วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๑๐ กลุ่มพยัญชนวุตติ (ความเป็นไปแห่งพยัญชนะ)


พฺยญฺชนวุตฺติราสิ
กลุ่มพยัญชนวุตติ (ความเป็นไปแห่งพยัญชนะ[2])

ฐานํ, กรณํ, ปยตนํ [3]
ฐานานิกณฺฐฏฺฐานํ, ตาลุฏฺฐานํ, มุทฺธฏฺฐานํ, ทนฺตฏฺฐานํ, โอฏฺฐฏฺฐานํ, นาสิกฏฺฐานํฯ เตสุ พฺยตฺตํ วทนฺเตน ยตฺถ ‘‘อกฺข’’นฺติ วุจฺจติ, ตํ กณฺฐฏฺฐานํฯ ยตฺถ ‘‘อิจฺฉ’’นฺติ, ตํ ตาลุฏฺฐานํฯ ยตฺถ ‘‘รฏฺฐ’’นฺติ, ตํ มุทฺธฏฺฐานํฯ ยตฺถ ‘‘สตฺถ’’นฺติ, ตํ ทนฺตฏฺฐานํฯ ยตฺถ ‘‘ปุปฺผ’’นฺติ วุจฺจติ, ตํ โอฏฺฐฏฺฐานํฯ นาสปเทโส นาสิกฏฺฐานํฯ
กตฺถจิ ปน อุรฏฺฐานํ, สิรฏฺฐานํ, ชิวฺหามูลฏฺฐานนฺติปิ อาคตํฯ ตตฺถ สิรฏฺฐานํ นาม มุทฺธฏฺฐานเมวฯ ชิวฺหามูลฏฺฐานํ ปน สพฺพวณฺณานํ สาธารณนฺติ วทนฺติฯ
กรณํ จตุพฺพิธํ ชิวฺหามูลํ, ชิวฺโหปคฺคํ, ชิวฺหคฺคํ, สกฏฺฐานนฺติฯ
ปยตนํ จตุพฺพิธํ สํวุฏํ, วิวฏํ, ผุฏฺฐํ, อีสํผุฏฺฐนฺติฯ ตตฺถ กรณานํ สกสกฏฺฐาเนหิ สทฺธิํ สํวรณาทิโก วิเสสากาโร สํวุฏาทิ นามฯ

(ความเป็นไปแห่งพยัญชนะมีเรื่องที่ควรศึกษาอยู่ ๓ ประการ คือ)
ฐาน, กรณ์ และปยตนะ
ฐาน คือ ที่เกิดแห่งอักษร มี ๖ ฐาน คือ
กัณฐฐาน คอ อันเป็นที่เกิดแห่งอักษร,
ตาลุฐาน เพดาน ฯลฯ, 
มุทธฐาน ปุ่มเหงือก ฯลฯ, ทันตฐาน ฟัน ฯลฯ, โอฏฐฐาน ริมฝีปาก ฯลฯ, และนาสิกฐาน จมูก อันเป็นที่เกิดแห่งอักษร. บางอาจารย์แนะทักษะในเรื่องฐานเหล่านั้นว่า   “อกฺข” ใช้ใน กัณฐฐาน ฯลฯ “อิจฺฉ” ในตาลุฐาน ฯลฯ “รฏฺฐ” ในมุทธฐาน, ฯลฯ “สตฺถ” ในทันตฐาน. “ปุปฺผ” ในโอฏฐฐาน[4].  ส่วนหนึ่ง (ภายใน) แห่งจมูก เรียกว่า นาสิกฐาน.

