วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๘. ความหมายของคำว่า วรรค หรือ พยัญชนวรรค

ความหมายของคำว่า วรรค หรือ พยัญชนวรรค
๗. ปญฺจปญฺจกา วคฺคาฯ
เตสุ พฺยญฺชเนสุ กาทิ-มนฺตา ปญฺจพฺยญฺชนปญฺจกา วคฺคา นาม โหนฺติฯ
กาทิ ปญฺจโก กวคฺโค, จาทิ จ วคฺโค, ฏาทิ ฏวคฺโค, ตาทิ ตวคฺโค, ปาทิ ปวคฺโคฯ เสสา อวคฺคาติ สิทฺธํ. วณฺณุทฺเทเส เอกฏฺฐานิกานํ พฺยญฺชนานํ วคฺเค สมูเห นิยุตฺตาติ วคฺคาฯ
๗. ปญฺจปญฺจกา วคฺคาฯก. ๗; รู ๙; นี. ๗
กลุ่มพยัญชนะทุกๆ ๕ ตัว ชื่อว่า วรรค.
บรรดาพยัญชนะเหล่านั้น กลุ่มพยัญชนะทุกๆ ๕ ตัว มีกเป็นตัวต้นและมเป็นตัวท้าย มีชื่อว่า วรรค.
กลุ่มพยัญชนะ ๕ ตัวที่มี กเป็นตัวต้น ชื่อว่า กวรรค. ที่มี จเป็นตัวต้น ชื่อว่า จวรรค. ที่มี ฏเป็นตัวต้น ชื่อว่า ฏวรรค. ที่มีตเป็นตัวต้นชื่อว่า ตวรรค ที่มีปเป็นตัวต้นชื่อว่า ปวรรค. พยัญชนะที่เหลือ จึงมีชื่อว่า อวรรค โดยปริยาย.[1]  ในตอนแสดงเรื่องอักษร (แสดงความหมายของวรรคนี้ไว้ว่า) [2] พยัญชนะที่ประกอบในวรรคคือกลุ่มแห่งพยัญชนะที่มีฐานเดียวกัน ชื่อว่า วรรค.



[1] สิทฺธ ศัพท์คัมภีร์เนตติฎีกา แก้เป็น ปากฏ คือ มีขึ้น. การมีขึ้นนี้ได้แก่ การมีขึ้นโดยปริยาย หรือ ได้มาโดยเป็นผลพลอยได้ ไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากกริยา ดังนั้น เมื่อตั้งชื่อว่า กเป็นต้นมีมเป็นที่สุดว่าวรรคแล้ว พยัญชนะที่เหลือ คือ ย ร ฯลฯ นิคคหิต จึงชื่อว่า อวรรค โดยปริยาย เรียกวิธีการแบบนี้ว่า อวุตตสิทธนัย คือ นัยที่สำเร็จได้โดยไม่กล่าวไว้โดยตรง.
[2] ท่านใช้คำว่า วณฺณุเทเส แปลว่า ในตอนแสดงเรื่องอักษร คำนี้ หมายถึง อะไร ระหว่าง ตอนแสดง หรือ เป็นชื่อตำรา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น