วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๔๗. การแปลงพยัญชนะ ฏวรรค (ต่อ)

ครั้งที่๓๑/๒ : พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
การแปลงพยัญชนะ ฏวรรค (ต่อ)

“ในกรณีที่มีสระเสียงยาวเป็นสระหน้าให้รัสสะ”

เมื่อคราวที่แล้ว การกลายรูป สามญฺญํ แห่ง สมณศัพท์เมื่อลง ณฺยปัจจัย และมีการวุทธิสระต้นบท เพราะอำนาจ ณฺอนุพันธ์แล้ว แต่ในกรณีที่สระหน้าเป็นทีฆะ ให้กลับเป็นเสียงรัสสะ ดังเช่นตัวอย่างนี้
พฺรหมฺญฺญํ ความเป็นพราหมณ์ มาจาก พฺราหฺมณ + ณฺย มีรูปวิเคราะห์ว่า
พฺราหฺมณสฺส ภาโว พฺรหฺมญฺญํ
ความเป็นแห่งพราหมณ์ ชื่อว่า พฺรหฺมญฺญ
----
ข้ันตอนการสำเร็จรูปเป็น พฺรหฺมญฺญํ
- ลบ อวัณณะท้าย พฺราหฺมณ เพราะ ณฺย แล้วเหมือนดังกล่าวมาแล้วได้รูปเป็น พฺราหฺมณฺ + ณฺย.  
- พฺราหฺมณ มีสระหน้าเสียงยาวให้รัสสะด้วยสูตรนี้
๓๕. พฺยญฺชเน ทีฆรสฺสา
ในเพราะพยัญชนะอันเป็นเบื้องหลัง รัสสสระและทีฆสระ เป็นทีฆะ หรือ เป็นรัสสะ.
-        วิธีการที่เหลือเหมือน สามญฺญ  สำเร็จรูปเป็น พฺรหฺมญฺญํ.

*****

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น