บางอาจารย์กล่าวว่า อุรฐาน (อก) สิรฐาน (ศีรษะ) และชิวหามูลฐาน (โคนลิ้น) มีหลักฐานแสดงไว้ในบางตำรา. ที่จริง  มุทธฐาน ก็ชื่อว่า สิรฐาน ในตำรานั้น. ส่วน ชิวหามูลฐาน เป็นสาธารณะแก่อักษรทุกตัว.
กรณ คือ อวัยวะช่วยกระทำเสียง มี ๔ คือ
ชิวหามูล โคนลิ้น ชิวโหปัคคะ กลางลิ้น ชิวหัคคะ ปลายลิ้น และ สกัฏฐาน คือ ฐานของตน.
ปยตนะ คือ ความตั้งใจในการออกเสียง มี ๔ คือ
สังวุฏะ การปิดฐานและกรณ์ , วิวฏะ การเปิดฯ, ผุฏฐะ การกระทบฯ, อีสังผุฏฐะ การกระทบอย่างเล็กน้อยซึ่งฐานและกรณ์. อาการพิเศษมีการปิดเป็นต้น ซึ่งกรณ์พร้อมกับฐานของตนๆ ชื่อว่า  สังวุฏะเป็นต้น. (ปยตนะคือการพยายามออกเสียงโดยการปิดฐานและฐานของตน)

ตตฺถ กณฺฐปเทสานํ อญฺญมญฺญํ สงฺฆฏฺฏเนน อุปฺปนฺนา อวณฺณ, กวคฺค, หการา กณฺฐชา นามฯ  ตาลุมฺหิ ชิวฺหามชฺฌสงฺฆฏฺฏเนน อุปฺปนฺนา อิวณฺณ, จวคฺค, ยการา ตาลุชา นามฯ มุขพฺภนฺตรมุทฺธมฺหิ  ชิวฺโหปคฺคสงฺฆฏฺฏเนน อุปฺปนฺนา ฏวคฺค, , ฬการา มุทฺธชา นามฯ อุปริ ทนฺตปนฺติยํ ชิวฺหคฺคสงฺฆฏฺฏเนน อุปฺปนฺนา ตวคฺค, , สการา ทนฺตชา นามฯ โอฏฺฐทฺวยสงฺฆฏฺฏเนน อุปฺปนฺนา อุวณฺณ, ปวคฺคา โอฏฺฐชา นามฯ นิคฺคหีตํ นาสิกชํ นามฯ ปญฺจวคฺคนฺตา ปน นาสิกฏฺฐาเนปิ สกฏฺฐาเนปิ ชายนฺติฯ เอกาโร กณฺฐตาลุโชฯ โอกาโร กณฺโฐฏฺฐโชฯ วกาโร ทนฺโตฏฺฐโชฯ อปิจ อิวณฺณุวณฺณา กณฺเฐปิ ชายนฺติเยวฯ ยทา หกาโร วคฺคนฺเตหิ วา ย, , , เวหิ วา ยุตฺโต โหติ, ตทา อุรโชติ วทนฺติฯ ปญฺโห, ตุณฺหิ, นฺหาโต, วิมฺหิโต, คยฺหเต, วุลฺหเต, อวฺหานํฯ

บรรดาอักษรเหล่านั้น
อวัณณะ, กวรรค และ ห พยัญชนะ ซึ่งเกิดขึ้นโดยอวัยวะบริเวณคอแตะกันเอง ชื่อว่า กัณฐชะ.[5]
อิวัณณะ, จวรรค และย พยัญชนะ ที่เกิดขึ้นโดยท่ามกลางลิ้นมาแตะที่เพดาน ชื่อว่า ตาลุชะ.
ฏวรรค, ร และฬ พยัญชนะ ที่เกิดขึ้นโดยส่วนใกล้ปลายลิ้นมาแตะที่ปุ่มเหงือกภายในช่องปาก ชื่อว่า มุทธชะ.
ตวรรค, ล และส พยัญชนะ ที่เกิดขึ้นโดยปลายลิ้นมาแตะที่แถวฟันบน ชื่อว่า ทันตชะ.
อุวัณณะ และปวรรคพยัญชนะ ที่เกิดขี้นโดยริมฝีปากล่างและบนแตะกัน ชื่อว่า โอฏฐชะ.
นิคหิต ชื่อว่า นาสิกชอักษร. ส่วนพยัญชนะที่สุดวรรคทั้ง ๕ เกิดที่นาสิกฐานบ้าง (เรียกว่า นาสิกชะ) ที่ฐานของตนบ้าง (เรียกว่า สกฐานชะ).
สระเอ ชื่อว่า กัณฐตาลุชะ. โอ ชื่อว่า กัณโฐฏฐชะ. ว ชื่อว่า ทันโตฏฐชะ.
อีกนัยหนึ่ง บางอาจารย์กล่าวว่า อิวัณณะ และอุวัณณะ เกิดที่คอ ก็ได้.  ส่วน ห เมื่อควบกับ พยัญชนะที่สุดวรรค หรือ, ควบกับ ย ร ล หรือ ว เรียกว่า อุรชะ. เช่น  ปญฺโห, ตุณฺหิ, นฺหาโต, วิมฺหโต, คยฺหเต, วุลฺหเต, อวฺหานํ.[6]

