วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๔๘.การแปลงพยัญชนะ ตวรรค

ครั้งที่๓๒ : พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
การแปลงพยัญชนะ ตวรรค
เมื่อคราวที่แล้วได้กล่าวถึง ฏวรรค บัดนี้จะกล่าวถึงการแปลงพยัญชนะในตวรรค. ขั้นตอนการกลายเสียงในตวรรค ก็ยังมีหลักการที่เหมือนกับในฏวรรค โดยเป็นไปตามหลักการของสูตร ๒ สูตรนี้คือ
๔๔. ตวคฺควรณานํ เย จวคฺคพยญา
เพราะ ย แปลง ต วรรค เป็น จวรรค, ว เป็น พ, ร เป็น ย, และ ณ เป็น ญ ได้บ้าง.
- แปลง ย เป็นปุพพรูป (สามญฺ + ญ) ด้วยสูตรนี้
๔๓. วคฺคลเสหิ เตฯ
ย ที่อยู่หลัง พยัญชนวรรค , ล และ ส ให้แปลง ย เป็นพยัญชนะวรรค ล และ ส เหล่านั้น

อาจจะมีต่างไปก็รายละเอียดในแต่ละรูปอุทาหรณ์ ดังนั้น ในอุทาหรณ์เหล่านี้คือ
อิจฺเจตํ เพราะเหตุนั้น ข้อนั้น,
อิจฺจาทีนิ มีอย่างนี้เป็นต้น.
ยชฺเชวํ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วไซร้ 
จึงสำเร็จรูปตามขั้นตอนของสูตรเหล่านี้โดยแปลงพยัญชนะในตวรรค เป็น จวรรค ตามลำดับ  สำหรับขั้นตอนที่พิเศษ คือ มีการแปลง อิ เป็น ย ด้วยสูตรนี้
๑๗ ยวา สเร
ในเพราะสระ แปลง อิ เป็น ย และ อุ เป็น ว
หลังจากนั้น แปลง ตฺ เป็น จฺ และ แปลง ย เป็น จ ปุพพรูป. สรุปขั้นตอนอย่างสังเขปดังนี้
อิติ + เอตํ > อิจฺเจตํ กุสลํ [1] เพราะเหตุนั้น ข้อนั้น จึงเป็นความฉลาด.
[อิติ > อิตฺย > อิจฺย > อิจฺจ + เอตํ >= อิจฺเจตํ]

อิติ + อาทีนิ > อิจฺจาทีนิ มีอย่างนี้เป็นต้น
[อิติ > อิตฺย > อิจฺย > อิจฺจ + อาทีนิ >= อิจฺจานิ.

ยทิ + เอวํ > ยชฺเชวํ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วไซร้
แปลง อิ เป็น ย และ แปลง ทฺ เป็น ชฺ แปลง ย เป็นปุพพรูป
(ยทิ > ยทฺ ย > ยชฺ ย > ยชฺ ช > ยชฺช + เอวํ = ยชฺเชวํ)

วันนี้ศึกษาเพียงเท่านี้ก่อน ส่วนที่เหลือจะมาศึกษาร่วมกันต่อคราวหน้า
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช



[1] [ปารา. ๔๑๑]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น