วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๗๕.อ อาคม (ต่อ และ จบ)

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนีิ
คร้้งที่ ๗๕ : อาคมสนธิ การเชื่อมบทโดยการแทรกเสียง
คราวนี้จะเป็นตัวอย่างการใช้สระ อ เป็นอาคม ชุดสุดท้าย คือ คำว่า อนามต แปลว่า ที่สัตว์ไม่ตายที่พระคันถรจนาจารย์ได้สรุปความหมายว่า อมตปุพฺพฏฺฐานํ แปลว่า ที่สัตว์ไม่เคยตาย.
อนามตํ ท่านยกมาจากบาทคาถานี้ครับ
นตฺถิ โลเก อนามตํ
สถานที่ไม่ตายไม่มีในโลก

ตัวอย่างนี้ยกมาจากอุปสาฬกชาดก มีความเต็มว่า
๓๑. “อุปสาฬกนามานิ                สหสฺสานิ จตุทฺทส.
       อสฺมึ ปเทเส ทฑฺฒานิ           นตฺถิ โลเก อนามตํฯ
๓๒. “ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ         อหึสา สํยโม ทโม.
        เอตํ อริยา เสวนฺติ              เอตํ โลเก อนามตนฺติฯ
[๓๑] พราหมณ์ชื่ออุปสาฬหกะ จำนวน ๑๔,๐๐๐ คน ได้ถูกพวกญาติเผาในสถานที่นี้ สถานที่ไม่เคยมีคนตายไม่มีในโลก
[๓๒] สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะมีอยู่ในผู้ใด พระอริยะเจ้าทั้งหลายย่อมคบหาบุคคลเช่นนั้น  (เพราะ) คุณธรรมชื่อว่าไม่ตายในโลก

คำว่า อนามตํ ในตัวอย่างพระบาฬีนี้ ตัดบทเป็น น + อมตํ. อ ที่ อมต มีความหมายว่า ไม่ แปลว่า ที่ไม่ตาย, เมื่อประกอบกับศัพท์ว่า น เป็น นอมต แปลว่า ไม่เป็นที่ไม่ตาย ลบสระหน้าทีฆสระหลัง เป็น นามตํ, ลง อ เป็นอาคม สำเร็จรูปเป็น อนามตํ. คัมภีร์นิรุตติทีปนีนี้อธิบายไว้ว่า อมตปุพฺพํ ฐานํ สถานที่ไม่ตายในกาลก่อน คือ สถานที่ไม่เคยตาย
ส่วนวิธีการลง อ อาคมในตัวอย่างนี้ขอแยกเป็น ๒ มติ คือ อรรถกถาชาดก และปทานุกรมติปิฎกปาลิเมียนมาร์อภิธาน.

๑) ลง ออาคม หน้า นามตํ มตินี้ว่าตามอรรถกถาชาดกก่อน
คำว่า อนามต ในที่นี้หมายถึง สถานที่ไม่ใช่ที่ไม่ตาย กล่าวคือ สถานที่ไม่เคยตาย
ในคัมภีร์อรรถกถาชาดก[1] อธิบายว่า
ตตฺถ  อนามตนฺติ  อมตฏฺาน  หิ  อุปจารวเสน  อมตนฺติ  วุจฺจติ ฯ  ต  ปฏิเสเธนฺโต  อนามตนฺติ  อาห ฯ  อมตนฺติปิ  ปาโ ฯ  โลกสฺมึ  หิ  อนมตฏฺาน  อสุสานฏฺาน นาม  นตฺถีติ อตฺโถ ฯ 
ในคำว่า อนามตํ สถานที่ที่สัตว์ไม่เคยตาย มีคำวินิจฉัยว่า ที่จริง สถานที่ที่บุคคลตาย เรียกว่า อมตะ เนื่องด้วยอุปจาระ (ใช้คำศัพท์ที่มีความหมายว่า คนตาย แต่หมายถึง สถานที่ที่คนตาย),  เมื่อปฏิเสธสถานที่ตายนั้น ก็ใช้คำว่า อนามตํ ไม่ใช่ที่ไม่ตาย. ซึ่งความหมายก็คือ สถานที่ไม่ใช่สุสาน คือ ไม่ใช่ที่ไม่ตาย ย่อมไม่มีในโลก.
จากมติของอรรถกถา อ ที่ มต เป็นนิบาตใช้ในอรรถปฏิเสธหมายถึง ที่ไม่ตาย  และ จะปฏิเสธข้อนั้นซ้ำ จึงกล่าวอีก น อมต เป็น อนามตํ จึงเท่ากับ สถานที่ไม่ใช่เป็นที่ไม่ตายนั่นเอง
ดังนั้น จุดประสงค์ของการใช้คำนี้ในพระบาฬี ก็คือ “สถานที่ตาย” นั่นเอง ความหมาย คือ สถานที่ไม่เคยตายของหมู่สัตว์ ไม่มี.  สื่อความหมายได้ว่า ทุกที่เป็นที่สัตว์เคยตายทั้งนั้น.

๒) ออาคม ลงหน้า มต
ในปทานุกรมติปิฎกปาลิเมียนมาร์อภิธาน แยกศัพท์ว่า อนมต นี้เป็น น + อมต โดยให้ อ เป็น ตัพภาวัตถะ เพราะไม่มีความหมาย หรือ ที่เรียกว่า อาคมในที่นี้ ดังนั้น ออาคมตามหลักการนี้จึงลงหน้า มต เป็น อมต แล้วลง น หน้า อมต กลายเป็น อนามตํ. เมื่อเป็นเช่นนี้ อมต จึงมีความหมายเท่ากับ ที่ตาย และ ประกอบกับ น จึงมีความหมายว่า ที่ไม่ตาย กล่าวคือ ที่ไม่เคยตาย. และตามบริบทในพระบาฬี หมายถึง ที่ไม่ตาย ไม่มีในโลก.
อย่างไรก็ตาม การลงอาคมทั้งสองนัย ก็ไม่ได้ทำให้ความหมายของคำศัพท์เปลี่ยนแปลงเลย ผู้ศึกษาควรใคร่ครวญวิธีการลงอาคมอย่างใดอย่างหนึ่ง
-------
ก่อนจบสระอ อาคม มีข้อสังเกตว่า แม้ว่า ในที่อื่น อ จะไม่ถูกเรียกเป็นอาคม แต่เรียกว่า นิบาต ซึ่งมีรูปเดียวกับ อ ที่กลายมาจาก น และ ปัจจัยบางตัวที่ไม่มีความหมาย แต่ในที่นี้ท่านเรียกรวมกันเสียทีเดียวว่า อาคม เพราะถือเป็นเพียงอักษรที่ใช้ในการเชื่อมบทให้สำเร็จ ไม่ได้สื่อความหมายใดๆ.

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช



[1] ตตฺถ อนามตนฺติ มตฏฺฐานํฯ ตญฺหิ อุปจารวเสน ‘‘อมต’’นฺติ วุจฺจติ, ตํ ปฏิเสเธนฺโต ‘‘อนามต’’นฺติ อาหฯ ‘‘อนมต’’นฺติปิ ปาโฐ, โลกสฺมิญฺหิ อนมตฏฺฐานํ อสุสานํ นาม นตฺถีติ อตฺโถฯ (ฉบับฉัฏฐฯ) ในที่นี้ใช้ฉบับสยามรัฐ เพราะดูเหมือนดีกว่า เหตุที่เข้ากับกฏไวยากรณ์ในที่นี้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น