กณฺฐํ สํวริตฺวา อุจฺจาริโต อกาโร สํวุโฏ นามฯ สกสกฏฺฐาน, กรณานิ วิวริตฺวา อุจฺจาริตา เสสสรา จ ส, หการา จ วิวฏา นามฯ ตานิเยว คาฬฺหํ ผุสาเปตฺวา อุจฺจาริตา ปญฺจวคฺคา ผุฏฺฐา นามฯ โถกํ ผุสาเปตฺวา   อุจฺจาริตา ย, , , วา อีสํผุฏฺฐา นามฯ ตตฺถ โอฏฺฐเชสุ ตาว ปวคฺคํ วทนฺตานํ โอฏฺฐทฺวยสฺส คาฬฺหํ ผุสนํ  อิจฺฉิตพฺพํฯ กสฺมา? ผุฏฺฐปยตนิกตฺตา ปวคฺคสฺสฯ อุวณฺณํ วทนฺตานํ ปน โอฏฺฐทฺวยสฺส วิวรณํ อิจฺฉิตพฺพํฯ  กสฺมา? วิวฏปยตนิกตฺตา อุวณฺณสฺสฯ เอส นโย เสเสสุ สพฺเพสูติฯ
สระ อ เป็นอักษรที่ต้องปิดฐานและกรณ์คือคอ ออกเสียง จึงชื่อว่า สังวุฏะ อักษรที่ต้องปิดฐานและกรณ์ของตน คือกักลม[7]  ให้อยู่ภายในคอ.
สระที่เหลือ, ส และห พยัญชนะ ที่ออกเสียงโดยเปิดฐานและกรณ์ของตน ชื่อว่า วิวฏะ.
พยัญชนวรรคทั้ง ๕ ที่ออกเสียงโดยบังคับให้ลมกระทบฐานและกรณ์ของตนนั่นแหละอย่างแรงชื่อว่า ผุฏฐะ.
ย ร ลและว พยัญชนะ ที่ออกเสียงโดยบังคับให้ลมกระทบฐานและกรณ์นิดหน่อย ชื่อว่า อีสังผุฏฐะ.
ลำดับแรก ในโอฏฐชะเหล่านั้น ผู้ประสงค์จะออกเสียงปวรรค ควรปล่อยลมให้กระทบที่ริมฝีปากอย่างแรง เพราะปวรรคเป็นอักษรที่มีผุฏฐปยตนะ (มีการพยายามในการออกเสียงโดยการกระทบฐานและกรณ์).ส่วนผู้ประสงค์จะออกเสียงอุวัณณะ ควรเผยอริมฝีปาก เพราะอุวัณณะมีวิวฏปยตนะ (มีความพยามยามในการออกเสียงโดยเปิดฐานและกรณ์).  ในอักษรที่เกิดจากฐานที่เหลือก็มีนัยนี้.

จูฬนิรุตฺติยํ ปน สพฺเพ รสฺสสรา สํวุฏา นาม, สพฺเพ ทีฆสรา วิวฏา นามาติ วุตฺตํฯ  ตถา สทฺทสารตฺถ-ชาลินิยํ, กตฺถจิ สกฺกฏคนฺเถ จฯ อิทํ ยุตฺตตรํฯ
แต่ในคัมภีร์จูฬนิรุตติ กล่าวว่า รัสสสระทั้งหมด ชื่อว่า สังวุฏะ. และทีฆสระทั้งหมดชื่อว่า วิวฏะ. ถึงในคัมภีร์สัททสารัตถชาลินีและในบางตำราฝ่ายสันสกฤตก็ว่าไว้เช่นนั้น.  กรณีนี้น่าจะเหมาะสมกว่า.

