วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๕๕.การแปลงอวรรคพยัญชนะ

ครั้งที่๔๐  : พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
การแปลงอวรรคพยัญชนะ
วันนี้จะศึกษารูปคำในอุทาหรณ์ว่า
รหสฺสํ สิ่งมีในที่ลับ (เรื่องลับ), โสมนสฺส ความดีใจ, โทมนสฺส ความเสียใจ โสวจสฺสํ ความว่าง่าย, โทวจสฺส ความว่ายาก
กลุ่มนี้เป็นอุทาหรณ์เกี่ยวกับ สพยัญชนะ อันเป็นอวรรคพยัญชนาเทสสนธิ ที่เกี่ยวกับ ย ชุดสุดท้าย.
 การแปลงที่เกี่ยวกับสพยัญชนะ ก็มีการแปลง ย เป็นปุพพรูปเหมือนที่ผ่านมา เช่น

รห + ณฺย > รหสฺสํ
รหสิ ภวํ รหสฺสํ, สิ่งมีในที่ลับ เรียกว่า รหสฺส
สุมน + ณฺย > โสมนสฺสํ ความเป็นคนมีใจดี  (โสมนัสเวทนา ได้แก่ สุขเวทนาที่เกิดทางใจ)
ทุมน + ณฺย > โทมนสฺสํ    ความเป็นคนมีใจเสีย (โทมนัสเวทนา ได้แก่ ทุกขเวทนาที่เกิดทางใจ),
สุวจ + ณฺย >โสวจสฺสํ ความเป็นคนว่าง่าย,
โทวจ + ณฺย > โทวจสฺสํ ความเป็นคนว่าง่าย -

ทั้ง ๔ ศัพท์นี้ เป็นมโนคณศัพท์ เพราะเหตุนั้น จึงต้องลงสฺอาคมท้าย รห เป็นต้น แล้วแปลง ย เป็น ส ปุพพรูป.


ภสฺ + ณฺย > ภสฺสํ คำพูด
ภาสิตพฺพนฺติ ภสฺสํ คำอันควรพูด ชื่อว่า ภสฺส,
อุ.นี้ เป็น กรรมสาธนะ ลง ณฺย ท้าย ภสฺ ธาตุ ที่แปลว่า กล่าว.

อาทิสฺ + ตฺวา >  ย > อาทิสฺส แสดงแล้ว (อาทิสิตฺวา)
อุทฺทิส + ตฺวา >  ย > อุทฺทิสฺส ยกขึ้นแสดงแล้ว  เจาะจง, อุทิศ (อุทฺทิสิตฺวา),
อุปวสฺ + ตฺวา  >  ย > อุปวสฺส อยู่จำแล้ว  (อุปวสิตฺวา)
สํ + ตฺวา  >  ย > สมฺผุสฺส ถูกต้องแล้ว (สมฺผุสิตฺวา),
อุทาหรณ์กลุ่มนี้เป็น ตฺวาปัจจยันตบท ดังนั้น เมื่อแปลงตฺวาเป็น ย โดยนัยที่เคยกล่าวมา แล้วแปลง ย เป็น สฺปุพพรูป

ทุสฺ + ย + ติ >  ทุสฺสติ ย่อมถูกประทุษร้าย,
นสฺ + ย + ติ >  นสฺสติ ย่อมหาย
อุทาหรณ์กลุ่มนี้ ลง ยปัจจัยวิกรณปัจจัยทิวาทิคณธาตุ แปลง ยเป็น สฺ ปุพพรูปเหมือนที่ผ่านมา
ตุสฺ + ย + ติ >  ตุสฺสติ ย่อมถูกยินดี,

เป็นอันจบ พยัญชนาเทสสนธิ คือ การแปลงพยัญชนะที่เกี่ยวกับย ไว้ด้วยอุทาหรณ์เหล่านี้ ขออนุโมทนาและขอจงมีความรื่นรมย์ในการศึกษาภาษาบาฬีครับ

สมภพ สงวนพานิช


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น