วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๘๒. พยัญชนอาคม : ค อาคม

๕๐. วนตรคา จาคมา
สเร ปเร ว น, , , คา จ ม, , ทา จ อาคมา โหนฺติฯ
๕๐ วนตรคา จาคมา
เพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, น, ต, ร, ค (กลุ่มหนึ่ง), และ ย ท (อีกกลุ่มหนึ่ง) เป็นอักษรอาคม.

โค, โต, โท, โน, โม, โย, โร, โว,
(สูตรนี้ มีพยัญชนะเหล่านี้ คือ)  ค ต ท น ม ย ร และ ว (เป็นอักษรอาคม)

ตตฺถ โค
อริเยหิ ปุถเควายํ ชโนติ ปุถุชฺชโน[1],อิธ ปน ปโคสทฺโท เอว, ปเคว วุตฺยสฺส, ปเคว มนุสฺสิตฺถิยาติ[2].
บรรดาพยัญชนอาคมเหล่านั้น  ค เป็นอักษรอาคม (ในตัวอย่างเหล่านี้)

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
อริเยหิ ปุถเควายํ ชโนติ ปุุถุชฺชโน
ปุถ + ค + เอว + อยํ
บุคคลนี้เป็นอีกพวกหนึ่งจากพระอริยท. นั่นเทียว เหตุนั้น จึงได้ชื่อว่า ปุถุชน

แต่ในตัวอย่างเหล่านี้ ได้แก่ ปโคศัพท์นั่นแหละ
ปเคว วุตฺยสฺส
การเกิดขึ้น (ของบุคคลนั้น) ก่อน บุคคลอื่นนั่นเทียว.

ปเคว มนุสฺสิตฺถิยา
กล่าวไปใยถึงหญิงมนุษย์ (ความไม่เป็นสมณะย่อมมีเพราะเสพเมถุนในหญิงมนุษย์ก่อนนั่นเทียว)
*****

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๘๒  : พยัญชนอาคม : การลง ค อาคม

เมื่อคราวที่แล้ว จบการแสดงสระเป็นอาคมไว้ที่ โอ อาคม คราวนี้จะได้แสดงพยัญชนอาคม สืบไป. พูดถึงการลงอาคม ขอทวนแนวทางการลงอาคมอีกสักเล็กน้อย

อาคม หมายถึง อักษรที่มาใหม่ ที่เป็นการแทรกเสียงเข้าไปแทนที่คำที่ไม่เคยมีเสียงนั้นอยู่ ซึ่งต่างจากการอาเทศที่แปลงอักษรเดิมให้เป็นอักษรใหม่ เช่น

เดิม ไม่มี คฺ แต่ต่อมาเพิ่มเข้าไป จึงมี คฺ นี้เรียกว่า อาคม แปลว่า การเพิ่มมา หรือ ตัวอักษรที่เพิ่มเข้ามา.

เดิม เป็น ทฺ แต่ ทฺ หายไป กลายเป็น ธฺ นี้เรียกว่า อาเทส แปลว่า การแปลง หรือ ตัวที่ใช้แทน.

การเชื่อมบทด้วยวิธีนี้จะทำให้การออกเสียงกลมกลืนขึ้น และบทดูสละสลวยสนิทดี.  นิยมเรียกการเพิ่มอักษรนี้ว่า ลง (ชื่ออักษร) อาคม เช่น ลง คฺ อาคม ก็หมายถึง การเพิ่มอักษร คฺ เข้าไปตรงที่ไม่เคยมีอักษร ค. นั้นอยู่.

อาคมมีอยู่หลายตัวด้วยกัน แบ่งเป็น สรอาคม พยัญชนอาคม พินทุอาคม (นิคคหิตอาคม)  ซึ่งในนิรุตติทีปนีนี้ได้กล่าวถึงอาคมที่มาในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์แสดงไว้

บรรดาอาคม ๓ อย่างนั้น สรอาคม คัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ไม่ได้แสดงสูตรให้ลงโดยตรง ดังนั้น คัมภีร์นิรุตติทีปนีได้แนะนำวิธีการนี้เป็นพิเศษด้วยการนำมหาสูตรมาใช้

ส่วนพยัญชนอาคม และพินทุอาคมมีสูตรบอกให้ลงโดยตรง  ดังจะได้แสดงไปโดยลำดับ. สำหรับพยัญชนอาคม ท่านแบ่งออกเป็น ๓  กลุ่มตามสูตรต่างๆ กล่าวคือ ว, น, ต, ร, ค, ม, ย และ ท เป็นกลุ่มหนึ่ง ฬ เป็นกลุ่มหนึ่ง และ ส กับ ห เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง.

