ครั้งที่๓๕ : พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
การแปลงพยัญชนะ
ตวรรค
วันนี้ศึกษาศัพท์ว่า
อชฺโฌกาโส ที่โล่งแจ้ง, โพชฺฌงฺโค, โพชฺฌา, โพชฺฌํ, พุชฺฌติ, โปโนปุญฺญํ บ่อยๆ
อธิ + โอกาโส > อชฺโฌกาโส ที่โล่งแจ้ง
[อธฺยฺ
> อฌฺยฺ > อฌฺฌฺ > อชฺฌฺ
แปลง อิ เป็น ย
และ แปลง ธฺ เป็น ฌฺ และแปลง ฌฺ ที่เป็นการิยะของ ธฺ เป็น ชฺ ด้วยสูตรนี้
๕๔. จตุตฺถทุติเยสฺเวสํ ตติยปฐมา
ถ้ามีอักษรที่ ๔
และ ที่ ๒ ของแต่ละวรรคอยู่หลัง อักษรตัวที่ ๓ และ ตัวที่ ๑
ในวรรคนั้นเป็นตัวซ้อนของอักษรที่ ๔ และ ที่ ๒ เหล่านั้น.
ดังนั้น อธิ
เมื่อเป็น อธฺยฺ แล้ว แปลง ธฺ ที่เป็น พยัญชนะในตวรรค เป็น พยัญชนะในจวรรค
ในที่นี้ คือ แปลง ธฺ ตัวที่ ๔ ของตวรรคเป็นพยัญชนะตัวที่ ๔ ของจวรรค เป็น อฌฺยฺ
แล้วแปลงยเป็นปุพพรูปแล้ว แปลง ฌฺ ต้วแรกที่เป็นพยัญชนะที่ ๔ เป็นพยัญชนะที่ ๓ คือ
ชฺ เป็น อชฺฌ]
สี่ศัพท์ต่อไปนี้เป็นกลุ่มศัพท์ที่กลายมาจาก
พุธฺ รู้, ไป. เมื่อมีย อยู่หลัง จะกลายเป็น ฌฺ และ เป็น ชฺ ตามลำดับเหมือนใน
อชฺโฌกาโส แต่ ยนี้จะมีที่มาต่างกัน กล่าวคือ
โพธิ + องฺค > โพชฺฌงฺค องค์แห่งการตรัสรู้
โพธฺยฺ > โพฌฺยฺ > โพฌฺฌฺ >
โพชฺฌ + องฺค > โพชฺฌงฺค,
ย
ในที่นี้กลายมาจาก อิ
โพธิ + นา >โพชฺฌา,
แปลง นา เป็น ยา
เพราะ ย ลบ อิ โพธฺยา > โพฌฺฌา >โพชฺฌา
ในที่นี้ ย
เป็นส่วนหนึ่งของ ยา กลายมาจาก นา วิภัตติ
ไม่ใช้วิธีนี้ก็มี
เป็น โพธิยา,
พุธฺ + ณฺย > โพชฺฌํ การตรัสรู้
[พุชฺฌิตพฺพนฺติ
โพชฺฌํ อันเขาพึงตรัสรู้ ชื่อว่า โพชฺฌ, พุธฺ > โพธฺย > โพชฺฌ]
ในที่นี้ ย
เป็นปัจจัยที่มี ณฺเป็นอนุพันธ์ (ณฺย) ที่แสดงการวุทธิ อุ เป็น โอ.
พุธฺ + ย + ติ > พุชฺฌติ ย่อมตรัสรู้,
ในที่นี้ ย เป็น
วิกรณปัจจัยในทิวาทิคณธาตุ.
โปโนปุญฺญํ บ่อยๆ
[ปุนปุน
+ ณฺย > โปนปุญฺญ]
รูปนี้กลาย อุ
ที่ ปุน ข้างหน้าเป็น โปน ส่วน อุ ที่ น
แปลงเป็น โอ ด้วยมหาสูตรดังที่เคยกล่าวมาแล้วในสราเทสสนธิ.
ย ในที่นี้ คือ
ย ปัจจัยที่มี ณฺ อนุพันธ์ (ณฺย) ลงในอรรถสกัตถะ มีอรรถเหมือนศัพท์ของตน
ถน + ย
(ชาตาทิตัทธิต)
> ถญฺญํ (นมมารดา)
ถนโต สมฺภูตํ ถญฺญํฯ
น้ำนมเกิดจากเต้านม
ชื่อว่า ถญฺญํ
ยในที่นี้ มาจาก
ย ปัจจัย มีอนุพันธ์ ณฺ (ณฺย) สัมภูตตัทธิต สำเร็จรูปเหมือนที่ผ่านมา
วันนี้จบเรื่อง
ตวรรคพยัญนาเทสสนธิ คราวหน้าต่อเรื่อง ปวรรคพยัญชนาเทสสนธิ
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น