วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๑๓. สนธิวิธาน โลปราสิ วิธีการเชื่อมบทโดยลบสระหน้า

สนฺธิวิธาน
วิธีเชื่อมบท
อถ สนฺธิวิธานํ ทีปิยเตฯ
โลโป, ทีโฆ, รสฺโส, วุทฺธิ, อาเทโส, อาคโม, ทฺวิภาโว, วิปลฺลาโสฯ

ต่อจากวิธีการเกี่ยวกับตัวอักษร (สัญญาราสิ) ข้าพเจ้าจะแสดงวิธีการเชื่อมบท.
วิธีเชื่อมบทมี ดังนี้
โลป ลบ
ทีฆะ ทำให้เป็นเสียงยาว
รัสสะ ทำให้เป็นเสียงสั้น
วุทธิ การเพิ่มเสียง,
อาเทส แปลง,
อาคโม การเพิ่มอักษรใหม่,
ทวิภาวะ ทำเป็นสองตัว (ซ้อน),
วิปัลลาสะ การสลับตำแหน่ง



**********

โลปราสิ
กลุ่มวิธีเกี่ยวกับการลบ
๒๖. สโร โลโป สเร [1]
ลุปฺปตีติ โลโปฯ สเร ปเร สรูโป วา อสรูโป วา ปุพฺโพ สโร โลโป โหติฯ
สรูเป ตาว
อวณฺเณ - โลกคฺโค[2], ภวาสโว[3], อวิชฺชาสโว[4], อวิชฺชานุสโย [5]
อิวณฺเณ-มุนินฺโท, มุนีริโต, วรวาทีริโต, อิตฺถินฺทฺริยํ [6]
อุวณฺเณ-พหูปกาโร[7], พหุกา อูมิ พหูมิ, สรภุยา อูมิ สรภูมิ, สรภุยา อุทกํ สรภูทกํฯ
อสรูเป
โสตินฺทฺริยํ[8], กามุปาทานํ, ภเวสนา[9], ภโวโฆ[10], โส ตุณฺหสฺส[11], ทิฏฺฐานุสโย[12], ทิฏฺฐุปาทานํ,               ทิฏฺเฐกฏฺฐํ, ทิฏฺโฐโฆ[13], มุทินฺทฺริยํ[14], ปุตฺตา มตฺถิ[15], อุรสฺส ทุกฺโข[16], อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ [17]อิจฺจาทิฯ

 (ลบสระหน้า)
๒๖. สโร โลโป สเร
สระหน้าที่อยู่ชิดกับสระข้างหลัง ถูกลบ
คำว่า ลบ ได้แก่ อักษรที่ถูกลบ[18]. ความว่า สระตัวหน้าที่มีรูปเหมือนกัน หรือ ที่ต่างกันที่อยู่ชิดกับสระข้างหลัง[19] จะเป็นตัวที่ถูกลบ.
จะกล่าวถึงในสระที่ถูกลบมีรูปเหมือนกันกับสระหลังก่อน.
ในอวัณณะ (ลบ อ อา ท้ายบทหน้า) เช่น
โลกคฺโค (โลก อคฺโค) ผู้เลิศในโลก
ภวาสโว (ภว อาสโว) อาสวะคือภพ
อวิชฺชาสโว (อวิชฺชา อาสโว) อาสวะ คืออวิชชา
อวิชฺชานุสโย (อวิชฺชา อนุสโย) อนุสัยคืออวิชชา

อิวัณณะ (ลบ อิ อี ท้ายบทหน้า) เช่น
มุนินฺโท (มุนิ อินฺโท) จอมมุนี,
มุนีริโต (มุนิ อีริโต) ธรรมอันพระมุนีตรัสแล้ว,
วรวาทีริโต วรวาที อีริโต ธรรมอันพระผู้มีพระวาจาประเสริฐตรัสแล้ว,
อิตฺถินฺทฺริยํ (อิตฺถี อินฺทฺริยํ) อินทรีย์คือความเป็นหญิง