อญฺญฏฺฐานิกพฺยญฺชเนหิ ยุตฺตา สรา อตฺตโน ฐาน, กรณานิ ชหนฺตาปิ ปยตนํ น  ชหนฺติฯ    ตสฺมา นานาวณฺณานํ สํสคฺเค ปยตนานํ สํสคฺคเภโทปิ เวทิตพฺโพติฯ
สระเมื่อผสมกับพยัญชนะที่มีฐานต่างกันกับตน จะทิ้งฐานและกรณ์ของตนไป แต่จะไม่ละปยตนะ. เพราะฉะนั้น เมื่ออักษรต่างๆปะปนกัน ก็ควรทำความเข้าใจถึงประเภทของปยตนะ. [8]

ตตฺถ ‘‘สุณาตุ เม’’ติ วทนฺโต ยทิ ณา-การํ ชิวฺหคฺเคน ทนฺตฏฺฐาเน กตฺวา วเทยฺย, ทนฺตโช นา-กาโร เอว ภเวยฺยฯ ตุ-การญฺจ ชิวฺโหปคฺเคน มุทฺธฏฺฐาเน กตฺวา วเทยฺยมุทฺธโช ฏุ-กาโร เอว ภเวยฺยฯ เอวญฺจ สติ อกฺขรวิปตฺติ นาม สิยาฯ เอส นโย  เสเสสุ มุทฺธชทนฺตเชสุฯ ตสฺมา กมฺมวาจํ สาเวนฺเตหิ นาม ฐาน, กรณ, ปยตเนสุ สุฏฺฐุ กุสเลหิ ภวิตพฺพนฺติฯ
ตัวอย่างในเรื่องนี้ คือ เมื่อสวดบทว่า สุณาตุ เม,  ถ้าสวด “ณา” โดยให้ปลายลิ้นมาแตะฟัน ก็จะกลายเป็นการสวด “นา” ไป. และ ถ้าสวด “ตุ” โดยให้ใกล้ปลายลิ้นมาแตะปุ่มเหงือก ก็จะกลายเป็นสวด “ฏุ” มุทธชะไป. เมื่อเป็นอย่างนี้ จะเป็นอักขรวิบัติ. ในมุทธชและทันตชะที่เหลือก็มีนัยนี้. เพราะฉะนั้น ผู้จะสวดกรรมวาจา ควรมีความเข้าใจในฐานกรณ์และปยตนะเหล่านั้นเป็นอย่างดี.

สิถิลญฺจ, ธนิตญฺจ,        ทีฆํ, รสฺสํ, ครุํ, ลหุํ;
นิคฺคหีตํ, วิมุตฺตญฺจ,      สมฺพนฺธญฺจ, ววตฺถิตํ[9]
(พยัญชนะเหล่านี้ แบ่งตามพยัญชนพุทธิ ๑๐ คือ)
สิถิละ ธนิต ทีฆะ รัสสะ ครุ ลหุ นิคคหิต วิมุตตะ สัมพันธ์ ววตถิตะ.

