถึงความเป็นพหูสูตรของผู้ศึกษา
[2] แปลง ตฺวา ปัจจัยเป็น ยาน ด้วยสูตร ๗๖๒. ตุํยานาฯ ตฺวาสฺส ตุญฺจ ยานญฺจ โหนฺติ กฺวจิ สมาเส แปลง ตฺวา ปัจจัยเป็น ตุ และ ยาน ในสมาส ในบางแห่ง
[3] ปุน ภวาย สํวตฺตตีติ โปโนพฺภวิโก, ปุนสฺส โอตฺตํ, ภสฺส ทฺวิตฺตํ, โปโนพฺภวิกา, ตณฺหา (สูตร ๔๖๔. ตสฺส สํวตฺตติ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น