วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๒๑. กลุ่มวิธีการสนธิโดยทีฆะและรัสสะ : ทีฆะหลังจากมีการลบเป็นต้น

ทีฆ, รสฺสราสิ
กลุ่มวิธีการสนธิโดยทีฆะและรัสสะ
อถ ทีฆ, รสฺสา ทีปิยนฺเตฯ
ต่อจากโลปวิธิราสิ จะแสดงทีฆราสิและรัสสราสิ สืบไป.

๓๔. เสสา ทีฆาฯ
ปกฺขิตฺตมิทํ สุตฺตํฯ ลุตฺเตหิ วา อาเทสกเตหิ วา วณฺเณหิ เสสา รสฺสสรา กฺวจิ ทีฆา โหนฺติ วาฯ

หัวข้อศึกษา :
ในกรณีที่สระหน้าก็ดี สระหลังก็ดี นิคหิตก็ดี ถูกลบไป หรือ สระหน้าเป็นต้น ถูกแปลงเป็นพยัญชนะ ก็ดี สระที่เหลือ เป็นทีฆะแน่นอน.
สูตรกำกับวิธีการ :
๓๔. เสสา ทีฆา.
รัสสะที่เหลือจากการลบหรืออาเทส เป็นทีฆะได้ ในบางแห่ง.
สูตรนี้ถูกเพิ่มเข้ามา. (วิธีการของสูตรนี้ คือ) รัสสสระที่เหลือจากสระที่ถูกลบไปหรือถูกแปลงเป็นพยัญชนะแล้ว (ตามพยัญชนะแปลว่า มีอาเทสอันทำแล้ว) เป็นทีฆสระ ได้บ้าง ในบางแห่ง.
สาระที่ได้จากการศึกษา :

สูตรนี้ท่านเพิ่มเข้ามานอกจากสูตรโมคคัลานไวยากรณ์. ความประสงค์ของสูตรนี้ คือ หลังจากลบสระหน้าหรือสระหลังแล้ว ก็ดี ในที่มีอักษรมีอาเทศอันทำแล้วก็ดี ถ้ายังมีรัสสสระหลงเหลืออยู่ ให้ทีฆะได้ในบางแห่ง. วิธีการเช่นนี้เป็นวิธีการของสูตร ทีฆํ, ยเมทนฺตสฺสาเทโส,  วโมทุทนฺตานํ เป็นต้น ในคัมภีร์กัจจายนะ แต่ในที่นี้รวมวิธีการเหล่านั้นไว้ในสูตรนี้).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น