มุทุนา วจีปโยเคน วตฺตพฺพา วคฺคปฐม, ตติย, ปญฺจมา สิถิลา นามฯ ถทฺเธน วจีปโยเคน วตฺตพฺพา วคฺคทุติย, จตุตฺถา ธนิตา นามฯ ทีฆ, รสฺสา ปุพฺเพ วุตฺตาฯ ทีฆา เจว สํโยคปุพฺพา จ นิคฺคหีตนฺตา จ ครุกา นามฯ เสสา ลหุกา นามฯ ยถา สทฺทสหิโต วาโต มุขฉิทฺเทน พหิ อนิกฺขมฺม นาสโสตาภิมุโข โหติ, ตถา มุขํ อวิวฏํ กตฺวา วตฺตพฺพํ พฺยญฺชนํ นิคฺคหีตํ นามฯ เตน ยุตฺตานิ สพฺพพฺยญฺชนานิ นิคฺคหีตนฺตานิ นามฯ เสสา วิมุตฺตา นามฯ ปทสนฺธิวเสน วตฺตพฺพํ สมฺพนฺธํ นามฯ ปทจฺเฉทํ กตฺวา วตฺตพฺพํ ววตฺถิตํ นามฯ
พยัญชนะตัวที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๕ ของแต่ละวรรค ที่ควรออกเสียงอย่างอ่อน (คือออกเสียงนุ่มนวล อย่างเบาๆ แต่ไม่ถึงกระซิบ) ชื่อว่า สิถิละ.
พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ที่ ๔ ที่ควรออกเสียงอย่างแข็งกระด้าง (โดยออกเสียงดังขึ้น แต่ไม่ใช่ตะคอก) ชื่อว่า ธนิตะ.
ทีฆสระและรัสสสระ ได้กล่าวไว้ในตอนต้นคัมภีร์นั้นแล้ว.
ทีฆะก็ดี สระอยู่หน้าสังโยคอยู่หน้าก็ดี ที่มีนิคคหิตอยู่ท้ายก็ดี ชื่อว่า ครุ, ที่เหลือ ชื่อว่า ลหุ.
พยัญชนะที่ควรออกเสียงไม่เปิดปาก เพื่อให้ลมและเสียงไม่ออกไปข้างนอกทางช่องปากแต่ตรงไปทางจมูกและหู ชื่อว่า นิคคหิต. 
พยัญชนะทั้งหมดที่ผสมกับนิคคหิตนั้น ชื่อว่า อักษรที่มีนิคคหิตเป็นเสียงท้าย. 
อักษรที่เหลือจากนี้ ชื่อว่า วิมุตตะ (ออกเสียงทั่วไปปล่อยให้ลมผ่านจมูกไป โดยไม่ปิดฐานนาสิกเหมือนนิคคหิต).
การออกเสียงโดยเชื่อมบท ชื่อว่า สัมพันธ์ (เข้าสนธิ).
การกล่าวโดยแยกบท (กล่าวทีละบทโดยไม่เข้าสนธิ) ชื่อว่า ววัตถิตะ.

พฺยญฺชนวุตฺติราสิ นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มพยัญชนวุตติ จบ