อุวัณณะ ลบ อุ อู ท้ายบทหน้า เช่น  -
พหูปกาโร (พหุ อุปกาโร) มีอุปการะมาก (รูปนี้มีทีฆะหลังหลังจากที่ได้ลบสระหน้าแล้ว)
พหุกา  อูมิ พหูมิ แม่น้ำมีคลื่นมาก (พหุ + อูมิ) ,
สรภุยา  อูมิ สรภูมิ คลื่นในแม่น้ำสรภู (สรภู + อูมิ),
สรภุยา  อุทกํ  สรภูทกํ น้ำแห่งแม่น้ำสรภู (สรภู + อุทกํ)ฯ
(๓ อุทาหรณ์นี้เป็นวัณณสนธิ คือ วิธีการของการเข้าสมาส ที่จะต้องทำให้เป็นปกติก่อนเข้าสมาส จึงเป็น พหุ, สรภู)

สระที่ถูกลบเป็นอสรูปะ มีรูปต่างจากสระหลัง เช่น
โสตินฺทฺริยํ (โสต อินฺทฺริยํ) อินทรีย์คือหู
กามุปาทานํ (กาม อุปาทานํ) อุปาทานคือกาม
ภเวสนา (ภว เอสนา) การแสวงหาภพ
ภโวโฆ (ภว โอโฆ) โอฆะคือภพ
โส ตุณฺหสฺส (โส ตุณฺหี อสฺส) ภิกษุรูปนั้นพึงนิ่ง
ทิฏฺฐานุสโย (ทิฏฺฐิ อนุสโย) อนุสัยคือทิฏฐิ
ทิฏฺฐุปาทานํ (ทิฏฺฐิ อุปาทานํ)  อุปาทานคือทิฏฐิ
ทิฏฺเฐกฏฺฐํ (ทิฏฺฐิ เอกฏฺฐํ) มีที่ตั้งเดียวกับทิฏฐิ
ทิฏฺโฐโฆ (ทิฏฺฐิ โอโฆ) โอฆะคือทิฏฐิ
มุทินฺทฺริยํ, (มุทุ อินฺทฺริยํ) อินทรีย์อันอ่อน
ปุตฺตา มตฺถิ (ปุตฺโต เม อตฺถิ) บุตรของเรามีอยู่
อุรสฺส ทุกฺโข (อุโร อสฺส ทุกฺโข) อกของเขาจะเจ็บ
อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ (อสนฺโต เอตฺถ น ทิสฺสนฺติ) อสัตบุรุษ ย่อมไม่ปรากฏในที่นี้.

อิติ ปุพฺพโลปราสิฯ
ลบสระหน้าเป็นอย่างนี้


[1] [ก. ๑๒; รู. ๑๓; นี. ๓๐]
[2] [อป. เถร ๑.๑๒.๕๗]
[3] [ธ. ส. ๑๑๐๒]
[4] [ธ. ส. ๑๑๐๒]
[5] [วิภ. ๙๔๙]
[6] [วิภ. ๒๑๙]
[7] [ชา. ๑.๒๒.๕๘๘]
[8] [วิภ. ๒๑๙]
[9] [ที. นิ. ๓.๓๐๕]
[10] [ธ. ส. ๑๑๕๖]
[11] [ปารา. ๓๘๑]
[12] [วิภ. ๙๔๙]
[13] [ธ. ส. ๑๑๕๖]
[14] [มหาว. ๙]
[15] [ธ. ป. ๖๒]
[16] [ปาจิ. ๔๐๒]
[17] [ธ. ป. ๓๐๔]
[18] ในที่นี้ท่านวิ.เป็น กัมมสาธนะทั่วไปว่า ลุปฺปตีติ โลโป อักษรตัวที่ถูกลบ ชื่อว่า โลป.  พึงทราบว่า ในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ โลป ศัพท์ หมายถึง ตัวที่ถูกลบ ดังที่มีคำอธิบายศัพท์นี้ว่า  โลปนีโย อันควรถูกลบ (โมค ๑/๒๖.) สเร สโร โลปนีโย โหติฯ
[19] บทสัตตมีวิภัตติที่ใช้ในคัมภีร์โมคคัลลานะนี้มีอรรถเป็นโอปสิเลสิกาธาระ แปลว่า ชิด. ท่านให้เหตุผลว่า การลบจะต้องติดอยู่กับการิยและนิมิต เพราะในที่ถูกคั่นด้วยการสวด (ในคาถา) ไม่มีการเข้าสนธิ ต่างจากในกัจจายนะและสัททนีติ ให้มีอรรถนิมิตตสัตตมีแปลว่า ในเพราะ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น