บรรดา ๓ กลุ่มเหล่านั้น
ว, น, ต, ร, ค, ม, ย และ ท ลงด้วยสูตรว่า “วนตรคา จาคมา” เพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, น, ต, ร, ค (กลุ่มหนึ่ง), และ ม  ย ท (อีกกลุ่มหนึ่ง) เป็นอักษรอาคม.
ฬ ลงด้วยสูตรว่า  “ฉา โฬ” เพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง ลง ฬ ท้าย ฉ เป็นอาคม.
ส และ ห ไม่มีสูตรลงโดยตรง แต่ท่านแนะให้ลงด้วยมหาสูตร
รายละเอียดและตัวอย่างการใช้ของอาคมเหล่านี้แต่ละตัว จะกล่าวเป็นลำดับไป
พยัญชนอาคม
บรรดาพยัญชนอาคมเหล่านั้น จะกล่าวถึง ค เป็นอาคมก่อน

ค เป็นอาคม ลงด้วยสูตรนี้

หลักการ : สูตรกำหนดวิธีการ
๕๐ วนตรคา จาคมา
เพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, , , , ค และ ม,  ย, ท เป็นอักษรอาคม.

หลักเกณฑ์ : ข้อกำหนดและคำอธิบายโดยสังเขปของสูตร
สูตรนี้แสดงพยัญชนะอาคมแยกเป็น ๒ กลุ่มตามนัยของคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ กล่าวคือ

- กลุ่มที่หนึ่ง คือ ว, , , , ค มาด้วยข้อความว่า วนตรคา ในสูตรนี้

- กลุ่มที่สอง คือ ม, ย และ ท มาด้วย จ ศัพท์ ในสูตรนี้ กล่าวคือ ใช้ จศัพท์เป็นศัพท์ที่มีความหมายรวบรวมเอาสิ่งที่เคยกล่าวถึงมาแล้วในสูตรว่า มยทา สเร ม ย และ ท เป็นอาเทสของนิคคหิต ที่มีในลำดับก่อนหน้าของสูตรนี้ แต่ไม่ได้หมายถึงเป็นอักษรอาเทส แต่เอามาใช้เป็นอักษรอาคม (อาเทสกับอาคม ต่างกัน ดูตอนต้นของบทความ)

- คัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์ แสดงสองสูตรนี้ไว้เป็นลำดับติดต่อกัน ดังนี้

๔๔. มยทา สเรฯ  ๔๕. วนตรคา จาคมาฯ (โมค.สนธิกัณฑ์)
- เพื่อให้สะดวกต่อการศึกษา จึงรวมพยัญชนอาคมตามหลักการของสูตรนี้ทั้งหมดเป็น ๘ ตัวและเรียงตามลำดับวรรคพยัญชนะและอวรรคพยัญชนะได้ ดังนี้ คือ
ค ต ท น ม ย ร และ ว

หลักการใช้ : อุทาหรณ์ของสูตร
สูตรนี้แสดงพยัญชนอาคม ๘ ตัว จะแสดง ค อาคม ก่อน

อริเยหิ ปุถเควายํ ชโนติ ปุุถุชฺชโน
บุคคลนี้เป็นอีกพวกหนึ่งจากพระอริยท. นั่นเทียว เหตุนั้น จึงได้ชื่อว่า ปุถุชน
(มหานิทเทสบาฬี)
ในตัวอย่างนี้ คำว่า ปุถเควายํ คือ อุทาหรณ์ของ ค อาคม ตัดบทเป็น
ปุถ + ค + เอว + อยํ
ปุถ เป็นนิบาต มีความหมายว่า แยก เมื่อลง ค อาคม เพราะ เอ ที่ เอวข้างหลัง จึงได้รูป ปุถเคว และเมื่อสนธิกับ อยํ อีกจึงได้รูปเป็น ปุถเควายํ
วิธีการลง ค อาคม สามารถศึกษาเปรียบเทียบกับคัมภีร์ปทรูปสิทธิได้ในสูตรที่ ๓๒ ยวมทนตรลา จาคมา ย ว ม ท น ต ร และ ล เป็นพยัญชนอาคม.

แต่ในบางศัพท์ มีรูปคล้ายกับการลง ค อาคม เช่น
- ปเคว วุตฺยสฺส
การเกิดขึ้น (ของบุคคลนั้น) ก่อน บุคคลอื่นนั่นเทียว

- ปเคว มนุสฺสิตฺถิยา
ภิกษุเสพเมถุนในหญิงมนุษย์ ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่ใช่เชื้อสายศากยบุตร ก่อนนั่นเทียว.

ในตัวอย่างเหล่านี้ ได้แก่ ปค ศัพท์นั่นแหละ ที่ลง สิ ปฐมาวิภัตติ แล้วกลายเป็น ปโค นั่นเอง เมื่อสนธิกับ เอว จึงเป็น ปเคว


ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช





[1] [มหานิทฺเทเส]
[2] [ปารา. ๕๕]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น