[1] (ก. ๘; รู. ๑๐; นี. ๘). คำว่า นิคฺคหิต มาจาก นิ อุปสัค = นิคฺเหตฺวา ข่ม + คห ธาตุ มีอรรถว่า ออกเสียง. หมายความว่า นิคคหิตเป็นพยัญชนะที่ต้องกดหรือข่มฐานและกรณ์ไม่ปล่อยเสียงออกมาตามฐานและกรณ์ปกติ จึงออกเสียงได้ อุปมาเหมือนนกที่เกาะอยู่บนยอดไม้ เมื่อจะบินขึ้นได้ต้องกดกิ่งไม้ที่มันอาศัยอยู่แล้วบินขึ้นไป หมายถึง การปิดปากนั่นเอง ตัวอย่างเช่น การออกเสียง กํ ต้องกดฐานและกรณ์ของ กํ คือ กัณฐฐานและกัณฐกรณะ โดยไม่เปล่งเสียงออกทางปาก แต่ให้เสียงขึ้นไปทางจมูกแล้วเปล่งออกทางจมูก เป็นต้น. ดังคำอธิบายในค้มภีร์อรรถกถาพระวินัยว่า นิคฺคหีตนฺติ ยํ กรณานิ นิคฺคเหตฺวา อวิสชฺเชตฺวา อวิวเฏน มุเขน สานุนาสิกํ กตฺวา วตฺตพฺพํ “พินทุที่บุคคลข่ม คือ ไม่ปล่อยฐานและกรณ์ไว้แล้วกล่าว โดยกระทำให้มีเสียงตามจมูกด้วยปากอันไม่เปิด ชื่อว่า นิคคหิต. และในคัมภีร์การิกาฎีกาว่า นิคฺคเหตฺวานาติ นิปฺปีเฬตฺวา. มุขํ ปิทหิตฺวาติ วุตฺตํ โหติ. คำว่า นิคฺคเหตฺวาน แปลว่า ข่มแล้ว ความหมายก็คือ ปิดปากแล้ว.” ข้อนี้ หมายความว่า การเปิดปากไม่กว้างและไม่ให้ลมผ่านปากไปเท่านั้น ถ้าปิดปากสนิทจะเป็นเสียงที่มี มฺ อักษรอยู่ท้าย เช่น พุทฺธมฺ สรณมฺ ซึ่งไม่ใช่เสียงนิคคหิต. (ปทวิจารทีปนี น. ๖๘)
[2] คำว่า พยัญชนะ ในที่นี้หมายถึงอักษร ที่หมายถึง พยัญชนะ สระ พยัญชนะที่มีสระ และบทด้วย. ไม่ใช่เฉพาะพยัญชนะ ๓๓ ตัวเท่านั้น ดังเช่นที่แสดงไว้ในคำว่า พยญฺชนพุทฺธิ ความรอบรู้เกี่ยวกับพยัญชนะมีสิถิล ธนิต เป็นต้น.
[3] [รู. ๒ (ปิฏฺเฐ); นี ๖ (ปิฏฺเฐ); ๒๓ (สุตฺตงฺเก)]
[4] หมายความว่า คำว่า อกฺข เป็นต้น เป็นคำศํพท์ที่ใช้เป็นเครื่องช่วยจดจำเรื่องฐานเหล่านั้นได้อย่างง่าย. กล่าวคือ อกฺข ประกอบด้วย อ กฺ ขฺ อ อา เป็นกัณฐช คือ อักษรอันเกิดในกัณฐฐานคือเกิดที่คอ ก ข อันเป็น ก วรรคพยัญชนะ ก็เช่นกัน ดังนี้เป็นต้น ท่านจะกล่าวรายละเอียดของกัณฐชอักษรเป็นต้นไว้ในลำดับต่อไป.
[5] การออกเสียง อ อา ก ข ค ฆ ง และ ห ที่เป็น กัณฐชอักษร ต้องเปล่งเสียงบริเวณลำคอ เพราะอักษรเหล่านี้เป็นอักษรที่เกิดขึ้นโดยที่อวัยวะบริเวณลำคอจรดกันเอง คือ ลิ้นไก่และเส้นเสียงที่อยู่บริเวณลำคอ. ต่างกับอักษรกลุ่มอื่นเกิดขึ้นโดยที่เพดานเป็นต้นแตะกับอวัยวะส่วนอื่น.
[6] คำว่า แตะกัน หมายถึง มาใกล้กันมากขึ้น ไม่ใช่ติดกันแบบแนบสนิท. รายละเอียดการออกเสียงและภาพประกอบเรื่องฐานและกรณ์นี้ ควรดูหนังสือปทรูปสิทธิมัญชรี เล่ม ๑ หน้า ๓๖ ประกอบ. ในที่นี้ กล่าวโดยสังเขปพอให้รู้นัยที่มาในคัมภีร์นี้เท่านั้น.
[7] คำว่า ลม ในที่นี้และที่จะกล่าวถึงในลำดับต่อไป คือ ลมที่มีเสียง ดังที่ท่านจักกล่าวถึงต่อไปว่า สทฺทสหิโต วาโต.
[8]คือ แนะให้เน้นประเภทปยตนะด้วย เพราะเมื่อสระและพยัญชนะผสมกัน ก็อาจทำให้ฐานและกรณ์สับสนได้ แต่ไม่อาจจะเปลี่ยนปยตนะได้เลย ดังนั้น การสามารถแยกแยะปยตนะจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้การออกเสียงอักษรแต่ละวรรคได้อย่างถูกต้อง ดูที่อุทาหรณ์ต่อไปจะเข้าใจได้ดี.
[9] นี. ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๓, ๑๔, ๑๕, ๑๖-๑๙, ๒๐, ๒๑ สุตฺเตสุ ปสฺสิตพฺพํ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น